svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

เปิดแบบ ‘เมืองลอยน้ำ’ ของญี่ปุ่น รับมือสึนามิและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

15 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เผยแบบ ‘เมืองลอยน้ำ’ ที่ชื่อว่า Dogen City ที่ออกแบบมาให้รับมือกับสึนามิและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี แถมยังรองรับกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลได้อีกด้วย เรียกว่านี่คือเมืองในอนาคตที่น่าสนใจ คอข่าวคนรักษ์โลกต้องไม่พลาด

อีกหนึ่งแนวคิดเพื่อนวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจในโลกยุค 2023 ล่าสุดทางด้าน บริษัทด้านสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น  N-ARK ได้เผยแบบ ‘เมืองลอยน้ำ’ ที่ชื่อว่า Dogen City ที่ออกแบบมาให้รับมือกับสึนามิและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี แถมยังรองรับกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลได้อีกด้วย

เปิดแบบ ‘เมืองลอยน้ำ’ ของญี่ปุ่น รับมือสึนามิและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจได้เห็นเมืองที่ออกแบบมาให้รับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งบริษัทฯ ออกแบบและให้คำปรึกษาของญี่ปุ่น N-ARK เผยแบบ Dogen City หรือ เมืองลอยน้ำ ที่ออกแบบมาให้ทนทานกับ Climate Change เมืองแห่งนี้สามารถรับผู้อื่นอาศัยได้ 10,000 คน และรับผู้เข้ามาเยี่ยมชมและนักท่องเที่ยวได้ถึง 30,000 คน โดยขนาดของเมืองลอยน้ำมีขนาดเส้นรอบวง 4 กิโลเมตร ด้วยรูปทรงกลมของเมืองออกแบบมาให้กับสึนามิ ระดับน้ำทะเล และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

เปิดแบบ ‘เมืองลอยน้ำ’ ของญี่ปุ่น รับมือสึนามิและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

เปิดแบบ ‘เมืองลอยน้ำ’ ของญี่ปุ่น รับมือสึนามิและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ Dogen City ถือว่าเป็นเมืองแห่งอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเมืองลอยน้ำแห่งนี้คำนวนการใช้น้ำแล้วอยู่ที่ ประมาณ 2 ล้านลิตร/ปี กำจัดขยะ 3,288 ตัน/ปี โดยใช้ขยะจากอาหารประมาณ 7,000 ตันในการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งได้มากกว่า 22,000,000 กิโลวัตต์ ในเมืองลอยน้ำเต็มไปด้วยมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มีทั้งที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล สนามกีฬา สำนักงานสวนสาธารณะ โรงแรม และโรงเรียน ฯลฯ


นอกจากนี้บริษัทผู้ออกแบบยังออกแบบ เมืองลอยน้ำ ให้เป็นที่ลงจอดสำหรับการขนส่งจรวด และยังวางแผนให้เป็นเมืองที่มีบริการด้านสุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อย่าง มีการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ในโรงพยาบาล การวิเคราะห์เลือดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย มีการคาดการณ์ว่าเมืองลอยน้ำนี้จะเริ่มใช้งานในปี 2030

เปิดแบบ ‘เมืองลอยน้ำ’ ของญี่ปุ่น รับมือสึนามิและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
ที่มา : www.n-ark.jp/en
 

logoline