svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

ผู้เชี่ยวชาญกังวล iPhone 15 อาจไม่รักษ์โลกอย่างที่คิด! 

อีกความเคลื่อนไหว ผู้เชี่ยวชาญเผย มีความกังวลใจว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจถูกทิ้งเพิ่มขึ้นจากไอโฟนและอุปกรณ์เสริมรุ่นเก่า

iPhone 15 จะเปลี่ยนมาใช้สายชาร์จแบบ USB-C เพื่อช่วยลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับกังวลว่าอาจมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกทิ้งมากขึ้นกว่าล้านล้านชิ้นจากโทรศัพท์และอุปกรณ์รุ่นเก่าๆ ของไอโฟน

ผู้เชี่ยวชาญกังวล iPhone 15 อาจไม่รักษ์โลกอย่างที่คิด! 

สายชาร์จ iPhone 15 เป็นอีกไฮไลต์ที่ Apple นำเสนอถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งการใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุคาร์บอนต่ำ พลังงานที่ใช้ในการผลิต iPhone 15 Pro และ iPhone 15 Pro Max ก็เป็นพลังงานสะอาด และ 20% ของชิ้นส่วนทั้งเครื่องสามารถนำไปรีไซเคิลได้  รวมถึงอุปกรณ์เสริมที่เปลี่ยนมาใช้ผ้า Fine Woven แทนการใช้หนัง

EU ออกกฎหมายใหม่บังคับให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนทั้งหมดต้องหันมาใช้สายชาร์จแบบ USB-C ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาขนาดเล็กและขนาดกลางอื่นๆ เพื่อลดความยุ่งยากในการพกสายชาร์จหลายแบบและที่สำคัญเป็นการลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์

ผู้เชี่ยวชาญกังวล iPhone 15 อาจไม่รักษ์โลกอย่างที่คิด! 
ด้านผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ากฎหมายนี้ อาจจะเป็นการวางแผนลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในระยะยาวของ EU แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับมองว่าแต่ในระยะสั้นจะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นกว่าล้านล้านชิ้นที่เป็นสมาร์ทโฟน iPhone และอุปกรณ์เสริมรุ่นเก่า

ผู้เชี่ยวชาญกังวล iPhone 15 อาจไม่รักษ์โลกอย่างที่คิด! 

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่าการที่ปล่อย iPhone สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ออกมาทุกปียังเป็นการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เพิ่มขึ้น การสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ และให้ความรู้เกี่ยวกับการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์และแยกขยะให้ถูกต้องเพื่อเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ชวนคอข่าวมาดูในมุมมองของ ไอโฟน iPhone

iPhone 15 ประกาศเปิดตัวสร้างความตื่นเต้นให้เหล่าสาวก เเต่ในอีกมุม "สมาร์ทโฟน"ถูกตราหน้าว่าเป็นตัวร้ายทำลายโลก เเละถ้าไม่เราซื้อรุ่นใหม่จะประหยัดพลังงานได้แค่ไหน ?

ในงาน Apple Event Wonderlust 2023 (13 ก.ย. 2566) ที่ผ่านมา "Apple" ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่สาวกจับจ้องไปที่ iPhone 15 ใหม่ ที่เปิดตัวทั้งใหม่ 4 รุ่นหลัก iPhone 15 , iPhone 15 Plus , iPhone 15 Pro และ iPhone 15 Pro Max
หากถามว่าในมุมเทคโนโลยีใหม่นั้นใน iPhone 15  ว่ามีอะไร WoW หรือไม่นั้น ต้องตอบว่าไม่มี เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย หรือ ไมเนอร์เชนจ์ จาก iPhone 14 เท่านั้น  โดย iPhone 15 และ iPhone 15 Plus โดยมาพร้อมกระจกแต่งสีด้านหลังตัวเครื่องที่ทนทานและขอบมนแบบใหม่ อีกทั้งยังมี Dynamic Island และใช้ชิป A16 Bionic ที่ใช้ใน iPhone 14 Pro และ iPhone 14 Pro Max และ ระบบกล้องใหม่ กล้องหลัก 48MP และตัวเลือกเทเลโฟโต้ 2 เท่าใหม่ ที่ให้การซูมแบบออปติคัลแก่ผู้ใช้ถึง 3 ระดับ เสมือนมีกล้องตัวที่ 3

ผู้เชี่ยวชาญกังวล iPhone 15 อาจไม่รักษ์โลกอย่างที่คิด!  ส่วน iPhone 15 Pro และ iPhone 15 Pro Max มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องวัสดุ โดยออกแบบมาด้วยไทเทเนียมเกรดเดียวกับที่ใช้ในอุตสาหกรรมอวกาศ มีความแข็งแกร่งและเบาขึ้น มาพร้อมขอบมนและปุ่มแอ็คชั่นที่ปรับแต่งได้ มีการอัปเกรดกล้องที่คุณสมบัติเทียบเท่าเลนส์ระดับโปร 7 ตัว ระบบกล้องหลัก 48MP รองรับค่าเริ่มต้นความละเอียดสูง 24MP และยังรองรับการถ่ายภาพบุคคลเจเนอเรชันถัดไปที่มีคุณสมบัติการควบคุมโฟกัสและระยะชัดลึก มีการปรับปรุงโหมดกลางคืนและ HDR อัจฉริยะ และยังมีกล้องเทเลโฟโต้ 5 เท่า นอกจากนี้ชิปตัวใหม่ A17 Pro

ส่วนคุณสมบัติใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง iPhone 15 ทุกรุ่น ที่ Apple พูดถึงในงานคุณสมบัติน้อยสุด คือ พอร์ต USB-C ด้านล่าง เนื่องจาก Apple จำเป็นต้องเปลี่ยนจากพอร์ต Lightning เป็น USB-C เพื่อปฎิบัติตามข้อบังคับของสหภาพยุโรปกำหนดให้พอร์ตชาร์จสากลบังคับใช้ เพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ Apple พยายามเน้นยํ้าในทุกช่วงตอนของการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต่างจากคู่แข่งในตลาดทั้งหมด ที่มุ่งเน้นการนำเสนอคุณสมบัติตัวเครื่อง เช่น ฟีเจอร์กล้อง ความเร็วรองรับการเล่นเกม หรือ รูปลักษณ์รูปทรงเครื่อง แต่ Apple มุ่งนำเสนอการให้ความสำคัญกับพลังงานไฟฟ้าสะอาดในทุกขั้นตอนตลอดซัพพลายเชน และออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยวัสดุรีไซเคิลและวัสดุคาร์บอนตํ่า

ผู้เชี่ยวชาญกังวล iPhone 15 อาจไม่รักษ์โลกอย่างที่คิด! 

Apple ประกาศเปิดตัว Apple Watch Series 9 ผลิตภัณฑ์แรกที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน Apple Watch ใหม่แต่ละเครื่องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่เข้มงวด เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาด 100% ในการผลิตและการใช้งานผลิตภัณฑ์ การใช้วัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุหมุนเวียน 30% ของนํ้าหนัก และการขนส่งที่ไม่ใช้การขนส่งทางอากาศ 50% โดยความพยายามต่างๆ เหล่านี้รวมกันแล้วส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นลดลงอย่างน้อย 75% ส่วนปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เหลืออยู่นั้น Apple จะใช้ชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิต

ผู้เชี่ยวชาญกังวล iPhone 15 อาจไม่รักษ์โลกอย่างที่คิด! 

iPhone 15 และ iPhone 15 Plus ใช้วัสดุรีไซเคิลมากขึ้น โดยใช้แบตเตอรี่โคบอลต์ที่ผ่านการรีไซเคิล 100% และแผงวงจรหลัก สายทองแดงใน Taptic Engine รวมถึงขดลวดทองแดงในที่ชาร์จแบบเหนี่ยวนำใน MagSafe ก็ใช้ทองแดงรีไซเคิล 100% เช่นกัน โดยทั้งหมดถือเป็นครั้งแรกของ iPhone และผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 รุ่น ยังมีตัวเครื่องที่ทำจากอลูมิเนียมรีไซเคิล 75% ทั้งยังใช้แร่โลหะหายากรีไซเคิล 100% ในแม่เหล็กทุกชิ้น และใช้ทองรีไซเคิล 100% ในขั้วต่อ USB C ตลอดจนทองชุบและดีบุกบัดกรีในแผงวงจรพิมพ์หลายชิ้น

ส่วน iPhone 15 Pro และ iPhone 15 Pro Max ใช้วัสดุรีไซเคิลมากขึ้น โดยโครงสร้างส่วนล่างทำจาก อลูมิเนียมรีไซเคิล 100% และใช้แบตเตอรี่โคบอลต์ที่ผ่านการรีไซเคิล 100% ซึ่งทั้ง 2 เรื่องถือเป็นครั้งแรกของ Apple อีกทั้ง iPhone 15 Pro และ iPhone 15 Pro Max ยังใช้แร่โลหะหายากรีไซเคิล 100% ในแม่เหล็กทุกชิ้น และใช้ทองรีไซเคิล 100% ในขั้วต่อ USB-C ตลอดจนทองชุบและดีบุกบัดกรีในแผงวงจรพิมพ์หลายชิ้น

