svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

‘บุหรี่’ ไม่ใช่แค่ทำลายสุขภาพ แต่ยังทำร้ายโลกกว่าที่คิด

12 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พิษของ “บุหรี่” ภัยที่กระทบคนสูบและคนรอบข้าง ตัวการสร้างมลพิษทำโลกร้อน และก่อขยะกลายเป็นภาระกับโลกแค่ไหน?

"บุหรี่" ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ตามรายงานโดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า อุตสาหกรรมบุหรี่เป็นภัยคุกคามที่เลวร้ายรุนแรงมากกว่าที่หลายคนนึกถึงในฐานะหนึ่งในผู้ก่อมลภาวะอันดับต้นๆ ของโลก ที่สร้างขยะปริมาณมหาศาลและเป็นหนึ่งในต้นเหตุให้เกิด "สภาวะโลกร้อน"

‘บุหรี่’ ไม่ใช่แค่ทำลายสุขภาพ แต่ยังทำร้ายโลกกว่าที่คิด

ที่ผ่านมา มีรายงานโดยองค์การอนามัยโลก ชื่อว่า Tobacco: Poisoning Our Planet ระบุว่า ‘บุหรี่’ คือสาเหตุของการเสียชีวิตของคนก่อนวัยอันควร สูญเสียต้นไม้ 600 ล้านต้น ที่ดินขนาด 200,000 เฮกตาร์ น้ำ 22 พันล้านตัน และปล่อยคาร์บอนราว 84 ล้านตันสู่ชั้นบรรยากาศโลก

รายงานฉบับดังกล่าวพบว่ารอยเท้าคาร์บอน (คาร์บอนฟุตพรินต์) จากการผลิตและขนส่งยาสูบคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 5 ของคาร์บอนที่ปลดปล่อยโดยอุตสาหกรรมสายการบินในแต่ละปี ซึ่งเป็นสาเหตุของ "ภาวะโลกร้อน" ข้อค้นพบดังกล่าวนับว่าน่าหวาดหวั่น ตามความคิดเห็นของ Ruediger Krech จากองค์การอนามัยโลก พร้อมระบุว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็น “หนึ่งในผู้ปลดปล่อยมลภาวะอันดับต้นๆ เท่าที่มีการเก็บข้อมูลทางสถิติ”

‘บุหรี่’ ไม่ใช่แค่ทำลายสุขภาพ แต่ยังทำร้ายโลกกว่าที่คิด

ใน “ควันบุหรี่” ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การสูบบุหรี่ทั่วโลกก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.6 ล้านตัน และก๊าซมีเทน 5.2 ล้านตันต่อปี ในขณะที่การทำไร่ยาสูบและขบวนการผลิตบุหรี่ ทำให้เกิดการทำลายป่า ทำให้มีป่าไม้ที่จะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง

ความเสียหายที่เกิดจากบุหรี่

การสูบบุหรี่ยังเป็นสาเหตุของไฟไหม้ป่าและไฟป่า ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น โดยการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดไฟไหม้ ร้อยละ 10 ของไฟไหม้ทั่วโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 แสนคน สร้างความเสียหายของทรัพย์สินมหาศาล

ที่สำคัญ "ควันบุหรี่" เป็นมลพิษในอากาศภายในอาคารที่อันตรายที่สุด โดยควันบุหรี่ในสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยสารพิษมากกว่า 250 ชนิด และเป็นสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด ครึ่งหนึ่งของเด็ก ๆ ทั่วโลก หรือเท่ากับ 700 ล้านคน ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านและในที่สาธารณะ ในขณะที่มีคนไทย 16 ล้านคน ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน ไอแอลโอ หรือองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ประเมินว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสองในที่ทำงาน 2 แสนคน และองค์การอนามัยโลกระบุว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสองปีละ 5 แสนคน

“ก้นบุหรี่” ภาระชิ้นเล็ก จัดการยาก

‘บุหรี่’ ไม่ใช่แค่ทำลายสุขภาพ แต่ยังทำร้ายโลกกว่าที่คิด

หากถามว่าอะไรที่ทำให้โลกร้อน สิ่งที่คิดถึงอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น "พลาสติก" ซึ่งมันไม่ใชเรื่องผิด เพราะพลาสติกก็เป็นสาเหตุที่ทำโลกร้อนจริงๆ แต่คงคิดไม่ถึงกันใช่มั้ยว่า "ก้นกรองของบุหรี่" ที่หลายคนสูบแล้วทิ้งลงตามพื้นกันนั้น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้โลกร้อน 

ก้นบุหรี่ทำให้โลกร้อน...จริงหรือ?

