svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

คน Gen Z ลูกหลานมหาเศรษฐีจีนหนีกลับแผ่นดินใหญ่

สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ กับจีน ที่เขม็งเกลียวขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบไปถึงคนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานของชาวจีน ต่างเลือกที่จะละทิ้งสัญชาติและการงานที่เคยปราถนา ย้อนกลับคืนสู่จีนแผ่นดินใหญ่

เป็นเวลาหลายปีที่ Harvard College China Forum เป็นที่รวมของเหล่า "เจ้าพ่อ" ทางธุรกิจ ที่ไปนั่งกันในอยู่ในห้องกรุผนังไม้โอ๊ค รวมทั้งแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้ง Alibaba Group Holding, เหลย จุน แห่ง Xiaomi, สตีเฟ่น ชวาร์ซแมน แห่ง Blackstone และเรย์ ดาลิโอ แห่ง Bridgewater Associates ตามคำเชิญของนักศึกษา ที่บางคนเป็นลูกหลานของมหาเศรษฐีชาวจีน มันจึงกลายเป็นการประชุมประจำปีของเหล่าชนชนชั้นที่มีเงินใช้เหลือเฟือ ของสองประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แสดงให้เห็นถึงพลัง "อำนาจเงิน" ที่เป็นสะพานเชื่อมรอยร้าวทางภูมิรัฐศาสตร์ 

แต่ปัจจุบัน แม้การจัดงานแบบนี้จะยังมีอยู่แต่ก็น้อยลง ขณะที่รอยร้าวระหว่างจีนกับสหรัฐฯ กลับเขม็งเกลียวยิ่งขึ้น แม้เหล่าผู้ที่มีฐานะร่ำรวยติดอันดับโลกจะพยายามสร้างความสมานฉันท์ แต่กลับมีผู้บริหารธุรกิจจากแผ่นดินใหญ่ไปร่วมงาน Harvard College China Forum ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาจูเสตส์ ในปีนี้แค่ไม่กี่คนเท่านั้น ขณะที่นักศึกษาระดับหัวกะทิที่เคยเป็นตัวตั้งตัวตีจัดงานตลอดหลายปีที่ผ่านมา หลายคนกลายเป็นผู้ร่ำร้อง "อยากกลับบ้าน" 

คน Gen Z ลูกหลานมหาเศรษฐีจีนหนีกลับแผ่นดินใหญ่

หนึ่งในคนที่อยากกลับบ้านรวมทั้ง "จาง" นักศึกษาหญิงวัย 25 ปี ที่เปิดเผยเพียงแซ่ บอกว่าเธอเป็นลูกสาวผู้ก่อตั้งหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในจีน บอกว่าเธอเติบโตที่ Bay Area และอาศัยอยู่กับแม่ ส่วนพ่อยังอยู่ปักกิ่ง จางเคยชินกับ "สองวัฒนธรรม" มาตั้งแต่เด็ก และต้องขอขอบคุณการจัดการครอบครัวแบบ "นักบินอวกาศ" (astronaut) ที่ใช้เรียกครอบครัวซูเปอร์รวย ที่วางเส้นทางความสำเร็จให้ลูกไปสู่จุดที่สูงที่สุดและก็ได้ผล จางพูดภาษาอังกฤษสำเนียงแคลิฟอร์เนีย เป็นกีฬาเรือกรรเชียงของ Harvard และใช้ภาษาสเปนได้ในระดับ "เชี่ยวชาญ"

จางเป็นเพียงส่วนประกอบเกลียวคลื่นคน Gen Z ที่กำลังจะม้วนกลับเข้าหาแผ่นดินใหญ่ ยอมละทิ้ง "สัญชาติ" และ "งาน" ในต่างประเทศที่เคยเป็นที่ปรารถนา สวนทางกับที่จีนกำลังเผชิญการอพยพไหลออกของเหล่าอภิมหาเศรษฐี และการไหลออกของเงินทุน ท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และการรับรู้ถึงความรู้สึก "เป็นปรปักษ์" ต่อชาวจีนเพิ่มขี้นในต่างประเทศ 

คน Gen Z ลูกหลานมหาเศรษฐีจีนหนีกลับแผ่นดินใหญ่

ข้อมูลจากเครือข่ายข้อมูลทรัพยากรบุคคลและประกันสังคม ( Human Resources and Social Security Information Network) ระบุว่าเมื่อปี 2565 จำนวนของชาวจีนโพ้นทะเลที่จบการศึกษาและเดินทางกลับประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ 8.6% และแม้ว่าจำนวนชาวจีนที่กำลังศึกษาต่อในต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น แต่คนที่เลือกที่จะแห่กันกลับบ้านก็มากขึ้นเช่นกัน 

อัตราส่วนของผู้ที่เดินทางกลับ ต่อผู้ที่ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 23% ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษเป็น 82% ในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่นักศึกษาชาวจีนโพ้นทะเลมากกว่า 580,000 คน พากันเดินทางกลับบ้าน 

คน Gen Z ลูกหลานมหาเศรษฐีจีนหนีกลับแผ่นดินใหญ่

ชาว  Gen Z เกิดในช่วงความสัมพันธ์ที่รุ่งเรืองระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ในยุคโลกาภิวัฒน์ แต่ปัจจุบันพวกเขากำลังเผชิญโลกที่แตกต่างออกไปอย่างมาก เป็นโลกของ "ลัทธิการกีดกันทางการค้า" (protectionist world) ผู้ผลิตพากันย้ายการผลิตออกจากจีน สหรัฐฯ กับพันธมิตรจำกัดการเข้าถึงเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำสมัย จีนต้องเข้มงวดการไหลเวียนของข้อมูล และเผชิญข้อกล่าวหาเรื่องการโจรกรรมเทคโนโลยี การยืนอยู่กันคนละฝั่งของสองชาติมหาอำนาจที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้ชีวิตของเหล่านักศึกษาที่มีความทะเยอทะยานของจีน ถูกปฏิเสธการขอวีซ่าในต่างประเทศ และอัตราการว่างงานที่บ้านเกิดก็เพิ่มขึ้น

มาแชล เจน ที่ปรึกษาหลักของบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัว G. Li & Co. ให้ความเห็นว่าชาว Gen Z เข้าใจถึงความยากลำบากของการอยู่ในประเทศจีน แต่พวกเขารู้สึกว่ามีโอกาสมากขึ้น ถ้าพยายามขยายธุรกิจในเอเชีย ซึ่งเจนเองก็มีฐานะมั่งคั่ง พ่อของเขาเป็นเจ้าของหนึ่งในผู้ประกอบการโรงเรียนนานาชาติ ที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเขาบอกด้วยว่า ลูกค้าของเขาก็ไม่อยากไปยุโรปหรืออเมริกาเหนือเช่นกัน