svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

ไข้หวัดแดดในเด็ก โรคเด็กหน้าร้อนที่ไม่ควรมองข้าม

03 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จับจุดอาการ “ไข้หวัดแดด” โรคเด็กหน้าร้อน แพทย์แนะผู้ปกครองดูแลสุขภาพบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการออกแดดจัด

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผยในฤดูร้อนนอกจากแสงแดดที่แรงแล้ว ยังมีเชื้อโรคที่แพร่ระบาด และทำให้ลูกเจ็บป่วยได้มากกว่าในฤดูอื่น แนะผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานของท่านอย่างใกล้ชิด

ไข้หวัดแดดในเด็ก โรคเด็กหน้าร้อนที่ไม่ควรมองข้าม

โดยในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่พ้นจากการเจอแสงแดด อากาศร้อน และการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งเด็กๆ มีภูมิต้านทานไม่มากนักจึงมักเจ็บป่วยได้ง่าย ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจสุขภาพของบุตรหลาน หมั่นสังเกตอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น และหากพบความผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคไข้แดดเกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ในช่วงหน้าร้อน ซึ่งอุณหภูมิภายนอกสูง อาการแสดงของโรค ถูกกระตุ้นจากอากาศที่ร้อน ร่วมกับการรับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ร่างกาย อาจมีอาการไข้สูงอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัว บางรายอาจมีตาแดง กระหายน้ำเหงื่อออกมากและผิวแดง ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในเด็ก เนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จนอาจทำให้เด็กมีอาการไข้แดดได้ง่ายเมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อนมีแดดจัดหรืออยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก นอกจากนี้ เด็กเป็นช่วงวัยที่ต้องการออกไปเรียนรู้ เล่นสนุก และใช้พละกำลังในการขยับร่างกายมาก จึงอาจทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะหากต้องเล่นอยู่ในสภาพอากาศร้อนจัด มีแดดจัด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการของไข้แดดได้เช่นกัน

ไข้หวัดแดดในเด็ก โรคเด็กหน้าร้อนที่ไม่ควรมองข้าม

จับจุดอาการ “ไข้หวัดแดดในเด็ก” ขั้นอันตราย

หากเด็กมีอาการของไข้แดดที่รุนแรงหรืออาจมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบพบคุณหมอทันที

  • คลื่นไส้และอาเจียนจนไม่สามารถดื่มน้ำได้
  • อาการขาดน้ำ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปัสสาวะสีเข้ม ปากแห้ง
  • หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ไม่มีเหงื่อออก ชัก หมดสติ
  • กล้ามเนื้อเป็นตะคริวนานกว่า 4 ชั่วโมง
  • มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • วิงเวียนศีรษะนานกว่า 2 ชั่วโมง หลังจากดื่มน้ำเพิ่มขึ้นแล้ว

วิธีการดูแลป้องกัน

1. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ เด็กๆ ต้องนอนอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง  

2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาดต่อวันให้เพียงพอเพื่อลดการสูญเสียน้ำจากเหงื่อที่เสียไปในฤดูร้อน

3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ หรือพกเจลล้างมือติดตัวเพื่อสะดวกในการล้างมือ 

4. ออกกำลังกายเป็นประจำ

5. พยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปใกล้ชิดปะปนกับคนที่เป็นหวัด ไอ น้ำมูก เพื่อลดโอกาสการรับเชื้อ

6. คุณพ่อคุณแม่หมั่นทำความสะอาดบ้าน ของเล่นที่ลูกใช้อยู่เป็นประจำเพื่อลดการสะสมเชื้อโรค

7. ไม่เข้าไป
ในสถานที่ที่มีคนอยู่แออัด ระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดีเช่น ตลาดนัด โรงภาพยนตร์

8. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้แก่เด็ก โดยเริ่มฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนเป็นต้นไปและฉีดกระตุ้นซ้ำทุกปี

ดังนั้น เด็กๆ จึงควรหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดด หรืออยู่ในสถานที่อากาศร้อนจัด

 

logoline