svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

สื่อจับผิด ปาเลสไตน์กลายเป็นปาหี่จัดฉากคนเจ็บ

นอกจากสมรภูมิในฉนวนกาซาจะดุเดือด แนวรบทางออนไลน์ก็ไม่ได้ยิ่งหย่อน ชาว X หรือทวิตเตอร์เดิมอิสราเอลแชร์ปาเลสไตน์โฆษณาชวนเชื่อ จัดฉากแสดงความสูญเสียจากการโจมตี

นอกจากสมรภูมิในฉนวนกาซาจะดุเดือดเพราะปฏิบัติการถล่มทางอากาศ และการรุกคืบทางภาคพื้นดินแล้ว แนวรบออนไลน์ก็ไม่ได้ยิ่งหย่อน เต็มไปด้วยโฆษณาชวนเชื่อที่ส่งไปยังแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้เล่นนับล้าน และหนึ่งในนั้นคือการอ้างว่า ชาวปาเลสไตน์จัดฉากความสูญเสียจากการโจมตี หรือที่เรียกว่า "ปาลีวู้ด" (ปาเลสไตน์ + ฮอลลีวู้ด) ที่ผู้สนับสนุนอิสราเอลบน "X" หรือ ทวิตเตอร์เดิม ใช้เพื่อสื่อว่ามีการจัดฉากความสูญเสีย โดยใช้คนแสดง เพื่อเอาชนะอิสราเอลในการโฆษณาชวนเชื่อ

ตัวอย่างของการจัดฉากที่ถูกจับได้และถูกแชร์ออกไปเป็นจำนวนมาก ก็คือ ผู้ใช้บัญชี "rose_k01" ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 78,000 ได้โพสต์ข้อความว่า

"ปาลีวู้ดของปาเลสไตน์ใช้นักแสดงเด็กใกล้จะหมดแล้ว เด็กคนเดิมถูกช่วยชีวิตซ้ำไปซ้ำมา"

พร้อมกับภาพเด็กหญิงคนหนึ่งที่ได้รับการช่วยเหลือจากผู้ชาย 3 คนด้วยกัน .... ผู้ใช้บัญชี "ivgiz" (อิฟกิซ) ที่มีผู้ติดตาม 167,000 ก็แชร์ภาพนี้ พร้อมคำบรรยายเป็นภาษาฮิบรูที่แปลได้ว่า

"เธอ (เด็ก) ถูกช่วยชีวิตขณะใส่เสื้อตัวเดียวกันไปกี่ครั้งแล้ว"

สื่อจับผิด ปาเลสไตน์กลายเป็นปาหี่จัดฉากคนเจ็บ  

จากการตรวจสอบของ "โพลีกราฟ" (Polygraph) ที่เป็นหน่วยงานตรวจสอบข่าวของ VOA พบว่า ภาพนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกาซา เพราะถูกถ่ายที่ "ซีเรีย" เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ปี 2559 โดยอามีร์ อัล-ฮาลาบี ช่างภาพที่ถ่ายภาพให้สำนักข่าว AFP ซึ่งแต่ละภาพถูกถ่ายในระยะห่างกันราว 80 วินาที แสดงให้เห็นว่าเด็กได้รับการช่วยเหลือและถูกส่งต่อให้ผู้ชาย 3 คน และได้ถูกนำมาใช้บิดเบือนข้อมูลข่าวสารสงครามล่าสุด 

สื่อจับผิด ปาเลสไตน์กลายเป็นปาหี่จัดฉากคนเจ็บ

ยังมีเรื่องของบล็อกเกอร์ชาวปาเลสไตน์ "ซาเลห์ อัล จาฟาราวี" ที่จัดฉากว่าตัวเองนอนรักษาอาการบาดเจ็บที่โรงพยาบาลหลังการทิ้งระเบิดของอิสราเอล แต่ก็ถูกจับผิดด้วยการนำคลิปวิดีโอคนที่นอนเจ็บอยู่บนเตียง "เมื่อวาน" กับคนที่ออกไปไลฟ์สด "วันนี้" ซึ่งพบว่าคนที่นอนในโรงพยาบาลชื่อ ซาอีด ซานเด็ค เด็กหนุ่มวัย 16 ปี ที่เสียขาจากการทิ้งระเบิดถล่มค่ายผู้ลี้ภัยนูร์ ชามส์ เมื่่อวันที่ 24 กรกฎาคม ส่วนคนที่กำลังไลฟ์คือ อัล จาฟาราวีตัวจริง

ยังมีกรณีการนำคลิปวิดีโอของช่างแต่งหน้าชาวปาเลสไตน์ "มาเรียม ซาลาห์" ที่กำลังทำเลือดและบาดแผลปลอมในกิจกรรมการอบรมแพทย์เมื่อปี 2560 ให้กับองค์กรการกุศลจากฝรั่งเศส "Doctors of the World" มาอธิบายว่า ชาวปาเลสไตน์กำลังจัดฉากการสูญเสีย