svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เริ่มวันนี้ ! ผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐต้องสแกนหน้า-กดรหัสคู่บัตร 6 หลัก

10 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดีเดย์วันนี้ ( 11 มี.ค.) กรมบัญชีกลางกำหนดให้ผู้ใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแอปพลิเคชันถุงเงิน ยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า พร้อมกดรหัสคู่บัตร หรือ PIN Code 6 หลัก ทุกครั้งในการชำระค่าสินค้า-บริการ

กรมบัญชีกลาง ดีเดย์วันนี้ (11 มี.ค.)  สำหรับประชาชนผู้มีสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้สิทธิที่ร้านค้าหรือผู้ประกอบการที่รับชำระค่าสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่นถุงเงิน จะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกดรหัสคู่บัตร PIN 6 หลัก และให้ร้านค้าหรือผู้ประกอบการสแกนใบหน้าทุกครั้ง

ยกเว้น กลุ่มผู้มอบอำนาจให้ดำเนินการแทน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้สูงอายุที่เดินทางไปยืนยันตัวตนเองไม่ได้ เป็นต้น และกลุ่มผู้ที่สแกนใบหน้า ไม่ผ่านตั้งแต่ขั้นตอนยืนยันตัวตน (e-KYC)  เพื่อให้การรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ จากแอปพลิเคชั่นถุงเงิน เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและโปร่งใส


โดยปัจจุบันมีร้านค้าและผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแอป พลิเคชันถุงเงินแล้วกว่า 100,000 ร้านค้า

สำหรับกรณีที่รหัสคู่บัตร (PIN Code) 6 หลัก ถูกล็อก ให้ดำเนินการ ดังนี้

1. หากผู้ใช้สิทธิยังจำรหัสเดิมได้ สามารถติดต่อขอปลดล็อกได้ด้วยตนเองผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ Welfare Call Center 0-2109-2345 หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ ในวันและเวลาทำการ (จันทร์-ศุกร์) ระหว่างเวลา 08.30-17.30 น.

2. กรณีที่ต้องการเปลี่ยนรหัสคู่บัตร (PIN Code) 6 หลัก สามารถดำเนินการด้วยตนเองผ่านตู้ ATM  ธนาคารกรุงไทย (เครื่อง ATM สีเทาที่มีปุ่ม “ทำรายการด้วยบัตรประจำตัวประชาชน”)

3. กรณีจำรหัสคู่บัตร (PIN Code) 6 หลักไม่ได้ ให้ติดต่อที่สาขาของ ธนาคารกรุงไทย เพื่อทำการยืนยันตัวตนใหม่ พร้อมกำหนดรหัสคู่บัตร (PIN Code) 6 หลัก

ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 0-2270-6400 ในวันเวลาทำการ

 

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้จ่ายอะไรได้บ้าง

- วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อคนต่อเดือน (สำหรับผู้มีสิทธิที่ยืนยันตัวตน 27 ม.ค. - 26 ก.พ. 2567 และเริ่มใช้สิทธิได้ 1 มี.ค. 2567 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง)

- วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (มกราคม - มีนาคม 2567)

สำหรับผู้มีสิทธิที่ได้ทำการยืนยันตัวตน (e-KYC) แล้ว ภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 จะได้รับการโอนเงินผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้

1. บัญชีร่วมกับบุคคลอื่นหรือบัญชีบุคคลอื่น ตามหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่นสำหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (เฉพาะกรณีผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่สามารถเปิดบัญชีหรือผูกพร้อมเพย์ได้)

หรือหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีบุคคลอื่นสำหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (เฉพาะกรณีผู้พิการผู้ป่วยติดเตียงและหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปที่ไม่สามารถเปิดบัญชีหรือผูกพร้อมเพย์ได้) หรือ

2. กรณีไม่มีบัญชีตาม (1) จะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิ (ต้องผูกพร้อมเพย์ภายในวันที่ 6 มีนาคม 2567)

วันที่ 11-13 มีนาคม 2567 

เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ได้รับสิทธิในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อัตรา 100 บาทต่อเดือน (มกราคม - มีนาคม 2567)

- วันที่ 11 มีนาคม 2567 สำหรับผู้มีสิทธิที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2495

- วันที่ 12 มีนาคม 2567 สำหรับผู้มีสิทธิที่เกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2495 - 31 ธันวาคม 2501

- วันที่ 13 มีนาคม 2567 สำหรับผู้มีสิทธิที่เกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2501 - 29 กุมภาพันธ์ 2507

 

วันที่ 20 มีนาคม 2567

- เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้มีสิทธิที่เป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือน ที่ยืนยันตัวตน 27 ม.ค. - 26 ก.พ. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง (โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิหรือบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท)

- วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือนประกอบด้วย

  • บขส.
  • รถไฟ
  • ขสมก.
  • รถไฟฟ้า MRT (สายสีน้ำเงิน สีม่วง) BTS (สายสีเขียว สีทอง สีเหลือง สีชมพู) ARL (Airport Rail Link สายสีแดง)
  • รถโดยสารเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

 

เริ่มวันนี้ ! ผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐต้องสแกนหน้า-กดรหัสคู่บัตร 6 หลัก

 

logoline