svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

Nusantara เมืองหลวงมูลค่า 32,000 ดอลลาร์ ของอินโดนีเซีย

08 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย พยายามเดินสายดึงดูดนักลงทุนให้เข้าไปลงทุนในอภิมหาโครงการ "เมืองหลวงใหม่" มูลค่า 32,000 ล้านดอลลาร์ ที่เขายอมรับว่าแบกรับการลงทุนให้เพียง 20% ของโครงการเท่านั้น

การที่กรุงจาการ์ตา เผชิญสารพัดปัญหาตั้งแต่การจราจรติดขัดอย่างหนัก ผู้คนเคยชินต่อการติดอยู่บนถนนวันละ 4-5 ชั่วโมง ระดับมลพิษพุ่งสูง เสี่ยงเผชิญแผ่นดินไหวและน้ำท่วม จนได้รับการบันทึกว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่ค่อย ๆ จมน้ำทะเลเร็วที่สุดของโลก ซึ่งคาดว่าทั้งเมืองอาจจมน้ำในปี 2593 ทำให้ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด หรือ โจโกวี ต้องพยายามผลักดันโครงการสร้างเมืองหลวงใหม่ให้สำเร็จลุล่วง หลังจากนักลงทุนจากสิงคโปร์เดินทางไปดูสถานที่ ในการเปิดตัวครั้งแรก 

Nusantara เมืองหลวงมูลค่า 32,000 ดอลลาร์ ของอินโดนีเซีย

เมืองหลวงใหม่แห่งนี้มีชื่อว่า "นูซันทารา" (Nusantara) ซึ่งโจโกวีประกาศจะสร้างเมื่อ 3 ปีก่อน โดยตั้งอยู่บนผืนป่าทางตะวันออกของเกาะบอเนียว ห่างจากกรุงจาการ์ตาราว 1,200 กิโลเมตร และที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล ก็เพราะตั้งอยู่บนพื้นที่ 2,561 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่เป็น 3 เท่าของสิงคโปร์ 

คำว่า "นูซันตารา" เป็นคำประสมในภาษาชวา โดย "นูซา" ในภาษาชวาโบราณหมายถึง "หมู่เกาะ" ส่วนคำว่า "อันตารา" แปลว่า "นอก" ดังนั้น "นูซันตารา" จึงสามารถแปลได้ว่า "หมู่เกาะรอบนอก" ซึ่งหมายถึงหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย

Nusantara เมืองหลวงมูลค่า 32,000 ดอลลาร์ ของอินโดนีเซีย

ชื่อเมืองหลวงใหม่ยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระดับชาติ ที่เรียกว่า "วาวาซันนูซันตารา" (wawasan nusantara) แปลว่า "วิสัยทัศน์แห่งหมู่เกาะอินโดนีเซีย" สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นรัฐหมู่เกาะของอินโดนีเซีย และยังเป็น "signature project" ของโจโกวี ที่ต้องการผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ทันสมัย และเป็นผลงานที่โดดเด่นในการบริหารประเทศของเขา 

Nusantara เมืองหลวงมูลค่า 32,000 ดอลลาร์ ของอินโดนีเซีย

ในการไปร่วมการประชุม "Ecosperity Week" ที่สิงคโปร์ เขาได้พูดถึงข้อกังวลโดยตรงต่อโครงการนี้ ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาลิมันตันตะวันออก และมีมูลค่าในการก่อสร้างราว ๆ 32,000 ล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าจะสามารถดึงดูดการลงทุนและผู้คน ให้เติบโตได้เพียงพอกับการเป็นเมืองหลวงใหม่หรือไม่ และจะสามารถพัฒนาให้เป็นเมืองใหญ่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) หรือไม่ 

ความเป็นกลางทางคาร์บอน หมายถึงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่า หรือที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ก็คือการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ 

Nusantara เมืองหลวงมูลค่า 32,000 ดอลลาร์ ของอินโดนีเซีย

การประชุม Ecosperity Week จัดขึ้นที่ Sands Expo and Convention Centre ระหว่างวันที่ 6-8 มิถุนายน 2566 โดยมุ่งเน้นไปที่กระบวนการที่เรียกว่า Green transition หรือ กระบวนทัศน์ใหม่ที่มีความยั่งยืน 

โจโกวีได้พยายามสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน ว่าการพัฒนานูซันทาราจะมีความต่อเนื่อง เพราะรู้ดีถึงความวิตกของนักลงทุนว่า ถ้ารัฐบาลของเขาหมดวาระในปี 2567 รัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศใหม่ จะไม่สนับสนุน ขณะที่แผนสร้างเมืองหลวงใหม่ จะแบ่งออกเป็นระยะ ๆ และกำหนดแล้วเสร็จในปี 2588

Nusantara เมืองหลวงมูลค่า 32,000 ดอลลาร์ ของอินโดนีเซีย

การที่โจโกวีต้องเดินสายสร้างความมั่นใจให้มั่นใจให้นักลงทุน ก็เพราะรัฐบาลของเขาสามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพียง 20% และหวังว่าภาคเอกชนจะเข้ามาแบ่งเบาส่วนที่เหลือ ขณะที่เส้นตายของปฐมฤกษ์ในการเปิดตัวเฟสแรกกำลังใกล้เข้ามา และจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม ปี 2567 ก่อนการประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ตรงกับ "วันชาติของอินโดนีเซีย" 

Nusantara เมืองหลวงมูลค่า 32,000 ดอลลาร์ ของอินโดนีเซีย

logoline