svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

เจ้าของฟาร์มสุนัขเกาหลีประท้วงต้านกฎหมาย

เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างบรรดาเจ้าของฟาร์มสุนัขกับตำรวจ ในระหว่างการประท้วงต่อต้านกฎหมาย "ห้ามกินเนื้อสุนัข" บริเวณใกล้ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงโซลของเกาหลีใต้ ทั้งที่ผลสำรวจล่าสุดชี้ "คนส่วนใหญ่อยากให้เลิก"

บรรดาเจ้าของกิจการฟาร์มสุนัขราว 200 คน ที่เพาะพันธุ์และเลี้ยงสุนัขเพื่อการบริโภคของมนุษย์ ได้ออกมาเดินขบวนบนถนนด้านนอกทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงโซล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกแผนการห้ามกินเนื้อสุนัข ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือมานานหลายศตวรรษ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นประเด็นขัดแย้งในสังคมสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ 

พวกเจ้าของฟาร์มยังนำสุนัขหลายตัวใส่กรงแคบ ๆ วางไว้บนท้ายรถกระบะ มาร่วมการประท้วงด้วยความตั้งใจว่าจะเอามาปล่อยในจุดประท้วงด้วย แต่ตำรวจขัดขวางด้วยการเข้าไปตรวจตามหลังรถที่คลุมด้วยผ้าใบ

เจ้าของฟาร์มสุนัขเกาหลีประท้วงต้านกฎหมาย

พรรครัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ได้เสนอกฎหมายห้ามการเพาะพันธุ์และจำหน่ายสุนัขเพื่อการบริโภค พร้อมกับเสนอเงินชดเชยให้แก่คนที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบในอุตสาหกรรมนี้ ที่ต้องกิจการลงภายใน 3 ปี ที่จะนำไปสู่การยุติประเด็นขัดแย้งเรื่องการกินเนื้อสุนัข ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากพรรคฝ่ายค้านที่คุมรัฐสภา และจากสาธารณชน

ปัจจุบันมีชาวเกาหลีใต้มากกว่า 6 ล้านครัวเรือน ที่เลี้ยงสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยง ในจำนวนประชากรราว 51 ล้านคน และประธานาธิบดียุนกับนางคิม กอน-ฮี ภริยา ก็เลี้ยงสุนัขไว้ถึง 6 ตัว รวมทั้งสุนัขนำทางกับสุนัขค้นหาและกู้ภัยที่เกษียณแล้ว

เจ้าของฟาร์มสุนัขเกาหลีประท้วงต้านกฎหมาย

ผลสำรวจของกัลลัพ โคเรีย (Gallup Korea) เมื่อปี 2565 แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 2 ใน 3 ต่อต้านการกินเนื้อสุนัข และมีเพียง 8% ที่ยังกินอยู่เมื่อปีที่ผ่านมา ลดลงจากเดิม 27% เมื่อปี 2558 

เจ้าของฟาร์มสุนัขเกาหลีประท้วงต้านกฎหมาย

แกนนำการประท้วงบอกว่า พวกนักการเมืองไม่มีสิทธิ์มามาปิดอุตสาหกรรม หรือตัดสินใจว่าประชาชนจะเลือกกินอะไร...

"เราไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่ามันป่าเถื่อน เพราะทุกประเทศที่สืบทอดการเลี้ยงสัตว์ต่อ ๆ กันมา ก็เคยอยู่ในจุดที่เคยกินเนื้อสุนัข และยังมีอีกหลายประเทศที่ยังทำกันอยู่" 

เจ้าของฟาร์มสุนัขเกาหลีประท้วงต้านกฎหมาย

ผู้ประท้วงอ้างว่าถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนในการอภิปรายร่างกฎหมายฉบับนี้ ส่วนเงินชดเชยที่เสนอก็ไม่เพียงพอ เพราะพวกเขาต้องสูญเสียอาชีพที่ใช้ในการดำรงชีวิต