svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

24 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รู้จัก รู้ทัน โรค PTSD คือโรคอะไร อาการโรคนี้เป็นยังไง อันตรายมากน้อยแค่ไหน ชวนคอข่าวเนชั่นออนไลน์ มาร่วมทำความเข้าใจผู้ป่วย  พร้อมแนะนำวิธีรับมือหากมีเพื่อน คนรอบข้างเจ็บป่วยด้วยโรคนี้  

โรค PTSD คืออะไร อาการเป็นยังไง อันตรายแค่ไหน หลังผู้ป่วยเผยเรื่องราวสุดสะเทือนใจ และมีความต้องการให้พรรคก้าวไกลแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับการข่มขืน

กำลังเป็นชื่อที่ถูกค้นหาอย่างแรง สำหรับชื่อโรค PTSD นี้ และกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลงจากที่มีหญิงสาวรายหนึ่งออกมาเปิดเผยเรื่องราวสะเทือนใจ จนทำให้ตัวเธอต้องกลายเป็นโรคดังกล่าว

และมีความต้องการให้พรรคก้าวไกลให้พรรคก้าวไกล ออกมาแก้ไขกฎหมายข่มขืน ไม่ควรถูกลดโทษ เพราะเป็นสิ่งที่คิดมาแล้วว่าจะก่อเหตุ และผลกระทบก็มาตกอยู่ที่ผู้เสียหาย โดยมองว่ากฏหมายปัจจุบันอ่อนเกินไป

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

มาร่วมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับโรค PTSD ทีมข่าวเนชั่นออนไลน์ สืบค้น เสาะหารายละเอียด ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรค PTSD มาฝากกันตรงนี้ ครบทุกมุมพร้อมวิธีการรักษา  

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้ โรค PTSD ย่อมากจาก Post-traumatic Stress Disorder หรือ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือเกิดขึ้นกับผู้ที่ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง 

หรือเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์และเห็นเหตุการณ์สะเทือนใจนั้นโดยตรง หรือเป็นญาติใกล้ชิดกับผู้ประสบเหตุและได้รับรู้รายละเอียดข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนเกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา


เครียด ภาวะเครียด เครียดเกิดจากสาเหตุอะไรกันบ้าง?
ความเครียด คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีความรู้สึกไม่สบายใจ กังวลใจ หรือกดดัน ซึ่งส่งผลต่อสภาพ ร่างกายและจิตใจ โดยความเครียดอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความเครียดจากงาน เครียดจากการใช้ชีวิต การไดรับความกดดันจากปัจจัยแวดล้อม ความเครียดในทำอาชีพ เป็นต้น

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

นอกจากนี้ เมื่อสมองเกิดความเครียดขึ้น ร่างกายจะตอบสนองโดยการผลิต ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความเครียด” ขึ้น ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการตื่นตัว พร้อมรับมือกับเรื่องต่าง ๆ ได้ทันท่วงที แต่หากผลิตฮอร์โมนดังกล่าวมากจนเกินไป จะส่งผลเสียตามมาเช่นกัน ซึ่งความเครียดเรื่องงานเป็นความเครียดที่มีผลอย่างมากต่อสภาวะอารมณ์และจิตใจ รวมไปถึง มีผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง โดยเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ  ดังนี้

รับผิดชอบงานปริมาณมาก
การรับผิดชอบงานปริมาณมากสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การที่เราไม่เข้าใจในตัวงาน หรือ การที่เพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานมอบหมายงานให้เรามากจนเกินไป ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างล่าช้าและอาจเกิดการสะสมปริมาณงานที่ทำไม่เสร็จหรือทำไม่ได้มากขึ้น ส่งผลให้เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และทำให้เกิดความเครียดเรื่องงานตามมาได้

