รู้หรือไม่ คนเรามีรูขุมขนบนศีรษะมากถึง 100,000 รู โดยเฉลี่ยแต่ละรูขุมขนจะมีเส้นผม 1-3 เส้น
นับว่าเป็นตัวเลขไม่น้อยเลยสำหรับจำนวนเส้นผมที่แต่ละคนมี แต่ถ้าเราต้องผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน ไม่ใช่แค่ “เส้นผม” เท่านั้นที่เราต้องสูญเสีย แต่อาจส่งผลถึงบุคลิกภาพและการต้องเสียความมั่นใจในตนเองไปไม่มากก็น้อย
เรื่องนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจและเป็นจุดเริ่มต้นให้ “หมอฝน-แพทย์หญิงรมิดา เกษมสมพร” ต่อยอดความชื่นชอบในหัตถการทางการแพทย์ จากปริญญาตรีแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปริญญาโท คลินิคโรคผิวหนัง เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ ประเทศอังกฤษ สู่การฝึกอบรมในสาขาศัลยกรรมปลูกผม (Fellowship Training in Hair Restoration Surgery) จากสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ (ISHRS) ก่อนได้รับประกาศนียบัตรด้านโรคผิวหนังและศัลยกรรมผิวหนังจากสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ของไทย
และล่าสุดกับการเป็นแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมปลูกผมที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับวงการการแพทย์และประเทศไทย ด้วยการคว้ารางวัลอันดับ 1 ของโลก จากการสอบศัลยกรรมปลูกผมอเมริกันบอร์ด (ABHRS) และเป็นแพทย์คนแรกของประเทศไทยที่ได้เกียรติรับมอบ 2 รางวัลใหญ่ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สำหรับรางวัล Norman Orentreich, M.D. Award และ James E. Arnold, M.D. Award ที่งานประชุมแพทย์ปลูกผมโลก ครั้งที่ 31 (World Congress of Hair Restoration Surgery) ณ เมืองเดลี ประเทศอินเดีย ในปีที่ผ่านมา
“จุดเริ่มต้นจากแพทย์สู่แพทย์ปลูกผมอันดับ 1 ของโลก มาจากการที่เห็นคนไข้หลายคนมีปัญหาเรื่องเส้นผม ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียความมั่นใจแล้ว บางคนอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจด้วย การเป็นหมอปลูกผมทำให้เราได้ช่วยรักษาและสร้างความมั่นใจ ทำให้คนไข้มีความสุข ถือเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เราตั้งใจศึกษาทุ่มเท ค้นคว้าเทคนิค และความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อรักษามาตรฐานในวิชาชีพ และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้” หมอฝน-แพทย์หญิงรมิดา เกษมสมพร แพทย์ไทยคนแรกที่คว้าอันดับ 1 ของโลก จากการสอบศัลยกรรมปลูกผมอเมริกันบอร์ด กล่าว
ปัจจุบันหมอฝนคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงเป็นศิษย์เอกของ นายแพทย์ดำเกิง ปฐมวาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง DHT Hair Clinic คลินิกปลูกผมแห่งแรกในประเทศไทย แพทย์ที่บุกเบิกวงการปลูกผมในไทยให้ก้าวไกลระดับนานาชาติและเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมแพทย์ปลูกผมเอเชีย (AAHRS)
มีโอกาสเจอคุณหมอทั้งที งานนี้ NATION STORY ขอล้างความเชื่อเรื่อง “หัวล้าน” ที่เราคุ้นเคย จะมีอะไรบ้างมาดูกัน
“ไม่จริง”
