svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

ไขข้อสงสัย หลอดกระดาษรักษ์โลก จริงหรือไม่จริง ประเด็นร้อนคาใจคนรักษ์โลก  

18 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลอดกระดาษถือเป็นหลอดรักษ์โลก แต่ผู้ใช้หลายๆ คน ก็ไม่ได้นิยมหรือสะดวกใจที่จะใช้ เนื่องจาก พอเราใช้ดื่มรสชาติของกระดาษก็ติดมากับเครื่องดื่มของเราด้วย แม้จะย่อยสลายได้ แต่หลายคนก็ยังหลีกเลี่ยง ไขข้อสงสัย หลอดกระดาษรักษ์โลก จริงหรือไม่จริง ประเด็นร้อนในโลกวันนี้  

ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันไปมา ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของหลอดกระดาษ

แม้ยังมีอีกหลายคนไม่นิยมใช้หลอดกระดาษในการดื่มเครื่องดื่มอยู่แล้ว เนื่องจากทำรสชาติเครื่องดื่มเสียและเหี่ยวง่าย แต่ก็ยังมีอีกหลายรายโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจมองว่า หลอดกระดาษย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติและตามกระแสรณรงค์ลดโลกร้อน ดังนั้น มันก็ต้องรักษ์โลกสิ จริงไหม?

ไขข้อสงสัย หลอดกระดาษรักษ์โลก จริงหรือไม่จริง ประเด็นร้อนคาใจคนรักษ์โลก  

แต่ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะหลอดกระดาษ หลอดพลาสติก หรือหลอดไหน ๆ ก็ไม่ได้รักษ์โลกอย่างที่คิด ซ้ำร้ายอาจอันตรายต่อมนุษย์เราเองด้วย ทำไมจึงเป็นแบบนั้น? แต่ก่อนอื่นเลย เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ชวนคนรักษ์โลก ไปส่องดูข้อเสียของหลอดพลาสติกที่ใช้หลากหลาย กับหลอดกระดาษที่มักมองว่ารักษ์โลก ว่าทำไม หลอดทั้ง 2 ประเภทถึงไม่รักษ์โลก และเราไม่ควรใช้

ข้อเสียของหลอดพลาสติก
แน่นอน เรารู้ดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของหลอดพลาสติกมันแสดงให้เราเห็นได้เด่นชัดมาก จากปริมาณขยะทั้งบนบกและในทะเล หลอดพลาสติก ขึ้นชื่อว่าพลาสติก ย่อมใช้เวลาย่อยสลายนานและยาก ซึ่งใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติมากถึง 400-450 ปี และในแต่ละปี เราจะพบขยะหลอดพลาสติกในทะเลมากกว่า 2,000 ตัน


ไขข้อสงสัย หลอดกระดาษรักษ์โลก จริงหรือไม่จริง ประเด็นร้อนคาใจคนรักษ์โลก  
เราใช้หลอดพลาสติกดูดเครื่องดื่มเพียงไม่กี่นาทีและทิ้งลงถังขยะไป เมื่อหลอดพลาสติกถูกทิ้งบ้างก็ไหลลงแม่น้ำ มีน้อยมากที่จะถูกคัดไปยังการรีไซเคิล หลอดที่ถูกปะปนในธรรมชาติจะยังคงอยู่ตลอดไปจนถึงอายุขัย แต่ระหว่างทางอาจถูกสัตว์น้ำเผลอกินเข้าไปและอาจแตกจนละเอียดกลายเป็นไมโครพลาสติก อันตรายต่อสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม และต่อมนุษย์เราเองด้วย!!

ข้อเสียของหลอดกระดาษ
ความเข้าใจของหลายคน หลอดกระดาษเป็นหลอดรักษ์โลก แต่ผู้ใช้หลายคน ก็ไม่ได้ชื่นชอบหรือสะดวกที่จะใช้ เนื่องจาก พอเราใช้ดื่ม รสชาติของกระดาษก็ติดมากับเครื่องดื่มของเราด้วย แม้จะย่อยสลายได้ แต่หลายคนก็ยังหลีกเลี่ยง
มากไปกว่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Additatives and Contaminants ว่านักวิทย์พบสารเคมีอมตะ หรือ forever chamicals ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่ย่อยสลายในสิ่งแวดล้อม ในหลอดกระดาษ ประมาณ 18-20 แบรนด์ในท้องตลาด เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์

 

ไขข้อสงสัย หลอดกระดาษรักษ์โลก จริงหรือไม่จริง ประเด็นร้อนคาใจคนรักษ์โลก  
ไม่เพียงแค่หลอดกระดาษเท่านั้น จากการสุ่มตรวจสอบ นักวิทย์พบสาร PFAS หนึ่งในสารเคมีอมตะในหลอดประเภทอื่น ๆ ด้วย โดยพบในหลอดกระดาษมากถึง 90% หลอดไม้ไผ่ 80% หลอดพลาสติก 75% หลอดแก้ว 40% ยกเว้นหลอดที่ทำจากสเตนเลส ที่ไม่พบสารเคมีชนิดนี้

สรุปแล้วเรายังควรใช้หลอดอยู่ไหม?
ไม่ เราไม่ควรใช้หลอดเลย ถ้าเป็นไปได้ แต่เมื่อโลกยุคปัจจุบัน หลอดอยู่ทุกที่ ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงมาก ๆ สำหรับบางคน ดังนั้น ก็ขอแนะนำว่าไม่ใช้หลอดเลยจะดีที่สุด เราสามารถเห็นการปรับตัวเรื่องนี้ได้จากแก้วพลาสติกร้านคาเฟ่ต่าง ๆ ที่ออกแบบให้แก้วมีช่องที่กว้างพอจะให้เรายกดื่มได้ ซึ่งก็จะช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องขอหลอดเพื่อดื่มน้ำ

ไขข้อสงสัย หลอดกระดาษรักษ์โลก จริงหรือไม่จริง ประเด็นร้อนคาใจคนรักษ์โลก  
แต่ด้วยความเคยชิน หลายคนก็ยังอยากใช้หลอดอยู่ กลัวว่าฝาแก้วสำหรับยกดื่มจะหลุดและหกเลอะเสื้อ เราก็แนะนำว่า ลองพกหลอดส่วนตัวดูไหม สามารถใช้ซ้ำได้ ล้างได้ ก็จะแก้ขัดได้เหมือนกัน หรือในสเต็ปถัดมาคือ การพกแก้วส่วนตัวไปทุกที่ที่เราไปนั่นเอง นอกจากจะลดขยะพลาสติกหลอดแล้ว ยังลดขยะพลาสติกแก้วและฝาแก้วพลาสติกได้ด้วย เมื่อเราใช้พลาสติกกันน้อยลง ขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมก็จะลดลงตามไปนั่นเอง

logoline