แม้การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หรือเทคโนโลยี WoW แต่คีย์แมสเซจ เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ที่ Apple พยายามสื่อสารไปถึงผู้บริโภคตลอดเวลา แสดงให้เห็นว่า Apple กำลังฉีกหนีคู่แข่งไปมุ่งเน้นเรื่องการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากกว่ามุ่งการนำเสนอเทคโนโลยี WoW โดยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเป็นปรากฏการณ์จากภาวะโลกร้อน และการปล่อยมลพิษต่างๆ กำลังเป็นเทรนด์ใหญ่ของโลก ที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปหันมาเลือก ซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทที่ทำธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงยอมจ่ายเงินแพงขึ้นเพื่อซื้อ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แน่นอนว่าการเปลี่ยนมือถือรุ่นใหม่เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น เเต่คำถามที่ตามมา คือ ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมในการอัพเกรดมือถือใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามหรือไม่ 

เว็บไซต์ Euronews รายงานว่า ตามการวัดของ Apple พบว่า 79 % ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนตลอดวงจรของโทรศัพท์ถูกปล่อยออกมาในระหว่างการผลิต แม้ว่าความต้องเป็นเจ้าของ iPhone รุ่นล่าสุดจะไม่ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงสำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในสัปดาห์หน้า แต่น่าจะช่วยจำกัดจำนวนโทรศัพท์ที่ผลิตได้ในอนาคต นั่นหมายถึง การใช้ทรัพยากรที่สำคัญต่อการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย อาทิ โลหะมีค่าและแผ่นไมโครชิป

หากมองในแง่ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิด "ภาวะโลกร้อน" กระบวนการผลิตสมาร์ทโฟนได้ปล่อยคาร์บอนมากถึง 85-95 % ของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเลยทีเดียว ปัญหาคือการสร้างสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ โดยเฉพาะการขุดวัสดุหายากที่อยู่ภายในนั้น หมายความว่า การซื้อโทรศัพท์ใหม่หนึ่งเครื่องจะใช้พลังงานมากพอๆ กับการชาร์จและการใช้งานสมาร์ทโฟนตลอดทั้งทศวรรษ  ตามรายงานของ fastcompany

จากข้อมูลพบว่า สมาร์ทโฟนมีส่วนทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) ประมาณ 10 % จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือที่ประมาณการณ์ว่าในปี 2562 มีขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสมาร์ทโฟนจำนวนมากถึง 50 ล้านตัน และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ตรวจสอบ อาจเพิ่มมากกว่าสองเท่าเป็น 120 ล้านตันภายในปี 2050 ตามรายงานของ สหประชาชาติ  เเละยังระบุอีกว่า หากยืดอายุของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และการนำชิ้นส่วนไฟฟ้ากลับมาใช้ใหม่จะทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

อายุการใช้งานเเละยอดขายสมาร์ทโฟน

ด้วยยอดขายสมาร์ทโฟนประมาณ 211 ล้านเครื่องในสหภาพยุโรปต่อปี แต่ละเครื่องมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 3 ปีก่อนที่จะถูกแทนที่  

ขณะที่ในประเทศ ข้อมูลจาก IDC รายงานภาพรวม “ตลาดสมาร์ทโฟนไทย” ช่วง ไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ปี 2566 มียอดจัดส่งลดลง 25.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว โดยมียอดจัดส่งทั้งหมดราว 3.45 ล้านเครื่อง

ด้านข้อมูลจาก statista จากกราฟพบว่า ในปี 2022 สมาร์ทโฟนขายได้ประมาณ 1.39 พันล้านเครื่องทั่วโลก โดยตัวเลขนี้คาดการณ์ว่าจะลดลงเหลือ 1.34 พันล้านเครื่องในปี 2023

ผู้เชี่ยวชาญกังวล iPhone 15 อาจไม่รักษ์โลกอย่างที่คิด! 

อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนยังคงเพิ่มขึ้น

ประชากรน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของโลกเป็นเจ้าของอุปกรณ์อัจฉริยะในปี 2559 แต่อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแตะร้อยละ 78.05 ในปี 2563 ภายในปี 2025 คาดการณ์ว่าเกือบ87 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าของ สมาร์ทโฟน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27 ของผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ในปี 2010

ยอดขายของผู้ใช้สมาร์ทโฟน

ในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว คาดว่า ยอดขายสมาร์ทโฟนจะมีมูลค่าประมาณ 73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 เพิ่มขึ้นจาก 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2010 ยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2020  ถึง 2021 ในทุกภูมิภาคหลัก ๆ เนื่องจาก ตลาดเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบเบื้องต้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด9)

Apple มีความยั่งยืนมากขึ้นหรือไม่?

