svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

บทเรียนสิงคโปร์ ขึ้นค่าแรง-เงินเฟ้อพุ่ง

29 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้สิงคโปร์จะขึ้นชื่อในเรื่องของการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นอยู่ของพลเมืองก็น่าอิจฉา โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกปี แต่ปรากฎว่าการปรับขึ้นค่าแรงปีที่ผ่านมา ร่วงลงไปอยู่ระดับที่ต่ำสุดในรอบ 10 ปี เพราะวิกฤตเงินเฟ้อ

กระทรวงแรงงานของสิงคโปร์ (MOM) แถลงว่า ได้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 0.4% เมื่อปี 2565 แต่อัตราที่ปรับขึ้นสวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งไปที่ 6.5% สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งต่ำกว่าปีก่อน ที่ปรับขึ้น 1.6% อันแสดงให้เห็น อัตราการเติบโตของค่าจ้างขั้นต่ำที่แท้จริงของปีที่แล้ว ว่า "ลดลงอย่างมาก" ขณะที่ระดับอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้ที่ 2.3%

กระทรวงแรงงานระบุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความพยายามของบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการปรับค่าจ้างให้พนักงานบางคน ที่ประสบปัญหาถูกลดค่าจ้างในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ตลอดจนการปรับค่าจ้างที่สูงขึ้นให้กับพนักงานคนอื่น ๆ เพื่อรักษาพวกเขาเอาไว้ท่ามกลางการแข่งขันแย่งชิงแรงงาน

บทเรียนสิงคโปร์ ขึ้นค่าแรง-เงินเฟ้อพุ่ง

ที่จริงปัญหานี้ส่อเค้าตั้งแต่ปีที่แล้ว ว่าผู้มีรายได้น้อยจะเผชิญกับปัญหาการเติบโตของค่าแรงในระดับที่ต่ำสุด และค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัว และยังมีการอ้างอิงงานวิจัยของ DBS Bank Singapore ผู้ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ด้วยว่า ค่าแรงของผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2,500 ดอลลาร์สิงคโปร์ (65,500 บาท) ต่อเดือน สามารถปรับขึ้นได้ในอัตรา 2.5% ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2564 แต่ปีที่แล้วหดลงเหลือ 0.4% 

บทเรียนสิงคโปร์ ขึ้นค่าแรง-เงินเฟ้อพุ่ง

ยังมีผลสำรวจของลูกค้ารายย่อยของธนาคารกว่า 1.2 ล้านราย ที่ระบุว่าผู้ที่มีค่าแรงต่ำกว่า 2,500 ดอลลาร์สิงคโปร์ มักเป็นผู้สูงอายุที่มีความสามารถในการหารายได้ที่ต่ำ หรือเป็นผู้ใช้แรงงานที่มีความสามารถวิชาชีพไม่สูง ซึ่งแม้จะมีการปรับค่าแรงและสวัสดิการพนักงานขึ้น แต่รายได้ของลูกค้าเกือบครึ่งหนึ่งในผลสำรวจยังคงต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ 

บทเรียนสิงคโปร์ ขึ้นค่าแรง-เงินเฟ้อพุ่ง

logoline