svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

ลุ้น SET Index ฟื้น ! ชูหุ้นอิงการบริโภคในประเทศ ตัวไหนน่าเก็งกำไรเช็กเลย

26 พฤษภาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าแกว่งไซด์เวย์ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว 1,360 – 1,385 จุด เกาะติดเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ - การเมืองในประเทศ ชูหุ้นอิงการบริโภคในประเทศ ตัวไหนน่าลงทุนเช็กรายละเอียดกันเลย

นายฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บล. กรุงศรีพัฒนสิน เปิดเผยกับ Nation STORY ว่า  ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าแกว่งไซด์เวย์    กรอบการเคลื่อนไหว 1,360 – 1,385 จุด โดยปัจจัยสำคัญคือ ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ  และติดตามความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือ เฟด  

ส่วนภายในตลาดรอส่วนภายในตลาดรอติดตามพัฒนาการการเมือง  แต่จุดที่เป็นปัจจัยบวกคือ  1. กำไรตลาดหุ้นไทยเริ่มยืน 92 บาท ได้ Downside ในการปรับลงน้อยลง

 2. ภาพเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว รัฐเร่งเดินหน้ากระตุ้นทั้งท้องเที่ยว  การลงทุน การบริโภค มองมี Upside จาก GDP เพิ่มเติม และความคาดหวัง LTF จะกลับมา

โดยรวมยังคงมองหุ้นนำสัปดาห์นี้ กลุ้มอิงบริโภคภายใน  กลุ่มธนาคาร กลุ่มเครื่องดื่ม กลุ่มอิงภาคผลิต กลุ่มส่งออก แนะนำเน้นลงทุน  OSP, MINT, BBL, IVL

ลุ้น SET Index ฟื้น ! ชูหุ้นอิงการบริโภคในประเทศ ตัวไหนน่าเก็งกำไรเช็กเลย

 

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย

•    28 พ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนพ.ค. คาด 96 จุด จากเดิมอยู่ที่  97 จุด

•  30 พ.ค. จีดีพีไตรมาส 1/67 รายงานครั้งที่สอง คาด 1.2% q-q จากเดิมอยู่ที่ 1.6%q-q, •  31 พ.ค. รายได้ครัวเรือน เม.ย. คาด +0.3%m-m จากเดิมอยู่ที่  +0.5%m-m และ การใช้จ่ายครัวเรือน เม.ย. คาด +0.3%m-m จากเดิมอยู่ที่  +0.8%m-m

•    31 พ.ค. ติดตามเงินเฟ้อ PCE เดือนเม.ย. ของสหรัฐฯ  คาด +2.7%y-y, +0.3%q-q เท่าเดือนก่อนและ PCE พื้นฐาน คาด 2.8%y-y เท่าเดือนก่อนเช่นกัน

•  ติดตามการให้ความเห็นของคณะกรรมการเฟด

•   31 พ.ค. ติดตามรายงาน PMI ของทางการจีน ภาคผลิตคาด 50.4 จุด เท่าเดือนก่อน นอกภาคผลิตคาด 51.4 จุด เท่าเดือนก่อนเช่นกัน

•  31 พ.ค. ติดตามรายงาน CPI พ.ค.ของสหภาพยุโรป(อียู)  คาด +2.6%y-y จากเดิม +2.4%y-y  และเงินเฟ้อ CPI พื้นฐาน คาด +2.8%y-y จากเดิมอยู่ที่  +2.7%y-y

•  31 พ.ค. ติดตามรายงานดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม เม.ย.ของญี่ปุ่น คาด +1.7% m-m จากเดิมอยู่ที่ +4.4%m-m, อัตราการว่างงาน เม.ย. คาด 2.6% เท่าเดือนก่อน

•  31 พ.ค. ติดตามรายงานดุลบัญชีเดินสะพัด เม.ย ไม่มีคาด เดือนก่อน เกินดุล 1,082 ล้านเหรียญ

