svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาเซียน เร่งรับมือเอลนีโญ

24 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ภูมิภาคอาเซียนมีอากาศเย็นลงในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา แต่ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญเตือนให้ระวังว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญที่ใกล้เข้ามา อาจเสี่ยงทำให้ภูมิภาคนี้เกิดไฟป่าบ่อยขึ้น เพราะอากาศร้อนแห้งแล้ง ปัญหาหมอกควันจึงอาจรุนแรงขึ้นด้วย

มีแนวโน้มที่ปรากฏการณ์เอลนีโญ อาจเสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันครั้งรุนแรงซ้ำรอยเมื่อปี 2015 ซึ่งตอนนั้น ได้เกิดไฟป่าลุกไหม้ป่าพรุแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนเกิดหมอกควันตามมา  

ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงเตือนให้ภูมิภาคนี้เร่งเตรียมการรับมือปัญหาหมอกควันที่อาจรุนแรงขึ้นอีกรอบ จากปัจจุบัน ที่ปัญหานี้ก็แรงอยู่แล้วในภาคเหนือของอาเซียน ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศเลวร้ายที่สุดในรอบสิบปีที่ผ่านมา  เป็นผลมาจากการเผาตอซังข้าวและซังข้าวโพดตามฤดูกาล 
ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาเซียน เร่งรับมือเอลนีโญ

ผู้อำนวยการองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร  Global Environment Centre (GEC)ในมาเลเซีย บอกว่า แม้มันยังเร็วเกินไปที่จะตำหนิบริษัทหรืออุตสาหกรรมบางกลุ่มว่า เป็นต้นตอก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันในพื้นที่ทางเหนือของอาเซียน  

 แต่ที่ผ่านๆ มา  ปัญหานี้ มีความเชื่อมโยงกับการขยายตัวของระบบเกษตรแบบพันธสัญญาที่นำมาใช้กับการปลูกข้าวโพด ป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก  นอกจากนี้ การเผาฟางข้าวและกากของเหลือจากการเกษตรก็มีส่วนก่อให้เกิดหมอกควันเช่นกัน 
 
แต่ตอนนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์กำลังเป็นห่วงว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญที่ใกล้เข้ามา อาจทำให้ปัญหาหมอกควันในอาเซียนรุนแรงขึ้น  เพราะเอลนีโญทำให้เกิดภัยแล้ง 

ในช่วงไม่กี่ปีก่อน  อากาศในภูมิภาคอาเซียนดูเย็นลง เป็นผลจากปรากฏการณ์ ลานีญา ที่เกิดติดต่อกันอย่างแปลกประหลาด  แต่ผู้เชี่ยวชาญในสิงคโปร์บอกว่า ตอนนี้ สภาพอากาศกำลังเปลี่ยนไปในแบบของเอลนีโญ

เอลนีโญ และลานีญา เป็นปรากฏการณ์คู่ตรงข้าม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศเหนือบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก   เอลนีโญจะทำให้อากาศอุ่นขึ้น  ส่วนลานีญาจะทำให้อากาศเย็นลง ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาเซียน เร่งรับมือเอลนีโญ
 

ครั้งสุดท้ายที่เกิดเอลนีโญ ก็คือปี 2016 ทำให้ไฟป่าในอาเซียนรุนแรงขึ้น  ส่วนใหญ่เกิดตรงป่าพรุในอินโดนีเซีย  ที่ถูกระบายน้ำออกเพื่อนำไปทำเป็นสวนปาล์มน้ำมัน เยื่อกระดาษและการผลิตกระดาษ  คร่าชีวิตประชาชนถึง 1 แสนคน จากการสูดดมควันและต้องใช้งบ 3 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท กว่าที่สถานการณ์จะได้รับการควบคุม

ส่วนปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ใกล้เข้ามาในตอนนี้ ก็ส่งผลให้เกิดคลื่นความร้อนอย่างกะทันหัน ทำให้ปี 2023 ร้อนกว่าปี 2022  อาจส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารและน้ำ  และปัญหาความยากจนในอีกหลายล้านคน 

ผู้อำนวยการองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร  Global Environment Centre (GEC)ในมาเลเซีย บอกว่า ความรุนแรงของไฟป่าและปัญหาหมอกควันในปีนี้ ขึ้นอยู่กับภัยแล้งและมาตรการป้องกันไฟป่า  ซึ่งก็มีความเสี่ยงว่า บางประเทศในแถบอาเซียน ดูจะชะล่าใจ หลังสภาพอากาศเย็นลงติดต่อกันมาหลายปี 

แต่ในส่วนของอินโดนีเซีย ควรเตรียมตัวให้ดีกว่าปี 2015 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าตรงบริเวณป่าพรุขึ้นมาอีก   โดยมีสาเหตุมาจากการระบายน้ำออกจากป่าพรุเพื่อให้บริษัทอุตสาหกรรมได้เข้ามาเพาะปลูก แต่การทำเช่นนี้ จะทำให้ป่าพรุติดไฟง่ายและไหม้ลามยืดเยื้อ  เพราะดินของป่าพรุที่เต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนจะลุกไหม้อยู่ภายใน 

ผู้อำนวยการองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร  Global Environment Centre (GEC)ในมาเลเซีย  ไม่คิดว่า ภัยแล้งและปัญหาหมอกควันที่อาจเกิดกับอาเซียนปีนี้ จะแรงเท่าปี 2015 แต่ก็มองว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญมันยากต่อการคาดเดา 

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียระบุว่า มีโอกาส 50% ที่จะเกิดเอลนีโญปีนี้ และเตือนเกษตรกรรวมถึงบริษัททางการเกษตรให้เฝ้าระวัง  อินโดนีเซียเคยเกิดหมอกควันครั้งรุนแรงและแพร่ลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านมาแล้ว ทั้ง สิงคโปร์และมาเลเซีย เมื่อปี 1997 2015 และ 2019 ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาเซียน เร่งรับมือเอลนีโญ ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาเซียน เร่งรับมือเอลนีโญ


 

logoline