svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

"หมอธีระ" เผยข้อมูลที่น่าสนใจ ประเด็นโลกวันนี้ "อัปเดตความรู้โควิด-19" 

"หมอธีระ" หรือ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ เปิดข้อมูลชุดล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด โดยในวันนี้ขอนำเสนอ "อัปเดตความรู้โควิด-19" โพสต์ก่อนหน้านี้ หมอธีระเคยเตือนกันดังๆ ฝากถึงประชาชนคนไทย อย่าได้ไปหลงเชื่อข่าวลวง ที่ทำให้เข้าใจผิดว่า โควิด-19 ระบาดตามฤดูกาล

อีกความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโควิด-19 ที่น่าสนใจ ล่าสุด บนเพจเฟซบุ๊กของ "หมอธีระ" หรือ "รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์" ได้ออกมาโพสต์ข้อความให้ความรู้ รายงานความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 เนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้

\"หมอธีระ\" เผยข้อมูลที่น่าสนใจ ประเด็นโลกวันนี้ \"อัปเดตความรู้โควิด-19\" 
อัปเดตความรู้โควิด-19

1. หากโรงพยาบาลไม่ตรวจคัดกรองโควิด-19 ในผู้ป่วยที่ต้องมานอนรักษาตัว จะทำให้มีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ภายในโรงพยาบาลมากขึ้น (ภาพที่ 1)

\"หมอธีระ\" เผยข้อมูลที่น่าสนใจ ประเด็นโลกวันนี้ \"อัปเดตความรู้โควิด-19\" 

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ JAMA Internal Medicine เมื่อ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยเป็นข้อมูลที่ศึกษาในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ และสก็อตแลนด์)
การศึกษานี้ตอกย้ำให้โรงพยาบาลควรให้ความสำคัญต่อการตรวจคัดกรองในผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาตัว เพื่อลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยรอบข้าง และบุคลากรในโรงพยาบาล เพราะหากมีการติดเชื้อระหว่างนอนรักษาตัว จะส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมากขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัว หรือสถานะสุขภาพไม่ดีอยู่เดิม การติดเชื้อจะทำให้โรคต่างๆ รุนแรงขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นได้

\"หมอธีระ\" เผยข้อมูลที่น่าสนใจ ประเด็นโลกวันนี้ \"อัปเดตความรู้โควิด-19\" 

2. วัคซีนที่จำเพาะต่อสายพันธุ์ที่ระบาด จะเริ่มใช้ในช่วงฤดูใบไหม้ร่วงปีนี้
ข้อมูลจาก CTV News วันที่ 5 มิถุนายน 2566 รายงานว่า บริษัท Biontech ประเทศเยอรมัน ได้ให้ข่าวว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่จำเพาะต่อสายพันธุ์ XBB จะได้รับการผลิต และยื่นขอการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการขออนุมัติภายในช่วงปลายฤดูร้อน และเริ่มใช้ได้สำหรับประเทศในกลุ่มแถบเหนือของโลกในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง

3. การติดเชื้อหลายครั้ง เพศหญิง และสูงอายุ เสี่ยงต่อ Long COVID มากขึ้น
งานวิจัยโดยทีมจากประเทศบราซิล ศึกษาในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 7,051 คน ตั้งแต่ปี 2020-2022 เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Infection Control & Hospital Epidemiology เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566

  • พบอัตราความชุกของปัญหา Long COVID สูงราว 27%
  • การติดเชื้อซ้ำ (Reinfections) จะทำให้เสี่ยงต่อ Long COVID มากขึ้น 27%
  • เพศหญิงทำให้เสี่ยงมากขึ้นกว่าเพศชาย 21%
  • และภาวะสูงอายุจะทำให้เสี่ยงมากขึ้นเล็กน้อย 
  • หากฉีดวัคซีนครบเข็มกระตุ้น (ตั้งแต่ 4 เข็มขึ้นไป) จะลดความเสี่ยงได้กว่า 80%

\"หมอธีระ\" เผยข้อมูลที่น่าสนใจ ประเด็นโลกวันนี้ \"อัปเดตความรู้โควิด-19\" 

\"หมอธีระ\" เผยข้อมูลที่น่าสนใจ ประเด็นโลกวันนี้ \"อัปเดตความรู้โควิด-19\" 

สถานการณ์ไทยเรา มีการติดเชื้อกันมากในแต่ละวัน สถิติป่วย และเสียชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด
  • เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
  • ระวังการคลุกคลีใกล้ชิดโดยไม่ป้องกันตัว
  • ไม่ควรแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน
  • หากไม่สบาย ควรรีบตรวจรักษา แยกตัวจากคนอื่น 7-10 วันจนกว่าจะไม่มีอาการและตรวจ ATK ซ้ำแล้วได้ผลลบ

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

ย้อนอ่านสาระดีๆ จากโพสต์ของหมอธีระ
...วิเคราะห์สถานการณ์ระบาดไทย...
สถิติรายสัปดาห์ล่าสุด 28 พ.ค.-3 มิ.ย. 2566
...จำนวนป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล...3,085 ราย
สูงกว่าสัปดาห์ก่อน 3.87% หรือ 1.04 เท่า
แต่สูงกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 81.57% หรือ 1.81 เท่า
...จำนวนเสียชีวิต...68 ราย
สูงกว่าสัปดาห์ก่อน 61.9% หรือ 1.62 เท่า
แต่มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 580% หรือ 6.8 เท่า
...จำนวนผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ...243 ราย
น้อยกว่าสัปดาห์ก่อน 3.95%
แต่มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 115% หรือ 2.15 เท่า
...จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ...386 ราย
ลดลงกว่าสัปดาห์ก่อน 9.17%
แต่มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อน 76.25% หรือ 1.76 เท่า
......"คาดประมาณติดใหม่รายวันอย่างน้อย 22,036-30,606 คน"....
ยังคงทำลายสถิติต่อเนื่อง ถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2565 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ คาดว่าตัวเลขในระบบจะน้อยกว่าสถานการณ์จริง


...ความใส่ใจสุขภาพ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวสม่ำเสมอ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทย ที่ต้องการสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและครอบครัว

  • เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
  • ไม่แชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน
  • รักษาความสะอาดบริเวณที่ใช้งานร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่สบาย ควรแยกตัวจากผู้อื่น 7-10 วันจนไม่มีอาการและตรวจ ATK ซ้ำได้ผลลบ แสดงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  • ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องเสมอ จะช่วยลดเสี่ยงลงไปได้มาก
  • ติดเชื้อแต่ละครั้งไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยได้ รุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติระยะยาวอย่าง Long COVID ด้วย
  • ป้องกันตัวไม่ให้ติด หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด

หากเพิ่งไปร่วมกิจกรรมที่มีคนหมู่มาก แออัด โดยไม่ได้ป้องกันตัว ควรสังเกตอาการตนเองในช่วงสัปดาห์นี้ด้วยนะครับ...

\"หมอธีระ\" เผยข้อมูลที่น่าสนใจ ประเด็นโลกวันนี้ \"อัปเดตความรู้โควิด-19\" 
อีกหนึ่งสาระดีๆ ที่คุณหมอธีระ นำมาฝากคอข่าวกัน น่าอ่านมากๆ  
แนวทางการจัดการเรื่องอากาศในอาคาร
เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ทาง US CDC ได้อัพเดตคำแนะนำจัดการเรื่องอากาศภายในอาคาร เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อโรคโควิด-19
สาระสำคัญที่ไทยเราน่าจะนำมาใช้ได้ในที่ทำงาน สถานประกอบกิจการต่างๆ รวมถึงโรงเรียน และสถานศึกษา เพราะตอนนี้ติดเชื้อกันเยอะมากอย่างต่อเนื่อง มีดังนี้
วิธีการเพิ่มการระบายอากาศ (Improve ventilation)
1. หมั่นตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศ และพัดลมระบายอากาศต่างๆ ที่มีอยู่เดิมในอาคารให้อยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้ดี และทำความสะอาดสม่ำเสมอ
2. เปิดประตู และหน้าต่าง จะช่วยเพิ่มการระบายอากาศได้มากขึ้น ยกเว้นกรณีที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือทำให้ไม่ปลอดภัย เช่น ในช่วงมีมลภาวะฝุ่นละอองมาก ก็ไม่ควรเปิด
3. การเปิดพัดลม จะช่วยให้อากาศเกิดการหมุนเวียนหรือระบายได้ดีขึ้น แต่ควรเลี่ยงการเปิดพัดลมในพื้นที่ที่อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนจากมลภาวะ และควรเลี่ยงการเปิดพัดลมเป่าจากคนหนึ่งไปยังคนอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อกันได้
วิธีการทำให้อากาศสะอาดขึ้น (Improve air cleanliness)
1. การใช้เครื่องฟอกอากาศ ที่มีตัวกรอง high-efficiency particulate air หรือ HEPA filter ทั้งนี้ควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ห้องด้วย
2. การใช้รังสี UV เพื่อฆ่าเชื้อโรคในอากาศ รวมถึงไวรัสโควิด-19 (UVGI หรือ GUV) ทั้งนี้วิธีการนี้เหมาะสมสำหรับสถานที่ที่รองรับคนจำนวนมาก หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อสูง

อ้างอิง
Ventilation in Buildings. US CDC. 12 May 2023.