svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

รู้จัก วัณโรคปอด อาการเป็นอย่างไร น่ากลัวขนาดไหน เพื่อพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ 

25 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ก้าวทันโรค ท้าวทันโลก ไปกับ เนชั่นออนไลน์ ทำความรู้จักวัณโรคปอด อาการเป็นอย่างไร มีความน่ากลัวขนาดไหน และจะต้องทำยังไงไม่ให้แพร่เชื้อ อ่านรายละเอียดได้ตรงนี้ 

"แพทย์เตือน ผู้ป่วยวัณโรค อย่าหยุดยาเอง เหตุอาจทำให้เชื้อดื้อยา"

ก้าวทันโรค ท้าวทันโลก ไปกับ เนชั่นออนไลน์ ทำความรู้จักวัณโรคปอด อาการเป็นอย่างไร มีความน่ากลัวขนาดไหน และจะต้องทำยังไงไม่ให้แพร่เชื้อ อ่านรายละเอียดได้ตรงนี้

วัณโรคปอดอาการอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ ทำยังไงไม่ให้แพร่เชื้อเป็นคำถามที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

จะชวนคนไทย สายสุขภาพ ไปพบคำตอบในเรื่องร้อนๆ เช่นนี้ ต่อเนื่องจาก "วันวัณโรค" ที่ผ่านมา เมื่อ 24 มีนาคม นี่เอง
 

สำหรับประเด็นนี้ ทางด้าน นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า วัณโรค เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Mycobacterium tuberculosis สามารถเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น 

อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอด ซึ่งแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญคือ เมื่อผู้ป่วยเป็นวัณโรคปอด ไอ จาม ถ่มน้ำลาย และขากเสมหะ ละอองเสมหะขนาดเล็กที่ถูกขับออกมาจะกระจายสู่อากาศและลอยค้างอยู่หลายชั่วโมง และเมื่อผู้อื่นหายใจรับเชื้อเข้าไปก็จะเกิดการติดเชื้อได้

ขณะที่ นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ป่วย "วัณโรคปอด" มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ ได้แก่ 

  • ไอติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ 
  • มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายๆ หรือตอนเย็น 
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด 
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน แต่ผู้ป่วยบางรายในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการของโรค 

วัณโรค เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการรับประทานยาต้านวัณโรคตามคำสั่งแพทย์ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ในกรณีที่ไม่มีการแพ้ยา หรือดื้อยารักษาวัณโรค ที่สำคัญ คือ ห้ามหยุดรับประทานยาเองโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดวัณโรคชนิดดื้อยาได้

รู้จัก วัณโรคปอด อาการเป็นอย่างไร น่ากลัวขนาดไหน เพื่อพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ 

รู้จัก วัณโรคปอด อาการเป็นอย่างไร น่ากลัวขนาดไหน เพื่อพร้อมรับมือทุกสถานการณ์   

รู้จัก วัณโรคปอด อาการเป็นอย่างไร น่ากลัวขนาดไหน เพื่อพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ 

ควรไปตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง รวมทั้งผู้ป่วยควรสังเกตอาการตนเองหลังรับประทานยา หากพบว่ามีอาการแสดงว่าแพ้ยา อาทิ มีผื่นแพ้ยา คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง ตาเหลือง เมื่อมีอาการต่อไปนี้ ให้พบแพทย์โดยเร็ว 

เผยวิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปให้ผู้อื่น มีรายละเอียดดังนี้  

  • สวมใส่หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น และเมื่อมีอาการไอ หรือ จาม 
  • บ้วนเสมหะลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และ กำจัดขยะติดเชื้อที่มีการปนเปื้อนเชื้อวัณโรค อาทิ หน้ากากอนามัย หรือกระดาษชำระที่ใช้ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม ทิ้งใส่ถุงพลาสติกและมัดปากถุงให้แน่น นำไปทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด หรือนำไปเผาไฟทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 
  • ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนการรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ 
  • ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนแออัด การคลุกคลีใกล้ชิดกับบุคคลในครอบครัว ควรแยกห้องนอน ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และแยกการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น 
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • จิบหรือดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อละลายเสมหะ และบรรเทาอาการไอ โดยหลีกเลี่ยงน้ำเย็นหากยังมีอาการไอ 
  • ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน 
  • ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี แสงแดดส่องถึง มั่นนำเครื่องนอน อาทิ หมอน มุ้ง ไปตากแดด เพื่อให้แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อวัณโรค 
  • ควรงดการสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน ควรรับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล และเอกซเรย์ช่วงทรวงอกเพื่อคัดกรองว่ามีการติดเชื้อวัณโรค หรือเป็นภาวะวัณโรคแฝง

นอกจากนี้ ทางด้าน "หมออร" ได้เขียนบทความระบุว่า “วัณโรคปอด” ภัยเงียบแพร่เชื้อง่าย

รู้จัก วัณโรคปอด อาการเป็นอย่างไร น่ากลัวขนาดไหน เพื่อพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ 
วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส” ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางอากาศได้ด้วยการหายใจ การจาม การไอ หรือการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งวัณโรคสามารถเกิดได้ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ 80% พบที่ปอด เนื่องจากเชื้อติดต่อผ่านทางลมหายใจจึงทำให้เชื้อเข้าไปฝังตัวที่ปอดเป็นอวัยวะแรกของร่างกาย และเชื้อนี้ยังสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง จึงเป็นเหตุทำให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายอ่อนแอ รวมทั้งเด็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย

อาการของวัณโรค
ระยะแฝง (Latent TB)  เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ภายใน 2 – 8 สัปดาห์ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะทำหน้าที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโรค จึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง คือมีเชื้ออยู่ในร่างกาย แต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ90%ที่เชื้อโรคอาจจะอยู่ในระยะนี้เป็นเวลาหลายสิบปี หรือตลอดทั้งชีวิตเลย โดยไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมี 10%ของวัณโรคระยะแฝงที่รอจังหวะเมื่อร่างกายเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกำจัดหรือควบคุมเชื้อได้ เชื้อวัณโรคจะแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงก็จะกลายเป็นผู้ป่วยวัณโรค แต่หากผู้ป่วยมีการตรวจพบเจอเชื้อในช่วงระยะแฝง แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ

รู้จัก วัณโรคปอด อาการเป็นอย่างไร น่ากลัวขนาดไหน เพื่อพร้อมรับมือทุกสถานการณ์   

ระยะแสดงอาการ (Active TB) เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งมีเพียง 10%ของผู้ที่ได้รับเชื้อเท่านั้น โดย 5% จะป่วยเป็นวัณโรคภายใน 2 ปี ส่วนอีก 5% จะป่วยเป็นวัณโรคหลังจาก 2 ปีไปแล้ว ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาก็จะหายขาดจากโรคได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยร้อยละ 50-65 จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี

อาการที่ปรากฎให้เห็นได้ชัดเจน ได้แก่

1. ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ทั้งแบบไอแห้งๆ ไอมีเสมหะ หรือไอมีเสมหะปนเลือด
2. มีไข้ต่ำๆ ช่วงบ่ายหรือค่ำ
3. เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงผิดปกติ
4. เหงื่อออกมากผิดปกติช่วงกลางคืน
5. เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ

การรักษาวัณโรค
ทำได้ด้วยการรับประทานยาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการดูแลสุขภาพ ระยะเวลารักษา 6-8 เดือน ยาฟรีตามสิทธิ์การรักษา เป็นแล้วก็เป็นอีกได้ ควรกินยาให้ครบตามกำหนด ถ้ากินยาไม่ครบมีโอกาสดื้อยา หากมีอาการดื้อยาระยะการรักษาจะนานขึ้นและต้องเสียค่ายาที่แพง รู้เร็ว รักษาหาย ก็ไม่เกิดการแพร่กระจาย

ทำอย่างไรให้ห่างไกล "วัณโรค"

  1. เตรียมร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อสร้างภูมิต้านทานในการกำจัดเชื้อ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  2. ตรวจสุขภาพประจำปี
  3. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค

สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีผู้คนแออัด หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เพราะสถิติระบุว่าผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในระยะลุกลามและแพร่เชื้อ 1 คน ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ถึงปีละ 10-15 คน ค่ะ

ขอขอบคุณที่มา: หมออร 

รู้จัก วัณโรคปอด อาการเป็นอย่างไร น่ากลัวขนาดไหน เพื่อพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ 
 

logoline