รายงานข่าวจากสำนักงานประกันสังคมแจ้งว่า เทศกาลวันวาเลนไทน์ 2567 ส่งความรักและความห่วงใยผ่าน ประกันสังคมมาตรา 40 ให้คนที่รัก ด้วยการสมัครทำประกันสังคม โดยมี 3 ทางเลือกให้กับผู้ประกันตนมีรายละเอียดดังนี้
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน
- คุ้มครอง 3 กรณี กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน
- คุ้มครอง 4 กรณี กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพ
ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน
- คุ้มครอง 5 กรณี กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ หรือ แรงงานนอกระบบ เช่น ฟรีแลนซ์ เกษตรกร ค้าขาย เป็นต้น
กรณีเจ็บป่วย
- ทางเลือกที่ 1 กรณีนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท
กรณีไม่นอนโรงพยาบาล และมีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท และหากหยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท
กรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรวมกัน ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 30 วันต่อปี
- ทางเลือกที่ 2
กรณีนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท
กรณีไม่นอนโรงพยาบาล และมีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท และหากหยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท
กรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรวมกัน ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 30 วันต่อปี
- ทางเลือกที่ 3
กรณีนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท
กรณีไม่นอนโรงพยาบาล และมีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท แต่หากหยุดไม่เกิน 2 วัน จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
กรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรวมกัน ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 90 วันต่อปี
ทุพพลภาพ
- ทางเลือกที่ 1 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี และหากเสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
- ทางเลือกที่ 2 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี และหากเสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
- ทางเลือกที่ 3 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท ตลอดชีวิต และหากเสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
เสียชีวิต
- ทางเลือกที่ 1 ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท และหากจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท
- ทางเลือกที่ 2 ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท และหากจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท
- ทางเลือกที่ 3 ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท แต่จะไม่ได้รับเงินเพิ่ม หากจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต
ชราภาพ
- ทางเลือกที่ 1 ไม่ได้รับความคุ้มครอง
- ทางเลือกที่ 2 ได้รับเงินสมทบเดือนละ 50 บาท และผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
- ทางเลือกที่ 3 ได้รับเงินสมทบเดือนละ 150 บาท หากจ่ายสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท และผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
สงเคราะห์บุตร
- ทางเลือกที่ 1 และ 2 ไม่ได้รับความคุ้มครอง
- ทางเลือกที่ 3 ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)
คุณสมบัติการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40
- สัญชาติไทย
- อายุ 15-65 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
- ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- ผู้ถือบัตรประจำตัวไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้น 000)
- ผู้พิการก็สมัครได้ (ยกเว้นผู้พิการทางสติปัญญา)
เอกสารการสมัคร
- บัตรประจำตัวประชาชน
- แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40)
- กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ใช้การประทับรอยนิ้วมือและต้องมีผู้รับรองลายมือชื่อ 2 คน
ช่องทางการสมัคร
1. สำนักงานประกันสังคม (ทั่วประเทศ)
2. เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น)
3. เครือข่ายประกันสังคม ทั่วประเทศ
4. www.sso.go.th
5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
6. สายด่วน 1506
7. แอปพลิเคชั่น ทางรัฐ