บริหารจัดการเวลาได้ไม่ดี
เมื่อต้องเจอกับลักษณะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ต้องปรับตัวในการทำงาน หรือต้องรับผิดชอบกับงานปริมาณมากขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดลำดับความสำคัญของเนื้องานไม่ถูก เช่น ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดตามมา จนอาจต้องทำงานเกินเวลา รวมไปถึง เกิดความเครียดเรื่องงาน

สภาพแวดล้อมในการทำงาน
สภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานอย่างมาก เพราะนอกจากสภาพแวดล้อมในการทำงานจะแสดงถึงภาพลักษณ์ของบริษัทแล้ว ยังสะท้อนถึงความเป็นอยู่ในองค์กรอีกด้วย เช่น บรรยากาศในออฟฟิศที่วางโต๊ะทำงานติด ๆ กัน หรือการให้พื้นที่ของพนักงานแต่ละคนอย่างจำกัด เป็นต้น  ซึ่งหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลงและทำให้เกิดปัญหาความเครียดเรื่องงานได้

ถูกคาดหวังจากคนอื่น
ในการทำงาน การถูกคาดหวังจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้อื่น ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะอาจเกิดจากเราที่สามารถรับผิดชอบในหน้าที่การงานนั้นได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้คนอื่นมองว่าเราสามารถพึ่งพาได้ และคาดหวังว่าจะสามารถทำงานที่มอบหมายให้ลุล่วงได้เช่นกัน เช่น เพื่อนร่วมงานขอความช่วยเหลือ หรือหัวหน้างานมอบหมายงานให้เรารับผิดชอบเพิ่มเติม เป็นต้น 

ซึ่งในความเป็นจริงเราอาจจะไม่จำเป็นต้องสามารถจัดการกับงานดังกล่าวได้เพียงคนเดียวก็ได้ ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้ได้ส่งผลร้าย ก่อให้เกิดความผิดพลาดและความเครียดตามมาได้

เกิดจากตนเอง
ไม่ใช่เรื่องแปลก หากว่าความเครียดเรื่องงานมีสาเหตุที่เกิดจากตัวของเราเอง เพราะในการทำงาน อาจมีสาเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านจิตใจที่ส่งผลต่อการทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ประกอบกับปริมาณงานที่เยอะ และถูกคาดหวังจากผู้อื่นมากเกินไป จึงอาจทำให้เกิดความเครียดเรื่องงานตามมา

อาการที่ส่งสัญญาณว่าคุณกำลังเครียดเรื่องงานมากเกินไป
ในทางกลับกัน เมื่อเราเครียดเรื่องงานมากเกินไป ร่างกายก็จะส่งสัญญาณเตือนให้ตัวเราได้รับรู้เช่นกัน โดยเฉพาะกับวัยทำงานที่ต้องรับมือกับความเครียดเรื่องงานและเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต จึงทำให้เกิดอาการเครียดสะสมขึ้นในจิตใจ ซึ่งจะมีอาการแบบไหนบ้าง ไปดูกัน

ไม่มีสมาธิ
เมื่อเกิดความเครียดเรื่องงานซึ่งเกิดจากปัญหาปริมาณงานที่เยอะจนเกินไป  ไม่สามารถที่จะบริหารหรือจัดการได้ อาจส่งผลต่อการขาดสมาธิได้ เช่น สมองของเราไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ และเมื่อทำงาน ทำให้ตัวงานไม่มีความคืบหน้า หรือมีประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง 

อารมณ์ไม่ดีหรือหงุดหงิดบ่อย
เมื่อเครียดเรื่องงานมากจนเกินไป โดยมีสาเหตุจากการถูกคาดหวัง ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกกดมากจนเกินไป อาจทำให้เราเกิดอารมณ์และความรู้สึกในแง่ลบอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดคนอื่นง่าย โกรธอยู่เป็นประจำ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ 

รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
เมื่อเกิดความเครียดมากเกินไป ร่างกายและจิตใจจึงรับภาระมากขึ้น ทำให้เกิดความเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้าได้ง่าย ทั้งนี้ สาเหตุของการเกิดอาการดังกล่าว อาจมาจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีความรู้สึกวิตกกังวลใจอยู่ตลอดเวลา

วิตกกังวลกับทุกเรื่อง
เมื่อเกิดความวิตกกังวลใจขึ้น จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับ มีอาการไม่สบายใจอยู่ตลอดเวลา มือและเท้าเย็น หรือเหงื่อแตก โดยสาเหตุของความวิตกกังวลอาจมาจากปัญหาในการทำงานได้ เช่น ความรู้สึกกลัวว่างานที่ทำจะออกมาไม่ดี หรือกลัวทำงานผิดพลาด เป็นต้น

มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
ปัญหาความเครียดเรื่องงานมากเกินไป เช่น คิดถึงแต่เรื่องงานที่ทำไม่เสร็จอยู่ตลอดเวลา หรือกังวลว่างานที่ทำจะขาดคุณภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกกังวลใจ ส่งผลให้นอนไม่ค่อยหลับ เกิดอาการกระสับกระส่าย และอาจมีผลกระทบอื่น ๆ ที่ตามมาได้ เช่น โรคซึมเศร้า เป็นต้น

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

ตรวจเช็ก...อาการที่เข้าข่ายโรค PTSD 

  • อาการในช่วงแรกประมาณ 1 เดือน เราจะเรียกว่า ระยะทำใจ (Acute Stress Disorder) หรืออาการเครียดเฉียบพลัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการเครียดแล้วเกิดอาการทางประสาทขึ้นมาได้
  • ระยะที่สอง (PTSD: Post-Traumatic Stress Disorder) คือ กินระยะเวลานานมากกว่า 1 เดือน บางคนอาจจะยาวนานหลายเดือน หรือนานเป็นปีแล้วแต่บุคคล

โดยมีลักษณะอาการสำคัญ 4 อย่าง คือ

  • เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นตามมาหลอกหลอนอยู่บ่อยๆ ผุดขึ้นมาซ้ำๆ หรือฝันเห็นบ่อยครั้ง
  • อาการ Flash Back คือ เกิดความตื่นตัว เห็นเหตุการณ์นั้นๆ กำลังจะเกิดขึ้นกับเรา ควบคุมไม่ได้ เกิดอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว ซึ่งเดิมไม่เคยเกิดขึ้น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ตกใจง่าย ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ไม่มีสมาธิ เครียดได้กับสิ่งต่างๆ รอบตัว
  • พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะส่งผลทำให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจ เช่น ภาพข่าวเหตุการณ์ การพูดถึงจากบุคคลอื่น
  • มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในเชิงลบ รู้สึกว่าชีวิตตัวเองหม่นหมอง ทั้งตัวเองและสิ่งรอบข้าง คิดว่าตัวเองคงไม่มี  ความสุขได้อีกต่อไปแล้ว ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบหรือเคยทำมาก่อนอีกแล้ว ทำให้อาจคิดฆ่าตัวตาย หรือพึ่งสารเสพติดต่างๆ เพื่อต้องการให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แต่จริงๆ แล้วอาจจะทำให้เกิดผลร้ายแรงยิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว


ภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD
 
เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย และทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตรวมถึงด้านอารมณ์ไปด้วย โดยสามารถนำพาไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย ได้แก่

โรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น
พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การหันมาใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจทำร้ายตนเอง เป็นต้น
อาการทางร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดหน้าอก เป็นต้น

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

การรักษาภาวะ PTSD

การรักษาภาวะดังกล่าวมีด้วยกันหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย โดยมีวิธีรักษาดังนี้

  • เรียนรู้และรับมือ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวต้องพยายามเรียนรู้การจัดการกับความเครียด เช่น หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เป็นต้น
  • ดูแลตนเองมากขึ้น ไม่ควรบริโภคของที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติด และเพิ่มเวลาในการพักผ่อนให้มากขึ้นกว่าเดิม
  • การรับยาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
  • การบำบัด สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาเพื่อปรับให้สามารถค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนความคิดได้ หรือเลือกที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรากลัวและเรียนรู้วิธีการรับมือที่ถูกต้องแต่วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การได้รับการดูแลพูดคุยหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็สามารถบำบัดได้เช่นกัน

