ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ GC ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ระบุ ESG เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวขององค์กร โดยบริษัทมีเป้าหมายในการเดินหน้าองค์กรสู่ธุรกิจเติบโตควบคู่การลดคาร์บอน โดยตั้งเป้าหมาย Commitment to Net Zero ภายในปี 2050 หรือปี 2593 รวมทั้งบริษัทยังปรับ Portfolio มุ่งสู่ธุรกิจ Hight Value and Low Carbon ด้วย
ปัจจุบัน GC มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และมุ่งสู่องค์กรยั่งยืน ที่คงความสามารถในการทำกำไรด้วยผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต โดยสอดคล้องกับเมกะเทรนด์ ตอบสนองต่อความต้องการ คำนึงถึงสุขภาพ สังคมเมือง ที่จะช่วยให้อยู่ในสังคมเมืองได้ดี รวมถึงเรื่องดิจิทัล ซึ่งบริษัทดำเนินการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจภายใต้สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คือ การเติบโตทางธุรกิจที่มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมครบทุกมิติ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และสร้างเสถียรภาพทางธุรกิจ
บริษัท วางกลยุทธ์ 3 Step Plus เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน มุ่งสู่ Hight Value and Low Carbon ประกอบด้วย 1. Step Change: ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
2.Step Out: แสวงหาโอกาสการเติบโตใหม่ๆ ในต่างประเทศ เพื่อก้าวสู่บริษัทระดับโลก และ ตอบโจทย์ธุรกิจ Low Carbon และ 3. Step Up: รักษาความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลกภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืนและการดำเนินงานด้าน Decarbonization ตามเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593 เพื่อมุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ รวมถึง Enablers for Transformation หรือ การเปลี่ยนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพร้อมสำหรับการเติบโต
กสิกรไทยกางแผนหนุนเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ขัตติยา อินทรวิชัย ระบุ ปัจจุบันภาพรวมของโลกมีการปล่อยคาร์บอนมากถึง 53,800 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ และในไทยปล่อยสูงถึง 372 ล้านตันคาร์บอนฯ ส่วนธนาคารกสิกรไทยมีการปล่อยคาร์บอนมากถึง 36 ล้านตันคาร์บอน โดยธนาคารกสิกรไทย ได้เริ่มมุ่งดำเนินการและพัฒนาสู่ความยั่งยืน และยังเป็นธนาคารพาณิชย์แรกที่ได้รางวัล dow jones sustainability index 8 ปีติดต่อกัน ซึ่งในเรื่องของ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ต้องทำไปพร้อมกัน
เริ่มจาก E (Environment : สิ่งแวดล้อม) การไปสู่เป้าหมายจะเป็นเน็ตซีโร่ในปี 2030 และเรื่องสินเชื่อสีเขียวเพื่อความยั่งยืนภายในปี 2030 ตั้งวงเงินไว้ที่ 1-2 แสนล้านบาท เพื่อสนับสนุนลูกค้าให้เปลี่ยนผ่านไปสู่เน็ตซีโร่ โดยในขณะนี้ได้ปล่อยสินเชื่อส่วนนี้ไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ ยังต้องช่วยลูกค้าภาคธุรกิจอย่างคู่ค้า ซัพพลายเออร์ในการปรับตัวเปลี่ยนแปลง เมื่อมาขอสินเชื่อจะต้องผ่านเกณฑ์เรื่อง ESG โดยจะดูว่าองค์กรนั้นมีนโยบายเกี่ยวกับสีเขียวหรือความยั่งยืนหรือไม่ ทำธุริจทำร้ายสิ่งแวดล้อมหรือไม่
S (Social : สังคม) ธนาคารกสิกรไทยพยายามทำให้บริการเงิน มีบริการดีๆราคาไม่แพง ยุติธรรม เข้าถึงได้ และ G (Governance : ธรรมาภิบาล) สิ่งที่ต้องทำคือต้องติดตามวัดผลและสนับสนุน โดยคณะกรรมการธนาคารกสิกรไทยดูแลให้ความสำคัญ และต้องรายงานข้อมูลแก่คณะกรรมการ รายงานเป้าหมายด้านงาน ESG