svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

จริงหรือไม่? เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยแม่ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

25 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สืบค้นงานวิจัยพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งเต้านมที่ลดลงเพราะอะไร แล้วควรให้นมลูกนานแค่ไหนมีคำตอบ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์มากมาย เพราะในน้ำนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด ช่วยในเรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ และทำให้ลูกมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อีกประโยชน์ที่หลายคนคาดไม่ถึงคือแค่ให้ลูกกินนมจากเต้านมแม่ก็ช่วยต้านมะเร็งเต้านมแล้ว เพราะการให้ลูกดูดนมแม่จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมของแม่ได้

โดยผลวิจัยจากสถาบันวิจัยมะเร็งในประเทศอังกฤษพบว่า ถ้าแม่ให้นมลูกจนครบ 6 เดือน โอกาสที่แม่จะเป็มะเร็งเต้านมเมื่ออายุมากขึ้นนั้นจะลดลงจาก 6.3% เป็น 2.7% เลยทีเดียว

 

จริงหรือไม่? เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยแม่ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

งานวิจัยโดยนักวิจัยสถาบันแซงเกอร์ ในเมืองเคมบริดจ์ ของอังกฤษ พบยีนกลายพันธุ์ 93 ยีน เป็นตัวการก่อมะเร็งเต้านม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาความผิดปกติในดีเอ็นเอของมนุษย์ที่ทำให้เนื้อเยื่อสุขภาพดีกลายเป็นเนื้อร้าย ซึ่งจากการวิเคราะห์ยีนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 560 ราย พบว่ามียีน 93 ยีนที่หากกลายพันธุ์ขึ้น จะเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งจากการค้นพบครั้งนี้ก็จะนำไปสู่การพัฒนายารักษาและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมต่อไป

ทำไมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงช่วยให้แม่ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

1 เซลล์ต่อมน้ำนมจะทำหน้าที่สร้างน้ำนมเป็นหลัก โดยมักจะไม่กลายตัวเป็นเซลล์มะเร็ง

2 แม่ที่ให้นมลูกอย่างสม่ำเสมอจะไม่มีประจำเดือนในช่วงที่ให้นม ทำให้ร่างกายมีโอกาสถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง

3 แม่ที่ให้นมลูกมักจะกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น แน่นอนว่าถ้าหากเราลดอัตราการป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้ นอกจากจะได้สุขภาพร่างกายที่ดีแล้ว เรายังจะช่วยประเทศชาติประหยัดงบประมาณที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอีกด้วย

 

จริงหรือไม่? เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยแม่ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

บทสรุปที่ว่าลูกกินนมแม่ช่วยให้แม่ลดการเกิดมะเร็งเต้านม

สำหรับประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ส้มพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งเต้านมที่ลดลง ทั้งในคุณแม่วัยก่อนหมดประจำเดือน และวัยหลังหมดประจำเดือน เหตุผลสนับสนุนก็คือ ช่วงเวลาที่มีการให้นม แม่จะมีความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยระดับฮอร์โมนเสโตรจจะมีปริมาณลดลง การที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงชั่วคราวในช่วงที่ให้นมลูก จะช่วยลดการกระตุ้นชลล์ของต้านมให้แบ่งตัวและเจริญเติบโตชั่วคราว ความเสี่ยงในการที่เชลล์เหล่านั้นจะเจริญเติบโตผิดรูปไปเป็นเชลล์มะเร็งจึงลดลง

และยิ่งให้นมในระยะเวลาที่มากขึ้น ก็ยิ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมที่น้อยลงไปด้วย มีงานวิจัยที่พบว่าทุกๆ 12 เดือนของการให้นมลูก ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมจะลดลง 4.3% โดยที่ 12 เดือนนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการเลี้ยงลูกคนเดียว หากคุณม่มีลูก 2 คน นับช่วงเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมกัน 2 คนให้ครบ 12 เดือนก็ได้ประโยชน์ และยิ่งให้นานกว่า 12 เดือน ก็จะยิ่งเห็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

สำหรับประโยชน์ต่อตัวลูกก็มีเช่นกันในทางอ้อม เราพบว่ากรให้นมลูกสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวและปริมาณขมันในตัวลูกที่น้อยกว่าลูกที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยนมแม่ในระยะยาว การมีไขมันสะสมในร่างกาย ในปริมาณที่มากเกินไปสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร ฯลฯ ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมไขมันในร่างกายแต่เนิ่นๆ ด้วยการให้นมลูก จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจช่วยลดการเกิดมะเร็งได้ในทางอ้อม

แล้วควรให้นมลูกนานแค่ไหนดี?

ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก แนะนำว่าในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทารกไม่ควรได้รับอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ แม้กระทั่งน้ำดื่มนะคะ เพราะปริมาณน้ำในนมแม่เพียงพอสำหรับความต้องการของลูก หลังจาก 6 เดือนแล้วจึงเริ่มให้มื้ออาหารเสริมเพื่อให้ลูกได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอสำหรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตค แต่นั่นไม่ได้หมายความว่านมแม่หมดประโยชน์ คุณแม่ยังสามรถให้นมแม่ต่อไปได้ตราบเท่าที่ต้องการค่ นมแม่ยังคงมีประโยชน์สำหรับลูกอยู่เสมอ หากมีปริมาณมแม่ที่เพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมาเป็นผลิตภัณฑ์มผสมแต่อย่างใด

 

 

logoline