svasdssvasds
เนชั่นทีวี

คลิปเด็ด

ประมูลประปา EEC ฉุดแข่งขันชาติอาเซียน

24 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รัฐบาลมีนโยบายดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โดยการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคต่าง ๆ ด้วยต้นทุนที่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ อุปสรรคหนึ่งที่ไทย สู้เวียดนาม ไม่ได้คือ ราคาน้ำสำหรับกิจการใน EEC ที่แพงกว่า

ประมูลประปา EEC ฉุดแข่งขันชาติอาเซียน รัฐบาลมีนโยบายดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC พื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคต่าง ๆ ด้วยต้นทุนที่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้  อุปสรรคหนึ่งที่ไทย สู้เวียดนาม ไม่ได้คือ ราคาน้ำสำหรับกิจการใน EEC ที่แพงกว่า

ภาคเอกชน ส่งหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้กรมธนารักษ์ ชะลอการคัดเลือกบริษัทเอกชน เช่า/บริหาร ระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกโดยเจาะจงเพียงบางราย ซึ่งวิธีดังกล่าวจะกระทบต้นทุนราคาน้ำในอนาคต ส่งผลต่อความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ EEC และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกำหนดราคาน้ำในอนาคต ควรให้มีคณะกรรมการควบคุมราคาน้ำ ให้เหมาะสม

ประมูลประปา EEC ฉุดแข่งขันชาติอาเซียน

ประมูลประปา EEC ฉุดแข่งขันชาติอาเซียน เอกชนอีกราย ส่งเสียงสะท้อนไปยังนายกรัฐมนตรี ว่า สัญญาการบริหาร และดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายตะวันออก ที่กรมธนารักษ์ ทำไว้กับเอกชนรายหนึ่ง กำลังจะหมดสัญญาในปี 2567 กรมธนารักษ์ออกหนังสือเชิญเอกชนเข้าประมูลเพียงไม่กีราย และกำหนดวันยื่นซองอย่างกระชั้นชิด ทำให้เสียโอกาสส่งเสริมให้มีการแข่งขัน เพื่อรักษาราคาน้ำ ทั้งอุปโภค บริโภค และสำหรับภาคอุตสาหกรรม การประมูลครั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดการแข่งขัน เพื่อประโยชน์ของประเทศอย่างแท้จริง

25 สิงหาคม 2564 สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีหนังสือถึง เลขาธิการคณะกรรมการ EEC ว่า นายกรัฐมนตรี รับทราบข้อเสนอภาคเอกชนแล้ว มอบให้รองนายกรัฐมนตรี สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ กำกับติดตามแนวทางแก้ปัญหา

ประมูลประปา EEC ฉุดแข่งขันชาติอาเซียน

โครงการคัดเลือกเอกชนในการจัดให้เช่า/บริหารระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก กรมธนารักษ์ มีหนังสือเชิญบริษัทที่มีคุณสมบัติเพียง 3 ราย ให้มายื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมการคัดเลือก 

30 กันยายน 2564 คณะกรรมการที่กรมธนารักษ์ตั้งขึ้น ประชุมและมีมติเลือกเอกชนรายใหม่ โดยไม่ฟังเสียงโต้แย้งจากลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม EEC ที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรี ว่าไม่ควรเร่งรีบเปิดประมูล เพราะไม่ก่อให้เกิดการแข่งขัน เพื่อประโยชน์ของประเทศอย่างแท้จริง ทั้งส่งผลต่อความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ EEC

การประมูลครั้งนี้ อายุสัญญา 30 ปี กรมธนารักษ์ จะได้รับผลตอบแทนตลอดระยะเวลา 30 ปี เป็นเงิน 1 หมื่น 5 พันล้านบาท
 
ดังนั้น บริษัท อิสท์ วอเตอร์ ที่การประปาส่วนภูมิภาคถือหุ้นใหญ่ และเป็นเอกชนรายเดิมที่บริหารโครงการฯ เมื่อแพ้การประมูล จึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเนื่องจากมองว่า ครม. เคยมีมติให้กรมธนารักษ์ เจรจากับรายเดิมก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุดไม่น้อยกว่า 3 ปี

ประมูลประปา EEC ฉุดแข่งขันชาติอาเซียน นอกจากนี้ การดำเนินการคัดเลือกครั้งนี้อาจจะไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลที่ต้องการให้การดำเนินการมีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและให้บริการน้ำในภูมิภาค ซึ่งถือเป็นหลักการที่เป็นสาระสำคัญ 

บริษัท อิสท์ วอเตอร์ ฟ้องว่า แม้จะใกล้สิ้นสุดอายุสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 แต่เป็นพันธะของกรมธนารักษ์ ที่จะต้องพิจารณาจัดทำสัญญาฉบับใหม่เพื่อให้บริษัทรายเดิมเป็นผู้ใช้ และบริหารโครงการท่อส่งน้ำต่อไปตามมติครม. เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำในภาคตะวันออก ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้

ขณะที่การประปาส่วนภูมิภาค ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท อิสท์ วอเตอร์ มองว่า แม้จะอยู่ในสถานะถือหุ้น แต่ไม่สามารถแทรกแซงบริษัทได้

ประมูลประปา EEC ฉุดแข่งขันชาติอาเซียน

ประมูลประปา EEC ฉุดแข่งขันชาติอาเซียน

การเปิดประมูลของกรมธนารักษ์ ครั้งนี้ อยู่ในความสนใจของเอกชนที่อยู่ในเขต EEC ความผิดปกตินี้ ศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญ บอกกับ สืบสวนความจริง ว่า มีข้อพิรุธที่การยกเลิกผลการคัดเลือด แล้วคัดเลือกเอกชนรายใหม่ ซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนน้อยกว่าบริษัท อิสท์ วอเตอร์ จึงเป็นข้อพิรุธ ที่สลับซับซ้อน และต้องการให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบ

สำหรับหลักฐานที่จะเสนอ ป.ป.ช. มีทั้ง TOR และหลักฐานการเสนอราคาต่อกรมธนารักษ์ จึงขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบกรมธนารักษ์ และประธานคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก น่าจะเข้าข่าย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และพระราชบัญญัติการเสนอราคาต่อหน่วยงานภาครัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว

ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2564 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำขอคุ้มครองชั่วคราวของ อิสท์ วอเตอร์ 

“ประภาศ คงเอียด” อธิบดีกรมธนารักษ์ ให้สัมภาษณ์หลังทราบคำสั่งศาลปกครอง ทำให้กรมธนารักษ์ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ ส่วนจะลงนามสัญญาเอกชนรายใหม่เมื่อใดนั้น ต้องพิจารณารายละเอียดว่าจะดำเนินการได้แค่ไหนอย่างไร 

สำหรับโครงการนี้ สืบสวนความจริง ตั้งประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ ครม.มีมติให้กรมธนารักษ์ ต้องเจรจากับบริษัทรายเดิมก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุดไม่น้อยกว่า 3 ปี นอกจากนี้ การดำเนินการคัดเลือกครั้งนี้อาจจะไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลที่ต้องการให้การดำเนินการมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และให้บริการน้ำในภูมิภาค

เมื่อเป็นนี้ “ประภาศ คงเอียด” อธิบดีกรมธนารักษ์ จะกล้าเดินหน้าเซ็นสัญญา กับเอกชนรายใหม่ ฝ่ามติคณะรัฐมนตรี หรือไม่

ประมูลประปา EEC ฉุดแข่งขันชาติอาเซียน

logoline