มีหลายงานวิจัยในต่างประเทศอธิบายเรื่องความสัมพันธ์ของ “น้ำยาย้อมผมชนิดถาวร” กับ “การก่อมะเร็ง” บางชนิดที่ยังมีความขัดแย้งกันในแต่ละการศึกษา จึงทำให้ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าน้ำยาย้อมผมเป็นสาเหตุของการก่อมะเร็งจริงหรือไม่
การศึกษาโดย Shinjita Das, MD, Contributor ในปี 2021 นักวิจัยจาก Harvard Medical School ประเมินการใช้สีย้อมผม และความเสี่ยงของโรคมะเร็งและการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจจากผู้หญิง 117,200 คนที่ลงทะเบียนในการศึกษาสุขภาพพยาบาล ซึ่งเก็บรวบรวมมานานกว่า 36 ปี ข้อมูลที่รวบรวมครอบคลุมทั้งอายุ เชื้อชาติ ดัชนีมวลกาย สถานะการสูบบุหรี่ ปริมาณแอลกอฮอล์ สีผมตามธรรมชาติ ผมถาวร การใช้สีย้อม (ผู้ใช้เคยเทียบกับไม่เคยใช้ อายุที่ใช้ครั้งแรก ระยะเวลาใช้ ความถี่ในการใช้) และปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งบางประเภท
จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ย้อมผม ผู้เข้าร่วมที่เคยใช้สีย้อมผมถาวร “ไม่มีความเสี่ยงโดยรวม” ในการเป็นมะเร็งหรือการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม มีความผิดปกติบางประการ ส่วนมะเร็งบางชนิดที่อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าเล็กน้อย สำหรับมะเร็งเซลล์ต้นกำเนิด (มะเร็งผิวหนังชนิดที่พบบ่อยที่สุด) ในผู้ใช้ที่เคยใช้ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ ความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่บางชนิดดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้สีย้อมถาวรในระยะยาว
ในขณะที่ผู้หญิงที่มีผมสีเข้มตามธรรมชาติ ดูเหมือนจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง Hodgkin และผู้หญิงที่มีผมสีอ่อนตามธรรมชาติมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเซลล์ต้นกำเนิด
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ให้ข้อสรุปว่ายังจำเป็นต้องมีการสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ที่ระบุได้ดีขึ้นในอนาคต
ย้อมผมบ่อยแค่ไหน อันตราย-ปลอดภัย ?
ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการวิจัยที่ระบุได้อย่างชัดเจนว่า การย้อมผมบ่อยครั้งแค่ไหนถึงจะเป็นอันตรายต่อร่างกายจริงๆ แต่แนะนำให้ทำสีผม 1 ครั้ง พักผม 3 เดือน ก่อนจะเริ่มทำสีผมได้ใหม่อีกครั้ง (ในกรณีที่เป็นการทำผมสีผมถาวร และกึ่งถาวร ที่เส้นผมผ่านสารเคมีมาอย่างหนัก) และระหว่างพักผมควรบำรุงเส้นผมด้วยการใช้คอนดิชันเนอร์หลังสระผมทุกครั้ง และลดการใช้ความร้อนกับเส้นผมรวมถึงหนังศีรษะ
ความจริงที่น่ากลัวยิ่งการการย้อมสีผม คือพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวันของหลายๆ คนที่อาจจะเป็นตัวการก่อให้เกิดมะร็งมากกว่าการย้อมสีผม ทั้งจากการที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดนั้นๆ อยู่เดิม พฤติกรรมความเสี่ยงในการก่อมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่กับมะเร็งปอด การกินอาหารปิ้งย่างที่มีควัน การเผาไหม้ ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งทางเดินอาหาร การบริโภคอาหารที่อุดมด้วยแป้ง น้ำตาล ไขมันสูง พฤติกรรมเนือยนิ่ง การไม่ออกกำลังกาย และฝุ่น PM 2.5 ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ที่น่ากลัวและควรหลีกเลี่ยงมากกว่า
1. สารเคมีที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ย้อมผมมากที่สุด คือ สารพาราฟินีลินไดอะมีน (P-Phenylenediamine, PPD) หรือพาราโทลูอีนไดอะมีน (P-Toluenediamine, PTD) เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ บวมบริเวณเปลือกตา ใบหน้า และริมฝีปาก มีผื่นแดงเป็นตุ่มใส และมีน้ำเหลือง คันบริเวณศีรษะ ใบหน้า ต้นคอ ในบางรายที่มีอาการแพ้มากจะทำให้หายใจลำบาก นอกจากนี้ ทำให้เกิดจ้ำเขียวเป็นผื่น หากโดนตาทำให้เยื่อบุตาอักเสบ ตาบวม หากสูดดมทำให้ไอ จาม และวิงเวียน และยังทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง
ดังนั้น ก่อนใช้จึงจำเป็นต้องมีการทดสอบการแพ้ก่อนทุกครั้ง ทำให้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องติดตาม ความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด โดยการควบคุมปริมาณของ PPD ในผลิตภัณฑ์ย้อมผมไม่ให้เกินร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก
2. ยาย้อมผมที่มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) ทำหน้าที่กัดสีผม ทำลายเม็ดสีตามธรรมชาติ ทำให้เส้นผมมีสีอ่อนลง ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ ทำให้ผมแข็งกระด้าง ทำลายเซลล์ผม ทำให้ยิ่งย้อม ก็ยิ่งหงอก
3. ยาย้อมผมที่มีเกลือโลหะย้อมผม (Metallic hair dye) ได้แก่ ตะกั่วอะซิเตด หรือซิลเวอร์ไนเตรด ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ หากเข้าตาจะทำลายเยื่อหุ้มตาถึงขั้นตาบอด หากสะสมในร่างกายอาจทำลายสมอง และประสาทสัมผัสและจัดเป็นสารก่อมะเร็ง
4. ยาย้อมผมที่มีแอมโมเนีย (Ammonia) ทำให้เกิดอาการระคายเคืองทั้งต่อผิวหนัง ตา และระบบทางเดินหายใจ อาจมีทั้งน้ำตา น้ำมูกไหลและไอ และยังเป็นสาเหตุให้ผมเสีย ผมร่วง และรากผมอ่อนแอ กลิ่นฉุนแสบจมูก
ให้ล้างหนังศีรษะและผมด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ หรือแชมพูอ่อนๆ เพื่อล้างผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่ยังเหลืออยู่หมดไป หรือให้เหลือน้อยที่สุด หรือใช้สารละลายเจือจางของด่างทับทิม 1 ส่วน ต่อน้ำ 5,000 ส่วน เพื่อชะล้างสารเคมีให้หมดจากเส้นผม
ทั้งนี้ หากใครมีอาการข้างต้นรุนแรง อาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์และหยุดใช้ยาย้อมเคมีทันที โดยนำฉลาก ซอง หรือกล่องผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไปด้วย
ข้อมูลโดย แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ แนะนำการทำสีผมหรือย้อมผมอาจมีผลต่อสุขภาพของเส้นผม หนังศีรษะและร่างกายได้ ประชาชนควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด ดังนี้
1. เลือกยาย้อมผมที่ปลอดภัย ควรเลือกยาย้อมผมที่มีคุณภาพ และมาตรฐานจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรสังเกตจากฉลากว่ามีการระบุข้อความที่จำเป็น เช่น เลขที่ใบรับแจ้งของอย. ชื่อของสารที่เป็นส่วนประกอบ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า เลขครั้งที่ผลิตและวันเดือนปีที่ผลิตและ วันหมดอายุ เป็นต้น อย่าเลือกยาย้อมผมนั้นเพียงเพราะยาย้อมผมนั้นนำเข้ามาจากต่างประเทศหรือเป็นสมุนไพร เนื่องจากสารหลายชนิดในยาย้อมผมเป็นสารที่ต้องควบคุมประมาณการใช้หรือเป็นสารที่ห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
2. ผู้ใช้ควรอ่านฉลากและปฎิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุไว้ในฉลากให้ถูกต้อง และให้ระวังคำเตือนที่ระบุไว้ที่ฉลากด้วย เช่น มีสารพาราฟินีลีนไดอะมีนส์ (Paraphenylenediamine; PPD) อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้ ระวังอย่าให้เข้าตา สวมถุงมือที่เหมาะสมขณะใช้ อย่าย้อมผมถ้ามีผื่นหรือแผลที่หนังศีรษะ
3. ท่านที่สงสัยว่าอาจจะมีการแพ้ ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการทดสอบ patch test
4. ควรสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมผม แต่ในช่างย้อมผมที่มีการแพ้สารพาราฟินีลีนไดอะมีนส์ ควรใช้ถุงมือไนไตร (nitrile glove) เนื่องจากสารพาราฟินีลีนไดอะมีนส์ และสารอื่นบางชนิดในยาย้อมผมสามารถทะลุถุงมือยางธรรมดาได้
5. ไม่ควรปล่อยให้สีย้อมอยู่บนเส้นผมหรือหนังศีรษะนานกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก เพราะสารเคมีอาจทำให้เส้นผมขาดหรืออาจซึมผ่านหนังศีรษะเข้าสู่ร่างกายทำให้มีโอกาสเกิดการแพ้ได้มากขึ้นหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกาย
6. สระผมให้สะอาด อย่าให้มีสีผมค้างที่เส้นผมหรือหนังศีรษะหลังจากย้อมผมแล้ว เนื่องจากอาจเกิดการระคายเคืองหรือทำให้เส้นผมขาดง่าย
7. ควรใช้ครีมนวดผมที่มีคุณภาพดี เช่น ครีมนวดผมที่มีส่วนประกอบของไดเมทิโคน (Dimethicone) หรือโพลีเมอร์ (Polymer) จะช่วยลดการเสียดสีของผมและช่วยทำให้ผมไม่แห้งขาดง่าย
8. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีผื่นคันที่หนังศีรษะหรือที่ตัวหลังจากใช้ยาย้อมผม อาจเกิดจากการแพ้สารพาราฟินีลีนไดอะมีนส์ หรือสารอื่น ๆ ในยาย้อมผม ควรหยุดใช้ทันทีและปรึกษาแพทย์ผิวหนัง ไม่ควรย้อมผมในหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตรหรือเด็กเล็ก
9. ควรมีการย้อมผมหรือทำสีผมไม่บ่อยมากจนเกินไป เนื่องจากความร้อน หรือสารเคมี จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบในเส้นผมและเปลือกผมถูกทำลายทำให้เส้นผมขาดง่าย หรือหยาบกระด้าง ถ้ามีอาการผมแห้งหรือผมเสีย ให้ใช้ครีมนวดผมเพื่อลดการเสียดสีของผมหรือตัดผมที่แตกปลายออก