svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

จุดจบเรือดำน้ำไททันสะเทือนธุรกิจท่องเที่ยวทะเลลึก เสี่ยงเจอคดีฟ้องร้อง

การท่องเที่ยวใต้ทะเลลึกเติบโตขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงมากมาย โดยมีกฎเกณฑ์ควบคุมเพียงเล็กน้อย จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมของเรือดำน้ำไททัน และบริษัทโอเชียนเกตอาจเผชิญคดีฟ้องร้อง แม้ให้นักเดินทางเซ็นสละสิทธิเอาผิดใด ๆ ก็ตาม

จุดจบเรือดำน้ำไททันสะเทือนธุรกิจท่องเที่ยวทะเลลึก เสี่ยงเจอคดีฟ้องร้อง เหตุการณ์เรือดำน้ำไททันหายไปพร้อมกับ 5 ชีวิต ขณะดำดิ่งลงไปในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเพื่อชมซากเรือไททานิก  ที่มีค่าตั๋วใบละ 250,000 ดอลลาร์ต่อคน  ได้จุดความสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใต้ทะเลลึกที่ยังไม่มีกฎข้อบังคับควบคุมเท่าใดนัก และกำลังเติบโตมากขึ้นด้วยการอุปถัมภ์จากอภิมหาเศรษฐี    

โอเชียนเกต เอ็กซ์พิดิชัน กระโดดเข้าสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวใต้ทะเลลึก ด้วยการเริ่มให้บริการนำนักท่องเที่ยวไปชมซากเรือไททานิกในปี 2564 ด้วยเรือดำน้ำไททัน ที่ถูกระบุว่า มีความยาว 6.7 เมตร และสามารถดำน้ำได้ลึก 4,000 เมตร

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทะเลลึกมีความเหมือนกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอวกาศ ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงหลายปีนี้ แต่มีข้อบังคับควบคุมเพียงเล็กน้อย และการท่องเที่ยวแบบเอ็กซ์ตรีมเช่นนี้ มักรอดพ้นจากการสอดส่องของภาครัฐจนกว่าจะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง ที่ทำให้ต้องเข้ามากำกับควบคุม 

จุดจบเรือดำน้ำไททันสะเทือนธุรกิจท่องเที่ยวทะเลลึก เสี่ยงเจอคดีฟ้องร้อง โอเชียนเกตเคยได้รับคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญว่า เรือดำน้ำไททันควรมีใบรับรองมาตรฐาน และระบุว่า แนวทางให้บริการนำเที่ยวในเชิงการทดลอง และการไม่ยอมให้องค์กรขั้นนำตรวจสอบความปลอดภัยของเรือดำน้ำไททัน อาจนำไปสู่หายนะ รวมทั้งแสดงความกังวลเกี่ยวกับวิธีการสร้างไททันอีกด้วย

แต่บริษัทชี้แจงในบล็อกเมื่อปี 2562 กรณีเรือดำน้ำไททันไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดประเภทเรือ ที่ยานพาหนะในมหาสมุทรจำเป็นต้องมี โดยอ้างว่า การออกแบบนวัตกรรมใหม่ไม่อาจถูกตัดสินได้จากมาตรฐานข้อบังคับที่มีอยู่ และคำว่า นวัตกรรม ย่อมหมายถึง สิ่งที่อยู่นอกระบบที่ได้รับการยอมรับอยู่แล้ว

ผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า จริง ๆ แล้ว ข้อบังคับในอุตสาหกรรมมีความเข้มงวด และโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่โอเชียนเกตหลีกเลี่ยงข้อบังคับด้วยการให้บริการนำเที่ยวใต้ทะเลลึกในบริเวณที่เป็นน่านน้ำสากล  จุดจบเรือดำน้ำไททันสะเทือนธุรกิจท่องเที่ยวทะเลลึก เสี่ยงเจอคดีฟ้องร้อง

จุดจบเรือดำน้ำไททันสะเทือนธุรกิจท่องเที่ยวทะเลลึก เสี่ยงเจอคดีฟ้องร้อง หนึ่งในผู้โดยสาร ที่เดินทางไปกับเรือดำน้ำไททันในปีที่แล้ว เปิดเผยว่า ผู้โดยสารจำเป็นต้องเซ็นสัญญาสละสิทธิใด ๆ โดยระบุถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การบาดเจ็บทางกาย ความพิการ, การสะเทือนใจอย่างรุนแรง หรือ การเสียชีวิต

การสละสิทธิเรียกร้องความรับผิด เป็นเรื่องที่แพร่หลายในแวดวงกีฬาและกิจกรรมแนวเอ็กซ์สตรีม แต่ผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า สัญญาสละสิทธิไม่เพียงพอคุ้มครองโอเชียนเกตจากการฟ้องร้องได้ และครอบครัวของผู้เสียชีวิต ซึ่งร่ำรวยมหาศาล อาจยื่นฟ้องเอาผิดกับบริษัทไม่ใช่เพื่อเรียกเงินชดเขย แต่ต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น และอาจเพราะความโกรธแค้น

การยื่นฟ้องน่าจะยื่นต่อศาลในสหรัฐฯ เพราะบริษัทโอเชียนเกตมีสำนักงาน และสร้างไททัน ที่รัฐวอชิงตัน และสัญญาอาจเซ็นในสหรัฐฯ ด้วย แต่ความซับซ้อนอยู่ที่ไททันออกทะเลด้วยการลากจูงจากท่าเรือของแคนาดา และมีความเป็นไปได้ว่า อาจมีการยื่นฟ้องภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเสียชีวิตในทะเลหลวง และโจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า เจ้าของเรือดำน้ำไททัน ละเลย หรือ ตัดสินใจไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการเสียชีวิต หรือ เรือไม่ปลอดภัยสำหรับออกทะเล