ก่อนหน้านี้ Apple ถูกหน่วยงานเฝ้าระวังการต่อต้านการผูกขาดของอิตาลีปรับเงิน 10 ล้านยูโรหลังจากพบว่าการอัปเดตซอฟต์แวร์ของบริษัททำให้เกิดความผิดปกติและสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า สิ่งนี้ผลักดันให้ผู้คนหันมาซื้อโทรศัพท์ใหม่ แม้ว่า Apple จะปฏิเสธว่านั่นไม่ใช่ความตั้งใจก็ตาม

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากที่ปล่อยออกมาในการสร้างสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่นั้น ตามรายงานฉบับหนึ่ง ระบุว่า การซื้อโทรศัพท์ใหม่ใช้พลังงานมากพอๆ กับการชาร์จและการใช้งานสมาร์ทโฟนตลอดทั้งทศวรรษ  แต่ Appleซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังพยายามแก้ไขการกระทำในด้านนี้และด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยอ้างว่าใช้โลหะหายากที่ผ่านการรีไซเคิล 100% ในแม่เหล็กของ iPhone 14 ทั้งหมด

เว็บไซต์ apple ได้ระบุว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ Apple Watch ใหม่เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเป้าหมายอันทะเยอทะยานของ Apple ในด้านสภาพภูมิอากาศในปี 2030 เป็นนวัตกรรมด้านการออกแบบและพลังงานสะอาดทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ Apple Watch ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนแต่ละเครื่องลดลงกว่า 75 % 

เจอข้อหาหนัก! ประเด็นใช้แรงงานเด็ก

ในปี 2019 Apple พร้อมด้วย Google , Dell, Microsoft และTesla เป็นจำเลยในคดีที่ยื่นในนามของครอบครัวจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) ซึ่งเด็ก ๆ ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตขณะทำเหมืองโคบอลต์ บริษัทต่างๆ ปฏิเสธการใช้แรงงานเด็ก โดยอ้างว่าไม่ได้เป็นเจ้าของเหมืองโคบอลต์ และไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ได้อย่างแน่ชัด และผู้พิพากษาศาลแขวงของสหรัฐฯ ได้ยกฟ้องคดีในปี 2021

ขอขอบคุณข้อมูล : ฐานเศรษฐกิจ

สุดจริง! ฝรั่งเศสสั่งเก็บไอโฟน 12 ออกจากตลาด อ้างปล่อยรังสีสูงเกินมาตรฐานยุโรป

สำนักข่าวเอพี รายงานว่า สำนักงานคลื่นความถี่แห่งชาติ (National Frequency Agency หรือ ANFR) ของ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านคลื่นวิทยุและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใน การสื่อสารโทรคมนาคมแบบไร้สาย ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันอังคาร (12 ก.ย.) เรียกร้องให้ บริษัทแอปเปิล อิงค์ ผู้ผลิตโทรศัพท์ไอโฟน บังคับใช้มาตรการที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อเร่งแก้ปัญหาการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานของโทรศัพท์ iPhone12 (ไอโฟน12) ที่มีผู้ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และหน่วยงานจะติดตามผลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด แต่หากการแก้ปัญหานี้ไม่ได้ผล “แอปเปิลจะต้องเรียกคืน” โทรศัพท์ทั้งหมดที่วางจำหน่ายไปแล้วในฝรั่งเศส

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า ไอโฟน 12 ไม่ผ่านการทดสอบ 1 ใน 2 การทดสอบเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

การค้นพบของหน่วยงาน ANFR ที่ตรวจสอบโทรศัพท์ 141 เครื่อง รวมทั้งไอโฟน 12 เกี่ยวกับการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พบว่า อยู่ที่ระดับ 5.74 วัตต์ต่อกิโลกรัมหากถือไว้ในมือหรือใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อ ซึ่งเป็นระดับที่สูงเกินมาตรฐานของสหภาพยุโรปที่ 4 วัตต์ต่อกิโลกรัม อัตราการดูดกลืนพลังงานจำเพาะ (Specific Absorption Rate – SAR) ของไอโฟน12 นั้นสูงเกินมาตรฐานที่กฎหมายอียูกำหนดเอาไว้เล็กน้อย