อีกหนึ่งมุมมองในการดูแลรักษาอาการ PTSD

"หากเกิดอาการดังกล่าวมากกกว่า 1 เดือน หรือมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นที่จะต้อง เข้ารับการปรึกษากับแพทย์ ซึ่งอาจให้การรักษาด้วยการใช้ยาร่วมกับการทำจิตบำบัด" รศ. พญ.รัศมน กัลยาศิธิ ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้ รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้ รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้


วิธีจัดการความเครียดในการทำงาน
เมื่อความเครียดเป็นเหตุ วิธีการจัดการความเครียดในการทำงานจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับปัญหาจากสภาพอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งจะมีวิธีการอะไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันเลย

พิจารณาตนเอง
การรู้จักตนเองและทำความเข้าใจในตัวตนของเราเองนั้น นอกจากจะช่วยจัดลำดับความสำคัญ ในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตได้แล้ว ยังช่วยให้ตัวเรารับรู้ข้อดีและข้อเสีย รวมไปถึง นิสัยส่วนตัวของตนเอง เช่น เป็นคนคิดมาก หรือ มักมองโลกในแง่ลบ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ชีวิตของตนเอง ตลอดจนการทำงาน ซึ่งรวมถึงการจัดการกับความเครียดได้อีกด้วย 

จัดเรียงลำดับความสำคัญของงาน
หากรู้จักวางแผนและเรียงลำดับความสำคัญของงานแต่ละชิ้น จะทำให้เราสามารถจัดการกับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การเริ่มทำงานที่มีความเร่งด่วนมากกว่าก่อน เป็นต้น ทั้งนี้ ยังช่วยป้องกันความสับสนที่เกิดจากการทำงานหลาย ๆ ชิ้นพร้อมกันได้อีกด้วย

เรียนรู้ที่จะปฏิเสธ
คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะไม่ปฏิเสธ เพราะรู้สึกว่าการปฏิเสธเป็นการแสดงถึงความไม่มีน้ำใจหรือไม่ให้ความช่วยเหลือ ส่งผลให้เราเกิดความกลัวว่าจะถูกคนอื่นมองไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว การปฏิเสธโดยการอธิบายให้อีกฝ่ายเข้าใจ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า เช่น ในการทำงาน หากเลือกปฏิเสธงานที่เราคิดว่าทำไม่ได้ พร้อมบอกเหตุผลไป ย่อมดีกว่าการรับงานชิ้นนั้นแล้วทำให้งานผิดพลาด ซึ่งจะทำให้ตกเป็นภาระของผู้อื่นในการแก้ไขงานต่อไป เป็นต้น 

อย่าเก็บความเครียดไว้คนเดียว
ความเครียดเป็นสิ่งที่ควรได้รับการระบายออกมา ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บความเครียดไว้คนเดียว โดยเราอาจปรึกษาเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัวกับคนใกล้ตัวหรือคนที่ไว้ใจ เช่น เพื่อนหรือคนในครอบครัวของเราได้

พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ
การพักผ่อนไม่เพียงส่งผลต่อความเครียดได้เช่นกัน ซึ่งเราสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยการนอนหลับอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ อาจพักผ่อนโดยการทำสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ เช่น การดูหนัง หรือการฟังเพลง เป็นต้น ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น มีสมาธิมากขึ้น และส่งผลให้จดจำในสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

ขอขอบที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท ,โรงพยาบาลรามาธิบดี ,โรงพยาบาลเพชรเวช

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

รู้จักและเข้าใจ โรค PTSD พร้อมแนะวิธีรับมือ หากมีเพื่อน คนรอบข้างป่วยโรคนี้

logoline