svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

ไทยพร้อมขับเคลื่อน SDGs ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชูนโยบายเศรษฐกิจ BCG

เศรษฐา ทวีสิน ประกาศความมุ่งมั่นของไทยในที่ประชุม UNGA78 SDG Summit 2023 พร้อมขับเคลื่อน SDGs สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 40% บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนใน 17 ปี พร้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2608

เป้าหมายความยั่งยืนของประเทศไทยในเวทีโลก จากถ้อยแถลง ณ ที่ประชุม UNGA78 SDG Summit 2023 ในมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี 2023 (Sustainable Development Goals (SDG) Summit 2023) ซึ่งถือเป็นการกล่าวถ้อยแถลงครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีที่องค์การสหประชาชาติ (UN) ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังคงเน้นย้ำเจตนารมณ์ในการให้ความสำคัญที่จะดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

ไทยพร้อมขับเคลื่อน SDGs ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชูนโยบายเศรษฐกิจ BCG

สำหรับความร่วมมือของทุกประเทศในการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ของสหประชาชาติ ได้เผชิญกับความท้าทายร่วมกันมาถึงในช่วงครึ่งทางของวาระดังกล่าว และในทศวรรษนี้ สหประชาชาติได้กำหนดให้ทศวรรษนี้เป็นทศวรรษแห่งการลงมือทำ (Decade of Action) พร้อมทั้งยังสนับสนุนกรอบความร่วมมือพหุภาคีที่มีประสิทธิภาพ และสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนการจัดสรรแหล่งทรัพยากรและเงินทุน การลดช่องว่างทางการเงิน รวมถึงสรรหานวัตกรรมเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ทุกประเทศสามารถรับมือกับความท้าทายและการร่วมกันขับเคลื่อน SDGs ได้อย่างเป็นรูปธรรม

แนวทางการขับเคลื่อน SDGs ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-BCG

 

นายเศรษฐา ทวีสิน ได้โพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊กส่วนตัว ถึงคำแถลงแรก ณ Trusteeship Council Chamber สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ ในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี ค.ศ. 2023 (Sustainable Development Goals (SDG) Summit 2023) เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) 

ไทยพร้อมขับเคลื่อน SDGs ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชูนโยบายเศรษฐกิจ BCG

...คำแถลงแรก ณ ที่ประชุม #UNGA78 SDG Summit 2023 เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการบรรลุ "เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน" #SDGs และการมุ่งสู่เป้าหมาย ดังนี้

1. ภายในทศวรรษนี้ เราตั้งใจสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เข้มแข็ง รัฐบาลของผมจะมีบทบาทเชิงรุกที่สร้างสรรค์บนเวทีโลก ผ่านความร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อเสริมสร้างระบบพหุภาคีที่สามารถก้าวข้ามความท้าทายที่จะบรรลุถึงเป้าหมาย

2. ประชาคมระหว่างประเทศต้องสรรหาแหล่งเงินทุน จัดการกับช่องว่างด้านเงินทุนสำหรับ SDG เพิ่มการลงทุนเพื่อบรรลุ SDG และแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ รวมถึงพันธบัตรสีเขียวและผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล

3. สร้างความเสมอภาคในระบบการเงินระหว่างประเทศ ดังนั้น ไทยจึงสนับสนุนข้อเรียกร้องของเลขาธิการ UN ให้มีการปฏิรูปและอัดฉีดเงินทุนกระตุ้น SDG 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจนถึงปี 2573

4. ในระดับชาติ ไทยได้ออกพันธบัตรสีเขียว (Green Bond) 2 ชุด ซึ่งช่วยระดมเงินทุนได้ถึง 12,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อการลงทุนลดก๊าซเรือนกระจกและเพื่อสังคม รวมทั้งได้จัดทำมาตรฐานสำหรับการประเมินการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

5. บริษัทในไทยกว่า 100 บริษัทที่อยู่ใน Global Compact Network Thailand ได้ให้คำมั่นว่าจะลงทุนมูลค่า 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการที่เกี่ยวข้องกับ SDG ภายในปี 2573

6. ในปีหน้า เราตั้งเป้าจะออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อกระตุ้นการเติบโตของตลาดพันธบัตรสีเขียว โดยเพิ่มแรงจูงใจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อบรรลุ SDG

ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลของผมให้คำมั่นที่จะลดความเหลื่อมล้ำจากรุ่นสู่รุ่น ภายในปี 2573 รวมทั้งจัดให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้เหลือต่ำกว่า 0.25% ในด้านสิ่งแวดล้อม เรามีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 40% ภายในปี 2583 เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2583 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0 ภายในปี 2608

ไทยพร้อมขับเคลื่อน SDGs ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชูนโยบายเศรษฐกิจ BCG

ตอกย้ำจุดยืนและวิสัยทัศน์

ล่าสุด เช้าวันนี้ (21 ก.ย. 2566) นายเศรษฐา ทวีสิน ได้โพสต์ขอความบนเฟสบุ๊กส่วนตัว ความว่า ... ตามที่ผมได้ให้คำมั่นในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน #SDG ไป วันนี้ ผมได้แสดงจุดยืนและวิสัยทัศน์อีกหลายหลายเวทีภายใต้กรอบ #UNGA78 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในระดับภูมิภาคและระดับโลก ประกอบด้วย

1. การหารือ High-level Dialogue on Financing for Development ซึ่งผมย้ำการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศด้านภาษีและส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อ SDG อย่างเสมอภาค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนด้วย

2. Climate Ambition Summit หลังจากที่ได้พูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผมคิดว่าไทยต้องมุ่งสู่เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมให้เข้มข้นยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลจะปรับแผนพลังงานชาติเพื่อให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการผลิตและใช้ EV ปรับวิธีทำการเกษตรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเตรียมร่างกฎหมายรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3. การประชุมคู่ขนานในกรอบ #SDGSummit ซึ่งไทยเป็นผู้ประสานงานของอาเซียนในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนเพื่อเปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้สอดคล้องกันทั้งภูมิภาค ไทยจึงมีแผนร่วมมือกับมิตรประเทศในอาเซียนจัดทำ ‘ASEAN Green Agenda’ เพื่อเป็นแนวทางหลักสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาอาเซียนให้กลายมาเป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเป็นจุดเชื่อมโยงหลักในห่วงโซ่อุปทานโลก

รัฐบาลไทยพร้อมดำเนินการตามวิสัยทัศน์เหล่านี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ผ่านการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปรับโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ และเร่งพัฒนาความร่วมมือ SDG ในกรอบอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน