svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

ต่างชาติเทขายหุ้นไทย-พันธบัตร 6.2 หมื่นล้านบาทเพราะอะไร

27 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แบงก์กรุงศรีอยุธยาประเมินค่าเงินสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบ 34.80-35.50  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เกาะติดเงินเฟ้อ PCE-การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เปิดสถิติตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.-ปัจจุบันบาทอ่อนรั้งอันดับ 4 ในภูมิภาค ระบุต่างชาติเทขายหุ้นไทย-พันธบัตร 6.2 หมื่นล้านบาท

น.ส. รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยกับ Nation Online ว่า  ค่าเงินบาทสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบ 34.80-35.50  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อ PCE เดือนก.ค.และการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.ของสหรัฐฯ

นอกจากนี้การที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดเปิดช่องไว้สำหรับการขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯดีเกินคาด ขณะที่เงินเฟ้อชะลอลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่า

สำหรับการเคลื่อนไหวของสกุลเงินในภูมิภาคในช่วง 1 ส.ค. - 25 ส.ค.  พบว่าวอน-เกาหลีใต้อ่อนค่ามากสุด  3.81% รองลงมาเป็นริงกิต-มาเลเซีย 3.03% เปโซ-ฟิลิปปินส์  2.92% บาท-ไทย 2.57% หยวน-จีน  2.01% ดอลลาร์-สิงคโปร์ 1.97% รูเปียห์-อินโดนีเซีย 1.42% ดอลลาร์-ไต้หวัน  1.35% ดอง-เวียดนาม 1.29% รูปี-อินเดีย 0.51%

อย่างไรก็ตาม  ตั้งแต่เดือนส.ค.-ปัจจุบันต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 1 หมื่นล้านบาท ขายพันธบัตรสุทธิ 5.2 หมื่นล้านบาท โดยจำนวนดังกล่าวมีตราสารครบอายุ 1.8 หมื่นล้านบาท

สาเหตุที่กระแสเงินทุนยังไม่ไหลเข้าไทยมากนักแม้มีความชัดเจนทางการเมืองเป็นผลมาจาก

- ตลาดยังกังวลเกี่ยวกับภาวะดอกเบี้ยสหรัฐฯสูงยาวนาน

- เศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง

ต่างชาติเทขายหุ้นไทย-พันธบัตร 6.2 หมื่นล้านบาทเพราะอะไร

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ Nation Online ว่า  เงินบาทสัปดาห์หน้ามีแนวโน้มผันผวน sideway โดยมีโอกาสอ่อนค่าลงได้บ้าง เพราะถึงแม้ว่าโมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทแม้จะแผ่วลงตามที่เราประเมินไว้

แต่แรงกดดันฝั่งอ่อนค่าก็เริ่มกลับมาอีกครั้ง หลังเงินดอล ลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น ซึ่งต้องรอลุ้นว่า ราย งานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ จะออกมาในทิศทางไหน 

โดยหากยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ชะลอลงตามคาด และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) ก็ชะลอลง เราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดก็จะทยอยลดโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อลงได้ ซึ่งอาจหยุดการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ และอาจกดดันให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้บ้าง

แต่หากรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงออกมาแข็งแกร่งและดีกว่าคาด ก็อาจยิ่งหนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งจะกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้านสำคัญแถว 35.50 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก 

ต่างชาติเทขายหุ้นไทย-พันธบัตร 6.2 หมื่นล้านบาทเพราะอะไร

นอกจากนี้ควรจับตาทิศทางค่าเงินหยวนของจีน ซึ่งจะขึ้นกับรายงานข้อมูลดัชนี PMI รวมถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของทางการจีน ว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดการเงินได้มากน้อยเพียงใด โดยหากเงินหยวนยังคงอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ก็อาจกดดันให้สกุลเงินฝั่งเอเชียโดยรวมมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงได้เช่นกัน 

สำหรับสถานการณ์การเมืองไทยที่เริ่มมีความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลผสมมากขึ้น หลังการโหวตเลือกนายกฯ ได้เสร็จสิ้นลง อาจหนุนให้นักลงทุนต่างชาติทยอยกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยมากขึ้นได้ ซึ่งฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่จะทยอยไหลเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยก็อาจช่วยลดทอนแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าของเงินบาทและอาจช่วยหนุนการแข็งค่าของเงินบาทได้ หากปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่าทยอยลดลง

ทั้งนี้มองว่าการแข็งค่าของเงินบาทก็อาจมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากในช่วงปลายเดือน บรรดาผู้นำเข้าต่างก็รอทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์ โดยมีโซน 34.90-35.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นโซนแนวรับแรก และโซน 34.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นแนวรับสำคัญถัดไป 

ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อค่าเงินบาท 

- เงินบาทยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปตามทิศทางของทั้งเงินดอลลาร์ ราคาทองคำ รวมถึงทิศทางค่าเงินฝั่งเอเชีย (จับตาทิศทางเงินหยวนจีน) โดยตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลการจ้างงานฝั่งสหรัฐฯ รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด

ปัจจัยในประเทศ

- ควรจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ว่าจะทยอยกลับเข้าตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่องมากน้อยเพียงใด หลังการโหวตเลือกนายกฯ ได้เสร็จสิ้นลงและกำลังอยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งรัฐบาลผสม

ไฮไลท์ ข้อมูลเศรษฐกิจ

- สหรัฐฯ ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ผ่านทั้งถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) 
 
- ยุโรป ผู้เล่นในตลาดจะประเมินแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB 

เอเชีย ตลาดจะรอจับตารายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการของจีน ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) รวมถึงยอดค้าปลีก (Retail Sales)

- ไทย ควรจับตาการจัดตั้งรัฐบาลผสมภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต


รายงานข่าวจากธนาคารกสิกรไทยแจ้งว่า กรอบการเคลื่อน ไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้าอยู่ที่ 34.90-35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  จับตารายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือน ก.ค. ปัจจัยทางการเมืองของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติและค่าเงินหยวน  

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ดัชนี PMI  ดัชนี ISM ภาคการผลิตเดือน ส.ค. ผลสำรวจแรงงาน JOLTS ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) เดือน ก.ค. และจีดีพีไตรมาส 2/66 (prelim.)

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามอัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค. ของยูโรโซน และดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน ส.ค. ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษด้วยเช่นกัน

นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวแถลงสุนทรพจน์ในการประชุมที่เมืองแจ็กสันโฮลว่า เฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ โดยสัญญาอัตราดอกเบี้ยบ่งชี้ว่า มีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ย.และธ.ค.

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 47.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.50-5.75% ในการประชุมวันที่ 1 พ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 43.5% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50%

นอกจากนี้ นักลงทุนเริ่มให้น้ำหนัก 9.0% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 5.75-6.00% ในการประชุมเดือนพ.ย. ส่วนในการประชุมเดือนก.ย. นักลงทุนยังคงคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50%

logoline