ในช่วง“ฤดูร้อน”ของทุกปี ไม่เพียงอากาศเที่ร้อนระอุเท่านั้น เรามักพบเจอการเจ็บไข้ได้ป่วยกันง่ายขึ้น ทั้งอากาศร้อนจนเป็นลมแดด รวมทั้งการป่วยจากน้ำดื่มและอาหารที่ไม่สะอาด เนื่องจากอากาศร้อนทำให้อาหารเสียง่าย ส่งผลโรคร้ายทยอยกันมาให้เห็น โดยเฉพาะโรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ เป็นภัยสุขภาพที่ต้องระวัง
“ฮีทสโตรก” อาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในช่วงหน้าร้อน
“โรคลมแดด” หรือ “ฮีทสโตรก” ( Heatstroke ) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อาการของ “ฮีทสโตรก” เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป โดยร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน เพราะมีการสูญเสียน้ำจากร่างกายออกไปทางเหงื่อเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยจะมีอาการ ซึม ชัก หรือเซลล์ของอวัยวะทำงานผิดปกติ
อาการของโรคลมแดด
การป้องกันโรคลมแดด
หากพบผู้มี “อาการโรคลมแดด” ขอให้รีบนำเข้าที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค ออกโรงเตือนในหน้าร้อนทุกปี สำหรับโรคที่มากับหน้าร้อน โดยออกประกาศการป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้อย่างถูกต้อง
สำหรับ โรคหน้าร้อน และ ภัยสุขภาพ ที่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในฤดูร้อน กรมควบคุมโรค แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
สำหรับในกลุ่มที่ 1 โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำดื่ม แบ่งออกได้เป็น 5 โรค ประกอบด้วย
1. โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค พบได้ในทุกกลุ่มวัย ผู้ป่วยจะถ่ายเหลว อาเจียน ส่วนใหญ่มักหายได้เอง
2. ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระหรือปัสสาวะของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยมากกว่า 1 สัปดาห์ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องผูก หรือมีผื่นขึ้นตามลำตัว
3. โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษหรือสารเคมี มักพบในพืชและสัตว์ เช่น เห็ด และอาหารทะเลต่างๆ อาการป่วยจะขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสารพิษที่ได้รับ ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยจะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจอาเจียนและท้องเสียจนร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงได้
4. อหิวาตกโรค ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ ส่วนใหญ่มีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้อาเจียน
5. โรคไวรัสตับอักเสบเอ เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ การใช้เข็มฉีดยาและการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันของตับ
อาการของโรคไวรัสตับอีกเสบเอ มีตั้งแต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการอักเสบเล็กน้อยถึงขั้นตับอักเสบรุนแรง โดยทั่วไปจะมีไข้อ่อนๆ เหนื่อยล้า ปวดหัว ท้องผูก ปวดบริเวณท้องขวาบน ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อ ปัสสาวะสีเข้ม ตาและตัวเหลือง และสามารถหายขาดได้
สำหรับแนวทางการป้องกันโรคทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ การยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” นอกจากนี้ ต้องดื่มน้ำที่สะอาด น้ำต้มสุก หรือน้ำที่บรรจุในขวดที่มีฝาปิดสนิท
สำหรับกลุ่มที่ 2 กรมควบคุมโรค ระบุถึง "ภัยสุขภาพ" แบ่งได้ 3 เรื่อง ได้แก่
1. การเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน สภาพอากาศที่ร้อนจัดจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน การป้องกันคือ งดออกกำลังกายหรือทำงานกลางแดดเป็นเวลานาน ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว สวมเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดี
2. ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน ประชาชนมีความเสี่ยงที่จะป่วยโรคทางเดินหายใจ การป้องกันคือ ปิดประตูหน้าต่างบ้านให้มิดชิด ทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ สวมหน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ เช่น N95 และไม่เผาขยะ ไม่เผาป่า ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
3. การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจมน้ำ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพังที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ การป้องกันคือ ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด และควรจัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น สร้างรั้ว ติดป้ายคำเตือน จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยงสำหรับการช่วยเหลือ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพบเห็นคนตกน้ำ ให้รีบโทรแจ้ง 1669 และหาอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้หรือเสื้อชูชีพ โยนให้คนที่ตกน้ำจับพยุงตัว เป็นต้น
โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ
โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก
โรคบิด
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคผิวหนัง
โรคเครียด
สำหรับการป้องกันและดูแลสุขภาพ จาก "โรคหน้าร้อน" สามารถปฏิบัติตัวป้องกันได้ไม่ยาก ดังนี้
อ้างอิง : ข้อมูลจาก