svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

Baby Boomer แชมป์รักษ์โลก เลือกช้อปสินค้าและบริการเน้นความยั่งยืน

08 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รายงานเทรนด์การตลาดชุดใหม่ เผยคนไทยทุกวัยหันสนใจอาหารออร์แกนิคมากขึ้น หนุ่มสาวเจน Y รั้งตำแหน่งเครียดสูงสุด ขณะที่ Baby Boomer คว้าแชมป์ใช้สินค้ารักษ์โลก

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) รายงานเทรนด์การตลาดชุดใหม่ “What If Marketing การตลาดสามมิติสู่การเปลี่ยนแปลง” โดย ผศ.ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่าจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชาชนและวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ และความเชื่อในการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิต และการบริโภคสินค้าเพื่อความยั่งยืนในแต่ละกลุ่มช่วงอายุ เพศ สู่การคิดค้นกลยุทธ์การตลาดใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อ “สุขภาพ - ชีวิต - อนาคต” ที่ดีกว่า โดยจากการเจาะสำรวจกลุ่มตัวอย่างรวมจำนวน 1,130 ตัวอย่าง  พบปัญหาพฤติกรรมเชิงลบของคนไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใน 3 ประเด็นสำคัญคือ การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพใจ และการรักษาสิ่งแวดล้อม

Baby Boomer แชมป์รักษ์โลก เลือกช้อปสินค้าและบริการเน้นความยั่งยืน

Better Food for Better Health

ประเด็นการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพใจ และการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่คนไทยตื่นตัวเป็นอย่างมาก และมีการออกมาเรียกร้องให้ผู้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น โดยจากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปี 2564 มีสถิติน้ำหนักเกินในผู้ใหญ่มากถึง 46.2% หรือ 26 ล้านคนจากประชากรทั่วประเทศ และคนไทยยังมีภาวะโรคอ้วนติดอันดับที่ 2 ของอาเซียน ซึ่งโรคอ้วนไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้สุขภาพเท่านั้น แต่ยังสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจไทยถึง 1.27% ของ GDP หรือมากกว่า 2 แสนล้านบาท 

จันทร์กานต์ เบ็ญจพร นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า ข้อมูลจากงานวิจัยทำให้ค้นพบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยจากเชิงลบสู่เชิงบวกใน 3 ประเด็น คือ รักษาสุขภาพและคงสุขภาพระยะยาว เสริมภาพลักษณ์ และป้องกันโรค โดยประเภทอาหารที่ถูกพูดถึงมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

  • อาหารออร์แกนิค
  • อาหารโลว์คาร์บ
  • อาหารโพรไบโอติกส์ - พรีไบโอติกส์
  • อาหารแพลนต์เบสด์
  • อาหารคีโต วีแกน 

Baby Boomer แชมป์รักษ์โลก เลือกช้อปสินค้าและบริการเน้นความยั่งยืน

Better Mide for Better Life

สำหรับประเด็นเรื่อง (ไม่) ลับกับสุขภาพใจ  พบว่า 3 ปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อความเครียด คือ

  • หน้าที่ความรับผิดชอบ
  • การเงิน
  • สุขภาพ

เมื่อเจาะข้อมูลเชิงลึกความเครียดส่วนใหญ่ของแต่ละเจนเนอเรชั่น พบว่ากลุ่ม Gen Y มีความเครียดมากที่สุด ส่วนใหญ่เกิดจากเรื่องความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน และต้องการบาลานซ์ความสุขกับความสำเร็จคู่กัน อย่างไรก็ตาม อุปสรรคในการเข้ารับบริการสุขภาพใจ 3 อันดับแรก คือ ค่าใช้จ่าย ความสะดวกในการเข้าถึง และไม่ทราบข้อมูบในการเข้าถึงบริการ 

Better World for Better Future

ประเด็นเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม หรือศาสตร์แห่งความยั่งยืน จากการวิจัยพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกิดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สินค้าและบริการเกี่ยวกับความยั่งยืนใน 3 อันดับแรก คือ

  • ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 69.9%
  • ต้องการช่วยแก้ปัญหาระยะยาว 62.6%
  • ต้องการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต 61.2%

โดยกลุ่มเจนเนอเรชั่นที่มีพฤติกรรมให้ความสำคัญกับการใช้สินค้าและบริการที่เกี่ยวกับความยั่งยืนอันดับหนึ่ง คือกลุ่ม Baby Boomer คิดเป็น 61%

รองมาคือ 37% ของคน Gen Z ตามด้วย 35% ของคน Gen X และ 26% ของคน Gen Y ซึ่งพฤติกรรมยั่งยืนที่ผู้บริโภคทำมากที่สุดคือ ปิดน้ำ ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน ซื้อสินค้าใหม่เป็นสินค้ายั่งยืน และนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ขณะเดียวกันพฤติกรรมที่ทำน้อยที่สุดคือ ใช้รถสาธารณะ ใช้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนฟุตพรินต์ และการใช้แก้วส่วนตัว 

ที่น่าสนใจคือ Gen X เห็นว่า 80-90%  คือเครื่องมือทางการตลาดเพราะน้อยมากที่ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเพราะรักษ์โลก  กลุ่ม Baby Boomer มองว่าสินค้าในตลาดตอนนี้ยังไม่ได้ช่วยเรื่องความยั่งยืน 100% เป็นการลดปัญหาอย่างหนึ่ง เพื่อไปเจออีกปัญหา

ทั้งนี้ อุปสรรคในการใช้สินค้าและบริการเพื่อความยั่งยืนคือ ปัจัจัยในเรื่องของ “ราคา”  โดยจากผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าราคาสินค้าเพิ่มเฉลี่ย 17% จากราคาปกติผู้บริโภคถึงจะยอมซื้อ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า บ้าน อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม ของใช้ส่วนตัว เป็นต้น อีกเรื่องคือเรื่องของประเภทและความทนทานของวัสดุที่ใช้ แม้ใช้วัสดุรักษ์โลกได้จริง แต่สินค้าบางอย่างไม่ทนทานต่อการใช้ เช่น หลอดกระดาษ และอีกอุปสรรคคือ ความสะดวก

นอกจากนี้ ทีมวิจัยได้คิดค้นกลยุทธ์แห่งชีวิตที่จะสร้างชีวิต สังคม และแบรนด์ให้ดีขึ้น เรียกว่า “LIFE” ที่จะทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นในระยะยาวและสร้างโอกาสต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แค่เน้นขายของ ดังนี้

L: Less is more – แบรนด์สามารถลดส่วนประกอบบางอย่าง เพื่อให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้น รวมถึงลดการใช้สิ่งที่ไม่จำเป็นบางอย่างในการผลิต เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

I: Image – ต้องสร้างความเชื่อต่อผู้บริโภค ในแง่การผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคอย่างแท้จริง และใส่ใจถึงผลดีต่อโลกอย่างแท้จริง

F: Fear – แบรนด์ต้องเล่นกับความกลัว สื่อให้เห็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นถ้าเราไม่เปลี่ยนพฤติกรรม

E: Experience – ให้ผู้บริโภคได้เห็นและสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้จริง

 

 

logoline