“การกินผงชูรสไม่เกี่ยวข้องเลย ยังไม่มีงานวิจัยอะไรที่บ่งบอกความเกี่ยวข้องระหว่างศีรษะล้านและผงชูรส ส่วนคำถามที่ตามมาคือแล้วอาหารอะไรที่กินแล้วจะหัวล้าน สำหรับปัจจัยเรื่องอาหาร ส่วนมากจะเป็นการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ การได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน พวกโรคขาดสารอาหารจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วย รวมถึงความเครียดที่กระตุ้นให้เกิดหัวล้านเร็วขึ้นได้ ในทางกลับกัน กินอะไรผมดกดำ หมอแนะนำให้กินอาหารให้ครบถ้วน หลากหลาย กินสารอาหารที่มีวิตามิน ไบโอติน ซิงค์ กินผัก ผลไม้ เหล่านี้คือการกินให้ร่างกายแข็งแรง เมื่อร่างกายเราแข็งแรง ผมก็จะแข็งแรงตามไปด้วย”
“จริง”
“เนื่องจากส่วนมากหากผู้ชายจะได้รับตัวพันธุกรรมนี้มา จะแสดงออกในเรื่องของการผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านชัดเจนกว่าผู้หญิง ในขณะที่ผู้หญิงจะเริ่มบางจากตรงแสก ทั้งนี้ ผู้ชายจะแสดงออกถึงภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านแบบตรงไปตรงมา คือจากพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศชายในร่างกาย ที่ชื่อว่า ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) ไปจับกับรากผม ทำให้ผมเส้นเล็กลงเรื่อยๆ โดยตอนแรกจะดูบางลง พอเล็กลงก็จะเริ่มฝ่อและศรีษะล้านในที่สุด ส่วนในผู้หญิงจะมีหลายปัจจัยมากกว่า อาทิ โรคถุงน้ำในรังไข่ ไทรอยด์ โลหิตจาง ที่ทำให้เกิดภาวะผมบางตรงแสกได้”
“จริงมาก”
"เพราะสาเหตุของการเกิดผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน มีปัจจัยหลักมาจากพันธุกรรม แต่ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่ผมดก ลูกจะไม่หัวล้าน เพราะเรื่องนี้ต้องสืบสาวราวเรื่องย้อนขึ้นไปอีกทั้งปู่ ย่า ตา ยาย หรือรุ่นก่อนนั้น ที่อาจมีพันธุกรรมนี้แล้วมาปรากฏที่รุ่นเรา"
“ไม่จริง”
“เรื่องนี้จริงๆ ต้องดูก่อนว่าเป็นคนผมเส้นเล็กตั้งแต่เกิดหรือเปล่า หรือค่อยๆ เล็กและบางลง เพราะเกิดได้จากหลายปัจจัย แต่ปัจจุบันสามารถตรวจวิเคราะห์ได้ว่าที่เส้นผมบางลง ผมร่วง ความจริงเกิดจากอะไร แล้วจึงรักษาที่ต้นเหตุก่อน ทั้งนี้ บางคนไม่จำเป็นต้องปลูกผม แต่สามารถกินยา ฉีดยา ก็สามารถกระตุ้นทำให้รากผมงอกขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของแต่ละคน เช่น ภาวะผมร่วงหลังคลอด ผมร่วงหลังจากการฉีดวัคซีน หรือภาวะ Alopecia Areata ที่เป็นอาการผมร่วงจากความเครียด”
“ไม่เกี่ยว“
"จริงๆ แล้วสระผมตอนไหนก็ได้ แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากกว่า เช่น ถ้าเราสระผมด้วยน้ำที่ร้อนไป ศีรษะก็จะแห้งได้ หนังศรีษะอาจเกิดการอักเสบ ยิ่งคนที่เป็นโรคผิวหนังที่ศีรษะก็อาจจะมีการลอก แดง อักเสบ เป็นตัวกระตุ้นให้ผมหัก ผมขาด และหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น"
“ไม่เกี่ยว“
"ย้ำเรื่องหัวล้านหลักๆ ยังคงมาจากพันธุกรรม"
“ไม่สัมพันธ์กัน”
“จริงๆ แล้วพวกการย้อมผม กัดสีผม เป็นสารเคมี ถ้าถามว่ามันกระตุ้นให้ผมร่วงหรือทำให้หัวล้านโดยตรงหรือไม่ ก็ไม่ได้ชัดเจนขนาดนั้น แต่อาจทำให้เส้นผมไม่แข็งแรง เช่น หักหรือเปราะง่าย ซึ่งหากว่าตัวรากผมเราไม่ได้แพ้สารเคมีพวกนี้ หนังศีรษะไม่ได้มีการอักเสบ รากผมก็จะยังแข็งแรงเพราะหนังศีรษะยังแข็งแรงอยู่“
“การปลูกผม ไม่ใช่ทางออก”
"เนื่องจากยาเคมีบำบัดที่ได้รับเข้าไปจะไปทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วๆ ซึ่งผมก็เป็นเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว พอได้รับยาไปผมจึงหลุดร่วง แต่พอหยุดการให้คีโมประมาณ 3-4 เดือน ผมก็จะงอกค่อยๆ งอกกลับมา ดังนั้น การปลูกผม จึงไม่ใช่ทางออกของปัญหานี้"
เทคนิคปลูกผมที่คนอยากปลูกผมต้องรู้!!
เรื่องนี้ หมอฝน-แพทย์หญิงรมิดา เกษมสมพร เผยว่าปัจจุบันเทคนิคการปลูกผมที่ได้ผลและใช้กันแบบสากลมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. เทคนิค FUE (Follicular Unit Excision) เป็นเทคนิคการปลูกผมที่ “ไม่ต้องผ่าตัด” โดยใช้เครื่องมือเฉพาะในการสกัดรากผมจากบริเวณที่มีผมหนาแน่น แล้วนำไปปลูกในบริเวณที่ผมบางหรือหัวล้าน เทคนิคนี้ช่วยลดความเจ็บปวดและการเกิดแผลเป็นได้อย่างมากช
2. เทคนิค FUT (Follicular Unit Transplantation) คือเทคนิคการศัลยกรรมปลูกถ่ายเส้นผมที่เป็นการตัดเอาหนังศีรษะด้านหลังบริเวณท้ายทอยที่มีรากผมที่แข็งแรงและมีอายุที่ยืนนานไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ
ทั้งนี้ การจะตัดสินใจทำวิธีไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน ดังนั้น ที่ Hair Restore by DHT Clinic จึงเน้นไปที่การปลูกผมแบบ Personalized Hair Transplant ซึ่งเป็นการออกแบบเฉพาะบุคคล
“การปลูกผม ไม่เหมือนการตัดเย็บเสื้อผ้าโหลที่ผลิตออกมาเหมือนกันครั้งละมากๆ แต่การปลูกผมจะต้องอาศัยการ Customize ปรับแต่งเฉพาะบุคคล เบื้องต้นต้องวินิจฉัยเรื่องลักษณะของศีรษะล้านว่าเป็นอย่างไร ประกอบกับความต้องการของคนไข้ เพื่อสร้างความคาดหวังที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ภายในข้อจำกัดของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป การสอบถามเรื่องทรงผมที่ต้องการไว้ในอนาคต การพิจารณาความยืดหยุ่นของหนังศีรษะ ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์เป็นสำคัญ
สำหรับใครที่กำลังคิดว่าปัญหาเรื่องผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต ทำให้สูญเสียความมั่นใจ ปัจจุบันปัญหานี้สามารถรักษาได้ แนะนำให้เข้ามาปรึกษาหมอเพื่อให้เข้าใจในธรรมชาติของภาวะผมร่วง ผมบาง ไม่ว่าจะเกิดจากพันธุกรรมหรือว่าตัวโรคที่เป็นอยู่ให้ถ่องแท้ ก่อนทำการตรวจและวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ทำการรักษาอย่างถูกวิธีและตรงไปตรงมา เพื่อเรียกความมั่นใจกลับคืนมา” คุณหมอฝน กล่าวทิ้งท้าย