svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ธุรกิจ-การตลาด

"ปศุสัตว์" แจง ไร้สวมสิทธิ์ส่งออกไก่ ชี้การตรวจสอบของ GACC เป็นขั้นตอนปกติ

17 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ปศุสัตว์" แจง ไร้สวมสิทธิ์ส่งออกไก่ ชี้การตรวจสอบของ GACC เป็นขั้นตอนปกติ พร้อมเดินหน้ายกระดับมาตรฐานของกรมปศุสัตว์และปฏิบัติตามข้อกำหนดของ GACC อย่างเคร่งครัด

ตามที่ปรากฎข่าวเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 “พิรุธ! สวมสิทธิ์ส่งออก “ชิ้นส่วนไก่” ไป จีน จี้ “กรมปศุสัตว์” แจง สำทับข่าว “บิ๊ก ขรก.” ทำธุรกิจส่งออกไก่ด้วย” โดยเนื้อหารายละเอียดระบุว่า “สถานทูตฯศุลกากรจีน” พบยอดส่งออกชิ้นส่วนไก่จาก บ.ไทยแห่งหนึ่งสูงผิดปกติ และมีการส่งออก “กึ๋น” ในชื่อบริษัทเดียวกันด้วย และ มีคนในวงการคาดว่ามีขบวนการสวมสิทธิ์เพื่อส่งออกสินค้าปศุสัตว์ไปจีน

ล่าสุด 17 มีนาคม 2566 กรมปศุสัตว์ ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า โดยปกติหน่วยงานสำนักงานการศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ GACC มีการสุ่มตรวจประเมิน โรงงานโรงฆ่าสัตว์ปีกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับทาง GACC เป็นระยะอยู่แล้ว ซึ่งจะตรวจสอบด้านคุณภาพ มาตรฐานการผลิต และความปลอดภัยอาหารเป็นหลัก

"ปศุสัตว์" แจง ไร้สวมสิทธิ์ส่งออกไก่ ชี้การตรวจสอบของ GACC เป็นขั้นตอนปกติ

เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ GACC ตามพิธีสารระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แห่งราชอาณาจักรไทยกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยหลักเกณฑ์การตรวจสอบ การกักกัน และ สุขอนามัยทางสัตวแพทย์เพื่อการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกแช่แข็งและชื้นส่วนสัตว์ปีกจากประเทศไทยไปยังประเทศจีน

สำหรับโรงงานที่ได้รับการสุ่มตรวจล่าสุดนี้ เป็นการตรวจผ่านทางวิดีทัศน์ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งต่อมาทาง กรมปศุสัตว์ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงปักกิ่ง ลงวันที่ 14 มีนาคม 2566 แจ้งผล การตรวจประเมินจาก GACC โดยมีประเด็นต้องส่งข้อมูลเพิ่มเติมจำนวน 2 ข้อ คือ

1.ให้ยืนยันว่าโรงงานได้ส่งออกกึ๋นมายังประเทศจีนหรือไม่ หากมี ขอให้ชี้แจงข้อมูลมาด้วย

2.ขอให้นำส่งข้อมูลการผลิตของโรงงานดังกล่าวตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งทางกรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างการรวบรวม และจะต้องส่งให้ GACC พิจารณาภายใน 30 วัน ทั้งนี้ ทาง GACC ไม่ได้มีการแจ้งระงับการส่งออกของโรงงานดังกล่าว

"ปศุสัตว์" แจง ไร้สวมสิทธิ์ส่งออกไก่ ชี้การตรวจสอบของ GACC เป็นขั้นตอนปกติ

 

จากการตรวจสอบข้อมูลการผลิตของโรงงานดังกล่าวพบว่า ปริมาณการส่งออกสินค้าสัตว์ปีกไม่ได้เกินจากกำลัง การผลิตของโรงงานแต่อย่างใด ประกอบกับทางโรงงานได้มีหนังสือชี้แจงว่า สินค้าที่นำมาจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2566 เป็นสินค้าที่ถูกผลิตและจัดเก็บไว้ในโรงงาน และสินค้าดังกล่าวได้ผลิตสอดคล้องตาม มาตรฐานของประเทศไทยและข้อกำหนดตามพิธีสารโดยมีการกำกับดูแลจากเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ ในเรื่องการขายเป็น เรื่องการบริหารจัดการของทางโรงงาน ขึ้นกับคำสั่งซื้อของลูกค้า

ในกรณีการส่งออก กึ๋น ไปยังประเทศจีนนั้น ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าทางโรงงานมีการส่งออกกึ๋นจำนวน 24 ตันใน เดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยผ่านการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์อย่างถูกต้อง แต่เกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อนในการ ตอบคำถามของเจ้าหน้าที่โรงงานในวันตรวจประเมิน ประกอบกับโรงงานได้มีหนังสือชี้แจงว่ามีการผลิตและส่งออกกึ๋น จำนวน 24 ตันจากโรงงานดังกล่าวจริง

กรมปศุสัตว์ได้กำชับให้เจ้าที่กรมปศุสัตว์ที่ประจำอยู่ที่โรงงานกำกับดูแลมาตรฐานการผลิตให้เป็นไปตาม มาตรฐานของกรมปศุสัตว์และข้อกำหนดของ GACC อย่างเคร่งครัด หากพบว่าโรงงานปฏิบัติไม่สอดคล้องตามข้อกำหนด กรมปศุสัตว์จะดำเนินตามมาตรการที่เกี่ยวข้องต่อไป

"ปศุสัตว์" แจง ไร้สวมสิทธิ์ส่งออกไก่ ชี้การตรวจสอบของ GACC เป็นขั้นตอนปกติ

ทั้งนี้ ในการเจรจาและดำเนินการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ไปยังประเทศจีน ทางกรมปศุสัตว์ได้มีการติดต่อประสานงาน ผ่านทางสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง และทาง GACC อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การผลิตสินค้าของ ประเทศไทยที่ส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นไปตามพิธีสารที่กำหนดร่วมกัน ทำให้เกิดความมั่นใจในมาตรฐานการผลิตของประเทศไทย 

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีเนื่องจากความ เชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าที่มีต่อการกำกับดูแลของกรมปศุสัตว์ โดยในปี พ.ศ. 2565 มีการส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ แปรรูป (Frozen) ปริมาณ 1,070,687 ตัน คิดเป็นมูลค่า 153,236 ล้านบาท

โดยเป็นการส่งออกไปประเทศจีนปริมาณ 84,653 ตัน มูลค่าประมาณ 13,223 ล้านบาท  สำหรับการส่งออกปี 2566 (มกราคมถึงกุมภาพันธ์) โดยรวมส่งออกไปแล้ว 170,342 ตัน มูลค่า 23,132 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า ปี 2565 ในช่วงเวลาเดียวกัน 3.36 %

logoline