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยว่า ก้นบุหรี่ทำมาจากเซลลูโลสอะซิเตท ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้เวลาย่อยสลาย 10 - 15 ปี ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมีซองบุหรี่ที่ทำให้เกิดขยะอีกด้วย 

ยังมีรื่องที่น่าตกใจคือขยะที่ถูกทิ้งอันดับต้นๆ ไม่ใช่พลาสติกแล้วแต่เป็นก้นบุหรี่นี่แหละ เพราะข้อมูลจาก Ocean Conservancy องค์กรการกุศลเพื่อสิ่งแวดล้อมได้เผยถึง 5 อันดับขยะที่พบมากที่สุดบนชายหาดจากการเก็บขยะบนชายหาดครั้งใหญ่รอบโลก (เมื่อปี 2018) พบว่า

  • อันดับ 1 คือ ก้นบุหรี่ พบมากถึง 5.7 ล้านชิ้น
  • อันดับ 2 คือ พลาสติกห่ออาหาร 3.7 ล้านชิ้น
  • อันดับ 3 คือ หลอดพลาสติก 3.7 ล้านชิ้น
  • อันดับ 4 คือ ช้อน-ส้อมพลาสติก 2 ล้านชิ้น
  • อันดับ 5 คือ ขวดพลาสติก 1.8 ล้านชิ้น

ในทุกๆ ปีมีก้นบุหรี่ถูกทิ้งลงสู่ธรรมชาติจะปนเปื้อนเข้าสู่มหาสมุทร แม่น้ำ ข้าวทางเท้า ชายหาด แต่ละชิ้นจะก่อให้เกิดมลภาวะในน้ำประมาณ 100 ลิตร ขณะที่เกษตรกรฟาร์มยาสูบราว 1 ใน 4 จะเป็นโรคใบยาสูบสดซึ่งเป็นภาวะเป็นพิษจากนิโคตินที่ดูดซึมผ่านผิวหนัง

ทั้งนี้ เกษตรกรที่สัมผัสกับใบยาสูบสดทั้งวันจะได้รับสารนิโคตินเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 50 มวนในแต่ละวัน นับเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับเด็กๆ ที่อยู่ในครัวเรือนของเกษตรกรที่ทำงานในฟาร์มยาสูบ พื้นที่เพาะปลูกยาสูบส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจนซึ่งแหล่งน้ำและพื้นที่การเกษตรมักมีไม่เพียงพอ และการปลูกยาสูบก็มักต้องแลกมาด้วยทรัพยากรที่ควรจะนำไปใช้ปลูกพืชสำคัญ การปลูกยาสูบยังเป็นสาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่าราว 5 เปอร์เซ็นต์ และใช้ทรัพยากรน้ำมหาศาล

แม้ว่าอุตสาหกรรมยาสูบจะบอกว่าก้นกรองช่วยบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพ  องค์การอนามัยโลกย้ำว่าไม่มีหลักฐานยืนยันคำกล่าวอ้างดังกล่าว เหล่าผู้ออกแบบนโยบายทั่วโลกจึงควรมองว่าก้นกรองบุหรี่เป็นพลาสติกใช้แล้วทิ้งและควรมีกฎหมายแบนนั่นเอง

บุหรี่สร้างภาระให้กับโลกแค่ไหน?

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย San Diego สหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในบุหรี่มีสารเคมีทั้งแคดเมียมและตะกั่ว การที่เราทิ้งก้นบุหรี่ลงตามพื้นถนน ท่อระบายน้ำ หรือชายหาดจะทำให้สารพิษในบุหรี่ละลายลงสู่แหล่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา, กุ้ง, หอย พวกมันก็จะได้รับสารพิษเหล่านี้เข้าไป แล้วพอเราจับสัตว์พวกนี้มารับประทานก็เท่ากับว่าเราได้รับสารพิษนั้นไปด้วยเหมือนกัน

 

logoline