น.ส. รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยกับ Nation STORY ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวในกรอบ 35.70-36.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ติดตามข้อมูลดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนม.ค. ของไทย และเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ
สำหรับการเคลื่อนไหวของสกุลเงินในภูมิภาคช่วง 1 ก.พ.- 23 ก.พ. พบว่า เงินบาท-ไทยอ่อนค่ามากสุด 1.56% รองลงมาเป็นริงกิต-มาเลเซีย 1.05 % ดอลลาร์-ไต้หวัน 0.88% ดอง-เวียดนาม 0.71% หยวน-จีน 0.39% ดอลลาร์- สิงคโปร์ 0.22% ยกเว้น รูเปียห์-อินโดนีเซียแข็งค่า 1.19% เปโซ-ฟิลิปปินส์ 0.63% วอน-เกาหลีใต้ 0.27% รูปี-อินเดีย 0.18%
โดยเงินบาทยังคงอ่อนค่าสุดในกลุ่มสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย ขณะที่ในภาพรวม สกุลเงินต่างๆปรับตัวคละกันไปตามปัจจัยเฉพาะตัว
สาเหตุที่เงินบาทอ่อนค่ามากสุดในภูมิภาคเกิดจาก
อย่างไรก็ดี การเปิดรับความเสี่ยงในสัปดาห์ล่าสุด ช่วยให้เงินบาทลดช่วงลบได้บ้างจากกระแสเงินทุนที่ไหลกลับเข้ามา โดยต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทย 1.1 หมื่นล้านบาท แต่ขายพันธบัตร 1.8 หมื่นล้านบาท
สำหรับเศรษฐกิจยูโรโซนยังคงอ่อนแอกว่าสหรัฐฯแต่มองว่าการที่เฟดไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยได้ถูกสะท้อนอยู่ในราคาสินทรัพย์ต่าง ๆไปมากพอสมควรแล้ว ขณะที่จีนพยายามเรียกความเชื่อมั่นด้วยการกระตุ้นตลาดหุ้นและภาคอสัง หาริมทรัพย์ ซึ่งช่วยหนุนบรรยากาศการลงทุนและค่าเงินสกุลภูมิภาคได้บางส่วน
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวอาจทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง. มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยลง 1-2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวด ล้อม โดยเฉพาะแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เปลี่ยน แปลงอย่างมีนัยสำคัญ จากที่ กนง. เคยประเมินไว้และเชื่อว่าจะไม่มีประชุมนอกรอบ
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ Nation STORY ว่า ปัจจัยหลักที่กดดันค่าเงินบาทอ่อนค่ามาจาก
ขณะเดียวกัน มุมมองดังกล่าวของผู้เล่นในตลาดก็หนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.30% ซึ่งการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็ยิ่งกดดันให้ราคาทองคำมีจังหวะปรับตัวลดลง ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยเข้าซื้อทองคำในช่วงการปรับฐาน และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลง
- เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจไทย กอปรกับท่าทีของรัฐบาลที่ต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ช่วยลดดอกเบี้ยเพื่อประคองการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ก็ทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งมองว่า ธปท. อาจลดดอกเบี้ยลงไม่น้อยกว่า 2 ครั้งในปีนี้
- เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงตามโฟลว์ธุรกรรมซื้อน้ำมันดิบ หลังราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
- นักลงทุนต่างชาติก็ทยอยขายสินทรัพย์ไทยพอสมควร นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์
อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังพอได้แรงหนุนจากการพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นของเงินหยวนจีน (CNY) ตามความหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและการทยอยออกมาตรการของทางการจีนเพื่อเรียกความมั่นใจจากนักลงทุนในตลาดทุนจีน