องค์การอนามัยโลก (WHO) บรรจุให้โทรศัพท์มือถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ “มีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้” อย่างไรก็ตาม หากเก็บโทรศัพท์ไว้ในกระเป๋าเสื้อแจ็คเก็ตหรือในกระเป๋าถือ ระดับการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายจะยังอยู่ในระดับมาตรฐาน

กระทรวงดิจิทัลของฝรั่งเศสระบุว่า การปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของไอโฟน12 แม้จะเกินเกณฑ์มาตรฐานของยุโรปแต่ก็ยังไม่ถึงระดับที่จะทำอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ตามรายงานผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์

ด้านนายมัลคอล์ม สเปอร์ริน ผู้อำนวยการฝ่ายฟิสิกส์การแพทย์ กลุ่มโรงพยาบาลรอยัล เบิร์กเชียร์ ในประเทศอังกฤษ ให้ความเห็นว่า ปริมาณการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานนั้นยังต่ำกว่าระดับที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ดังนั้น แม้ปริมาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ตรวจพบจะสูงเกินมาตรฐานมาเล็กน้อย ก็ไม่น่าจะทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกาย แต่ “กฎก็ต้องเป็นกฎ” ซึ่งมีออกมาเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนั้น ผู้ที่ใช้งานไอโฟน12 อยู่ในขณะนี้ ควรมีทางเลือกที่จะดาวน์โหลดแอปป้องกันการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสูงเกินมาตรฐาน เวอร์ชั่นที่อัปเดตใหม่แล้ว 

แอปเปิลทำการเปิดตัวไอโฟน 12 เมื่อปลายปี 2563 และผ่านมาตรฐานจากหน่วยงานระหว่างประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ทาง ANFR ไม่ได้ระบุว่า เหตุใดไอโฟน 12 จึงไม่ผ่านการทดสอบครั้งล่าสุดนี้ และเหตุใดจึงไม่ผ่านเฉพาะรุ่นนี้

ข่าวระบุว่า แอปเปิลจะยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานดังกล่าว พร้อมยืนยันว่าไอโฟน 12 ทำตามเงื่อนไขข้อกำหนดของทางการฝรั่งเศสแล้วทุกประการ รวมทั้งการยื่นเอกสารการทดสอบมาตรฐานทั้งจากห้องทดลองของบริษัทเองและจากหน่วยงานตรวจสอบภายนอก

องค์การอนามัยโลก (WHO) บรรจุให้โทรศัพท์มือถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ “มีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้”

องค์การอนามัยโลก (WHO) บรรจุให้ โทรศัพท์มือถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ “มีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้” และอยู่ในระดับเดียวกับกาแฟ กลิ่นน้ำมันดีเซล และสารฆ่าแมลงดีดีที ขณะที่คลื่นที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือไม่สามารถเข้าทำลายดีเอ็นเอของมนุษย์ได้โดยตรง และแตกต่างจากรังสีที่มีความเข้มข้นกว่า อย่างเช่น รังสีเอ็กซ์ หรือแสงอัลตราไวโอเลต

แม้ว่าโลกจะมีการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างกว้างขวางมานานหลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีผลการศึกษาออกมายืนยันความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนว่าการใช้โทรศัพท์มือถือมีผลทางลบต่อสุขภาพร่างกาย เช่น มะเร็ง การปวดหัว หรือผลกระทบต่อสมองและการจดจำ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่า ผู้ที่ห่วงใยสุขภาพและกังวลใจเกี่ยวกับการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์มือถือว่าอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ก็ให้ใช้หูฟัง (earphones) ขณะโทรศัพท์แทนการนำโทรศัพท์มาแนบหู หรืออาจใช้การพิมพ์ข้อความสื่อสารกันแทนการพูดโทรศัพท์ก็ได้

ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า มีความเคลื่อนไหวลักษณะคล้ายๆกันนี้ในประเทศสเปนเช่นกัน โดยกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคของสเปน เรียกร้องทางการให้ระงับการจำหน่ายไอโฟน 12 แล้ว ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านดิจิทัลของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ก็กำลังตรวจสอบรายงานดังกล่าวของฝรั่งเศส และอาจขอข้อมูลและคำอธิบายเพิ่มเติมจากแอปเปิลในเรื่องดังกล่าว

ข้อมูลอ้างอิง

  • The iPhone 12 emits too much radiation and Apple must take it off the market, French agency say
  • France's Apple iPhone 12 move has implications for Europe: German watchdog
  • Explainer: Why has France banned sales of Apple's iPhone 12?

ขอขอบคุณที่มา : News Strait Times / Apple