svasdssvasds
เนชั่นทีวี

Health & Lifestyle

เผยโควิด-19 ทั่วโลก ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่าที่มีในระบบรายงาน 3.4 เท่า

เปิดรายงานเกี่ยวกับประเด็นโควิด-19 ทั่วโลก ที่มาจาก The Economist เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมีรายงานราว 6.9 ล้านคน แต่คาดประมาณว่าจำนวนเสียชีวิตจริงน่าจะสูงถึง 23.6 ล้านคน หรือมากกว่าที่มีอยู่ในระบบรายงานถึง 3.4 เท่า

อีกหนึ่งบทความดีๆ ทันสมัย ทันข่าวและทันโลกมากที่สุดอีกชุดหนึ่ง ได้เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับประเด็นโควิด-19 และการรายงานสถานการณ์อัปเดตโควิดวันนี้ เพจสายวิชาการระดับโลกอย่าง คุณหมอธีระ รายงานในโพสต์ล่าสุด ระบุไว้ว่า 

หมอธีระ เผยสถานการณ์โควิดโลกวันนี้ ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่าที่มีในระบบรายงาน 3.4 เท่า

เผยโควิด-19 ทั่วโลก ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่าที่มีในระบบรายงาน 3.4 เท่า
อัปเดตโควิด-19
1. คาดประมาณว่าจำนวนเสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วโลกจะสูงกว่าที่มีในระบบรายงาน 3.4 เท่า
The Economist เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมีรายงานราว 6.9 ล้านคน แต่คาดประมาณว่าจำนวนเสียชีวิตจริงน่าจะสูงถึง 23.6 ล้านคน หรือมากกว่าที่มีอยู่ในระบบรายงานถึง 3.4 เท่า (ภาพที่ 1)

เผยโควิด-19 ทั่วโลก ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่าที่มีในระบบรายงาน 3.4 เท่า
2. การสุ่มตรวจสายพันธุ์ไวรัสของหลายประเทศมีแนวโน้มลดลง ถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ และเป็นอุปสรรคในการวางแผนควบคุมโรคในระดับมหภาค

ข้อมูลจาก GISAID ในเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า หลายประเทศมีการสุ่มตรวจสายพันธุ์ไวรัสโรคโควิด-19 จำนวนน้อย (ภาพที่ 2)

เผยโควิด-19 ทั่วโลก ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่าที่มีในระบบรายงาน 3.4 เท่า ประเทศที่ส่งข้อมูลมากเป็นลำดับต้นๆ ของโลกคือ อเมริกา แคนาดา จีน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ในขณะที่ไทยเรามีการตรวจราว 220 ตัวอย่างอยู่ลำดับ 17


ระบบการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ไวรัสนั้นมีความสำคัญมาก และช่วยให้ทั่วโลกได้รู้สถานการณ์ของแต่ละประเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนรับมือการระบาดในอนาคต

3. คำเตือนจาก US Department of Health and Human Services (HHS)
หลังจากที่งานวิจัยของทีมงานจาก US NIH ตีพิมพ์เผยแพร่ใน JAMA เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งสาระสำคํญคือ โดยเฉลี่ยแล้วการติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้เกิดปัญหา Long COVID ได้ราว 10% แต่หากติดเชื้อซ้ำ จะเพิ่มความเสี่ยงเป็น 2 เท่า 
ทำให้เมื่อ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีคำเตือนชัดเจนจาก US HHS ว่า การติดเชื้อซ้ำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และเพิ่มความเสี่ยงของ Long COVID 

“Repeat COVID infections increase your risk for both hospitalization and Long COVID.” (ภาพที่ 3)

เผยโควิด-19 ทั่วโลก ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่าที่มีในระบบรายงาน 3.4 เท่า
การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด

4. การติดเชื้อภายในครอบครัว มักเริ่มมาจากเด็กได้ราว 70%
งานวิจัยล่าสุดจากทีมมหาวิทยาลัย Harvard ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ใน JAMA Network Open เมื่อ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ศึกษาลักษณะการระบาดในครอบครัวจำนวนกว่า 38,000 คนในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา
พบว่า การติดเชื้อภายในครอบครัวนั้นมักเริ่มต้นจากเด็กๆ มากถึง 70.4% โดยช่วงการเปิดเรียนในสถานศึกษาจะมีอัตราการติดเชื้อมากกว่าช่่วงปิดเทอม 
นอกจากนี้เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 8 ปี เสี่ยงที่จะแพร่ให้คนในครอบครัวมากกว่าเด็กโต

สำหรับไทยเรา การระบาดยังมีต่อเนื่อง
ควรใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ป้องกันตัวเสมอ

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

 

ลักษณะสายพันธุ์ย่อยที่ระบาดในไทย

ข้อมูลจาก cov-spectrum เช้านี้ พบว่า

ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีผลการตรวจสายพันธุ์ของไทย จำนวน 199 ตัวอย่าง โดย XBB.x ครองสัดส่วนราว 90.45% และพบทั้งหมด 40 สายพันธุ์ย่อย ทั้งนี้ สายพันธุ์ย่อยที่มีสัดส่วนตรวจพบ สามอันดับแรก ได้แก่

XBB.1.16 พบสูงสุดราว 22.11%

XBB.1.5 14.07%

XBB.1.9.1 10.55%

หากเปรียบเทียบกับช่วง 1-30 เมษายน 2566 มีผลการตรวจสายพันธุ์ของไทย จำนวน 527 ตัวอย่าง โดย XBB.x ครองสัดส่วนราว 90.09% และพบทั้งหมด 65 สายพันธุ์ย่อย ทั้งนี้ สายพันธุ์ย่อยที่มีสัดส่วนตรวจพบ สามอันดับแรก ได้แก่

XBB.1.16 พบสูงสุดราว 21.82%

XBB.1.5 10.25%

XBB.1.9.1 10.06%

เผยโควิด-19 ทั่วโลก ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่าที่มีในระบบรายงาน 3.4 เท่า

ย้อนอ่านอีกครั้ง ความเคลื่อนไหวของโควิดวันนี้ รายงานข้อมูลไว้เมื่อ 2 มิถุนายน 2566

Update จาก WHO
องค์การอนามัยโลกเพิ่งเผยแพร่รายงาน WHO Weekly Epidmiological Update ล่าสุดเมื่อคืนนี้ 1 มิถุนายน 2566
ปัจจุบัน มีการติดตามไวรัสโรคโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยทั้งหมด 9 ตัว ได้แก่
2 ตัวแรก คือ XBB.1.5 และ XBB.1.16 จัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ย่อยประเภท Variants of Interest (VOI)
และอีก 7 ตัว คือ BA.2.75, CH.1.1, BQ.1, XBB, XBB.1.9.1, XBB.1.9.2, และ
XBB.2.3 จัดอยู่ในกลุ่ม Variants under Monitoring (VUM)
ข้อมูลสัดส่วนสายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลกจนถึง 14 พฤษภาคม 2566 พบว่า Omicron สายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบสัดส่วนสูงสุดยังคงเป็น XBB.1.5 34.04% 
แต่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง (ภาพที่ 1)
ในขณะที่ XBB.1.16 (16.32%), XBB.1.9.1 (16.94%), XBB.1.9.2 (5.26%) และ XBB.2.3 (6.34%) นั้นตรวจพบในสัดส่วนที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน

สถานการณ์ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลจนถึง 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่ามีสัดส่วนสายพันธุ์ที่ระบาดทั้ง XBB.1.16, XBB.1.5 และ XBB.1.9.1 ในระดับพอๆ กันราว 20+% (ภาพที่ 2)

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
เมื่อวานนี้ ข่าวจาก National Post ได้นำเสนอเรื่องนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ติดเชื้อโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยได้รับการดูแลรักษาจนตรวจได้ผลลบใน 6 วันหลังจากพบว่าติดเชื้อ
ทั้งนี้กลับตรวจ ATK พบว่าเป็นผลบวกอีกครั้ง และได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลให้ทำการแยกตัวอีกครั้ง 
ปรากฏการณ์ข้างต้นเรียกว่า การเป็นกลับซ้ำ หรือ COVID rebound พบได้ราว 5-10% 
เลยถือโอกาสทบทวนความรู้เรื่องนี้ให้ทราบอีกครั้ง เพื่อให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ทบทวนเรื่อง COVID Rebound
1. ความหมายของ Rebound
Rebound ในที่นี้แปลว่า "การเป็นกลับซ้ำ หรือปะทุกลับขึ้นมา" ไม่ใช่ "ติดเชื้อซ้ำ (Reinfection)"
ดังนั้นต้องไม่สับสน ระหว่าง Rebound กับ Reinfection
Rebound หรือการเป็นกลับซ้ำนั้น เกิดขึ้นได้ทั้งในคนที่ติดเชื้อแล้วกินยาต้านไวรัส หรือไม่ได้กินยาต้านไวรัส

2. ลักษณะของการเป็นกลับซ้ำ
การเป็นกลับซ้ำ เกิดได้ 2 รูปแบบ จะเกิดพร้อมกันหรือเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ได้แก่
หนึ่ง ปริมาณไวรัสในร่างกายปะทุสูงขึ้นมา หลังจากที่ติดเชื้อแล้วได้ยาต้านไวรัสจนปริมาณไวรัสลดลง หรือเวลาผ่านไปแล้วดีขึ้นจนไวรัสลดลง จนตรวจได้ผลเป็นลบ แต่กลับมีปริมาณไวรัสเพิ่มขึ้นอีกครั้ง จนตรวจพบผลบวกกลับมาใหม่ เรียกว่า "Viral rebound"

สอง อาการกลับเป็นซ้ำ กล่าวคือ ติดเชื้อแล้วมีอาการป่วย ต่อมาได้รับยาจนดีขึ้นหรือหายป่วย หรือเวลาผ่านไปแล้วอาการดีขึ้นหรืออาการหมดไป แต่ผ่านไปไม่กี่วันก็กลับมีอาการกำเริบขึ้นมาใหม่หรือแย่ลง เรียกว่า "Symptom rebound"
โอกาสเกิด Rebound นั้นมีประมาณ 5-10% ในคนที่ติดเชื้อแล้วได้รับยาต้านไวรัส

ในขณะที่คนที่ไม่ได้รับยาต้านไวรัสนั้น งานวิจัยของทีม Harvard Medical School พบว่ามีโอกาสเกิด Viral rebound 12%, (ราว 1 ใน 8 ) และ Symptom rebound ได้มากถึง 27% (ราว 1 ใน 4)

3. ช่วงเวลาที่พบการเป็นกลับซ้ำ
โดยเฉลี่ยแล้ว การเป็นกลับซ้ำเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วง 2-8 วัน หลังจากตรวจได้ผลลบ หรือหลังจากอาการทุเลาหรือหมดไป

4. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเป็นกลับซ้ำ
จากข้อมูลที่มีอยู่นั้น ไม่ว่าจะตรวจแล้วพบว่าผลบวกกลับมาซ้ำ (ขึ้น 2 ขีด) หรือมีอาการกลับซ้ำขึ้นมา ก็มักสะท้อนว่าคนคนนั้นยังมีภาวะติดเชื้ออยู่และมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ 
ดังนั้นเราจึงเห็นกรณีผู้ป่วยที่เกิด Rebound ในต่างประเทศ ที่ต้องเริ่มแยกตัวใหม่อีกครั้งเพื่อป้องกันไม่ไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่น

5. การปฏิบัติตัวกรณีเกิดเป็นกลับซ้ำ
แม้จะยังไม่มีงงานวิจัยจำเพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ระยะเวลาที่ควรแยกตัวนั้น ควรเป็นไปดังความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron ว่า ดีที่สุดคือการแยกตัวจากคนอื่น 2 สัปดาห์ แต่หากจำเป็นต้องกลับไปทำงานหรือศึกษาเล่าเรียน การแยกตัวควรทำอย่างน้อย 10 วัน และต้องแน่ใจว่าไม่มีอาการป่วยและตรวจ ATK ซ้ำแล้วได้ผลลบ
แต่หากแยกตัวเพียง 5 วัน หรือ 7 วัน โอกาสที่ผู้ป่วยจะยังมีเชื้อและแพร่ต่อผู้อื่น อาจมีได้ถึง 50% และ 25% ตามลำดับ จึงไม่แนะนำให้แยกตัวช่วงเวลาสั้นเช่นนี้ เพราะจะมีความเสี่ยงสูงในการแพร่เชื้อในชุมชน

6. ความรุนแรงจากการเป็นกลับซ้ำ
ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผู้ป่วยที่ Rebound มีแนวโน้มที่จะไม่รุนแรงจนต้องทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต

7. การรักษา
หากพบว่าเกิด Rebound ให้รักษาตามอาการ ประคับประคองจนผ่านพ้นระยะเวลาแยกตัว ส่วนใหญ่จะดีขึ้นเองได้ 
ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสซ้ำ
แต่หากมีปัญหาเจ็บป่วยรุนแรง การให้ยาต้านไวรัสและอืนๆ ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลรักษา
เหล่านี้คือความรู้ที่พยายามสรุปมาให้อ่าน ทำความเข้าใจ จะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ครับ
สำคัญที่สุดคือ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ 
หากไม่ติดเชื้อ ก็ไม่เสี่ยงที่จะป่วยและเสียชีวิต ไม่เสี่ยงต่อการเกิดเป็นกลับซ้ำ และไม่เสี่ยงต่อ Long COVID
"ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ...คือหัวใจสำคัญ" 

อ้างอิง
Singapore prime minister tests positive for COVID again in rare rebound case. National Post. 1 June 2023.

เผยโควิด-19 ทั่วโลก ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่าที่มีในระบบรายงาน 3.4 เท่า จับตาที่รายงานโควิด-19 จากโพสต์ล่าสุด 

สถานการณ์โลกเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19
จนถึงพฤษภาคม 2566
ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 13,400 ล้านโดส
บุคลากรทางการแพทย์ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 2 เข็มราว 89%
กลุ่มคนสูงอายุได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 2 เข็มราว 82%
ประชากรโดยทั่วไป ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 2 เข็มราว 66%
อ้างอิง: COVID-19 Vaccination Insights Report. 29 May 2023.


อ้างอิง: 1. The pandemic’s true death toll. The Economist. 2 June 2023.
2. Smart Thermometer–Based Participatory Surveillance to Discern the Role of Children in Household Viral Transmission During the COVID-19 Pandemic. JAMA Network Open. 1 June 2023.

หมอธีระโพสต์รายงานข้อมูลเมื่อ 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สถานการณ์โลกเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

จนถึงพฤษภาคม 2566

ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 13,400 ล้านโดส

บุคลากรทางการแพทย์ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 2 เข็มราว 89%

กลุ่มคนสูงอายุได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 2 เข็มราว 82%

ประชากรโดยทั่วไป ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 2 เข็มราว 66%

อ้างอิง

COVID-19 Vaccination Insights Report. 29 May 2023.

ขอขอบคุณที่มา Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)