 

ลุ้น SET Index ฟื้น ! ชูหุ้นอิงการบริโภคในประเทศ ตัวไหนน่าเก็งกำไรเช็กเลย

นายวทัญ จิตต์สมนึก ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์ บล.พาย (PI)  เปิดเผยถึงภาวะตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้ากับ Nation STORY ว่า  วันศุกร์ที่ผ่านมาสหรัฐฯเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจประกอบไปด้วย (1) คำสั่งซื้อสินค้าคงทนและคำสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐานขยายตัว 0.7%MoM และ 0.4%MoM ตามลำดับ ดีกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ -0.9%MoM และ 0.1%MoM ตามลำดับ

ขณะที่รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขยับขึ้นเป็น 69.1 ดีกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 67.8 ซึ่งโดยรวมแล้วตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาในทิศทางให้ปัจจัยบวกด้านเศรษฐกิจ กดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 2 ปีเริ่มกลับมาปรับขึ้น และ CME FED Watch เริ่มลดโอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยจากเดิมประเมินไว้ว่าการประชุมเดือนกันยายนจะลดดอกเบี้ย แต่ปัจจุบันให้น้ำหนักประชุมเดือนกันยายนคงดอกเบี้ยนโยบายด้วยโอกาส 50%

ส่วนของความเชื่อมั่นผู้บริโภครายละเอียดภายในพบว่าแม้จะดีกว่าคาดการณ์แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าปรับลง 10% โดยผู้บริโภคกังวลกับตลาดแรงงานกับการเร่งขึ้นของอัตราการว่างงานและรายได้เติบโตในอัตราที่ช้าลง ด้วยปัจจัยข้างต้นที่แย่ลงก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านลบต่อการบริโภค

อย่างไรก็ตามหากเทียบกับปีก่อนความเชื่อมั่นยังขยายตัว 20% ส่วนสัปดาห์นี้รอติดตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากอีกสถาบัน (CB) ในวันอังคาร Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 96.1 และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (GDP Growth 1Q24) วันพุธ ช่วงกลางคืน Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 1.3%QoQ และวันศุกร์ตัวเลขสำคัญอย่างเงินเฟ้อ (PCE) Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 2.7%YoY , 0.3%MoM และประเมินเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ไว้ที่ 2.8%YoY , 0.2%MoM หากรายงานแล้วต่ำกว่าคาดการณ์จะเป็นปัจจัยบวก

ส่วนในประเทศรอติดตามภาวะเศรษฐกิจรายเดือนจากทั้งสภาพัฒน์และธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับของธนาคารแห่งประเทศไทยจะรายงานในวันศุกร์รวมไปถึงดุลบัญชีเดินสะพัด Bloomberg Consensus ประเมินไว้เกินดุลบัญชีเดินสะพัด 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากรายงานแล้วเกินดุลมากกว่าคาดการณ์จะเป็นบวกกับค่าเงินบาทรวมถึงตลาดหุ้น

สำหรับสัปดาห์หน้าประเมิน SET INDEX เคลื่อนไหวในกรอบ 1,345 – 1,380 เชิงกลยุทธ์การลงทุนยังแนะทยอยสะสมเช่นเดิมจากระดับ Valuation ที่น่าสนใจและทิศทางเศรษฐกิจกำลังค่อยๆฟื้นตัว แม้จะมีความกังวลปัจจัยการเมืองแต่ก็เชื่อว่าท้ายที่สุดจะผ่านไปได้ แนะนำ

- กลุ่มค้าปลีก (CPALL, DOHOME, GLOBAL, HMPRO)

- ศูนย์การค้า (CPN)

- ธนาคารพาณิชย์ (BBL ,KBANK ,KTB, SCB)

- ท่องเที่ยว (AOT, CENTEL ,MINT)

- เครื่องดื่ม (CBG, ICHI ,TACC)

 

 

logoline