เชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังลดลงอย่างถาวร!
เป็นที่รู้กับดีว่าพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ซึ่งมนุษย์ใช้กันมานับร้อยๆ ปี ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภูมิอากาศของโลก ทำให้เกิดปัญหา Climate Change ซึ่งการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาและเข้าไปปกคลุมชั้นบรรยากาศของโลก ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ปัจจุบัน พลังงานหมุนเวียนกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากทั่วโลกและทุกภาคส่วนรวมถึงภาคประชาชนหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานจากคลื่นน้ำ โดยเฉพาะการผลิตพลังงานจากโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการคมนาคมที่หันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
Fatih Birol ผู้อำนวยการของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ เผยว่า
พลังงานหมุนเวียน อย่าง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ซึ่งนับว่าเป็นข่าวดีที่ความต้องการน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินจะพีคไปถึงปี 2030 จากนั้นก็จะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ โดยที่ไม่กลับมาสูงขึ้น
พลังงานหมุนเวียน จึงเป็นอีกหนทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) กล่าวว่า โลกกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลคาดว่าน่าจะเริ่มลดลงถาวรในปี 2030
แนวโน้มของการใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วโลกก็กำลังเพิ่มสูงขึ้น และเชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลงเรื่อยๆ และควรเร่งมือลดการใช้น้ำมันซึ่งตอนนี้ถือว่ายังไม่มากพอที่จะไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น หรือโลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
ขอขอบคุณที่มา : Science Alert / องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก