svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

กรมอนามัย เตือนกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่

06 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ค่าฝุ่นวันนี้ (6 มีนาคม 2566) ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่ "ภาคเหนือ-กทม. และปริมณฑล" แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยง พร้อมรับมือและติดตามรายงานสถานการณ์ ฝุ่นอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยของคนที่คุณรักและตัวคุณเอง

ค่าฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มสูงในหลายพื้นที่ หลังจากที่ กรมอนามัย และ GISTDA เปิดเผยข้อมูล จากการเฝ้าระวังและสื่อสารแจ้งเตือนประชาชนล่าสุดจากการตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่นละอองในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยใช้แอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น" ที่ GISTDA พัฒนาขึ้นด้วยการนำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ในการติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง

ในภาพรวมของประเทศ มีค่า PM2.5 สูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือเกือบทั้งหมดมีค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม (เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ) และสีแดง (ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ) ทั้งยัง พบว่า จะมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก

ทั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์สถานการณ์ PM2.5 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 - 6 มีนาคม 2566 นี้หลายพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คือ ในพื้นที่ภาคเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรมอนามัย เตือนกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่ กรมอนามัย เตือนกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่

กรมอนามัย เตือนกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่ กรมอนามัย เตือนกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่

กรมอนามัย เตือนกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 มีนาคม 2566 ณ 07.00 น สรุปดังนี้

ภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานในพื้นที่ดังต่อไปนี้ 

จ.ปทุมธานี กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.พะเยา จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.ตาก จ.พิษณุโลก จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.สระบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ปราจีนบุรี จ.สระแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา จ.ตราด จ.หนองคาย จ.เลย และ จ.นครพนม

กรมอนามัย เตือนกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่

ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 53-132 มคก./ลบ.ม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 32-78 มคก./ลบ.ม.

ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 6 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 32-68 มคก./ลบ.ม.

ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 40-57 มคก./ลบ.ม.

ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 16-33 มคก./ลบ.ม.

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 41-77 มคก./ลบ.ม.

กรมอนามัย เตือนกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่ คำแนะนำทางสุขภาพประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์

สำหรับประชาชน​ที่อยู่​บริเวณพื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ​ (พื้นที่สีแดง)​ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

ปัจจัยหลักที่ทำให้ค่า PM2.5 สูงขึ้น มาจากพื้นที่เผาไหม้หรือจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนที่ตรวจพบจากดาวเทียม ซูโอมิเอ็นพีพี

ทั้งนี้ กรมอนามัย ให้ความสำคัญกับการดูแลและป้องกันสุขภาพของประชาชน เนื่องจากเมื่อรับสัมผัส PM2.5 เข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอาการตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้แก่

โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด


โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ อาจมีอาการกำเริบและเสี่ยงที่จะมีอาการทรุดหนักได้ ขอแนะนำให้ประชาชนตรวจเช็กค่าฝุ่นและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

1.กรณีค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม หรือมีค่า 51 – 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ประชาชนทั่วไป

  • ควรลดหรือจำกัดการทำกิจกรรมนอกอาคาร เปลี่ยนมาออกกำลังกายในอาคาร
  • สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นเมื่อออกนอกอาคาร
  • ผู้มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม
     

2.กรณีค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีแดง หรือ มีค่า 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป

ประชาชนทั่วไป

  • ควรลดหรืองดการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายนอกอาคาร เปลี่ยนมาออกกำลังกายในอาคาร
  • สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นเมื่อออกนอกอาคารทุกครั้ง

กลุ่มเสี่ยง

  • ให้งดออกนอกอาคาร
  • ผู้มีโรคประจำตัวควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างน้อย 5 วัน

กรมอนามัย เตือนกลุ่มเสี่ยง เฝ้าระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงหลายพื้นที่

ประชาชนควรเฝ้าระวังตนเองด้วยการประเมินอาการจากการรับสัมผัส PM2.5 พร้อมรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ "4HealthPM2.5" หรือ เว็บไซต์ "คลินิกมลพิษออนไลน์" และหากมีอาการรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หายใจมีเสียงหวีดให้รีบไปพบแพทย์

logoline