svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เสนาฯ ผนึก ฮันคิว ฮันชิน ชูนวัตกรรม 'สภาวะน่าสบาย'

03 พฤศจิกายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

'สภาวะน่าสบาย' ที่เป็นความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาโดยพานาโซนิค และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนแนวคิดการสร้างบ้านประหยัดพลังงาน และส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของผู้พักอาศัย

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ ระบุ บริษัทได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป ในการสนับสนุนบ้านโครงการ เสนา แกรนด์ โฮม บางนา กม.29 สำหรับงานวิจัยนวัตกรรม “สภาวะน่าสบาย” ที่เป็นความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาโดยพานาโซนิค และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนแนวคิดการสร้างบ้านประหยัดพลังงาน และส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของผู้พักอาศัย รวมถึงต่อยอดและเพิ่มประสิทธิภาพของแนวคิดบ้านพลังงานเป็นศูนย์ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาโครงการบ้านของเสนาฯ

 

เป็นครั้งแรกที่เกี่ยวกับเรื่องอากาศ เป็นเรื่องยากสำหรับดีเวลลอปเปอร์ในการพัฒนานวัตกรรม เพราะไม่สามารถทำงานวิจัยเองได้ โดยทำในโครงการ เสนา แกรนด์ โฮม บางนา กม.29 ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ 200 ไร่ มีหลายเซ็กเมนต์ที่ทดลองได้โดยเฉพาะเซ็กเมนต์บนที่มีกำลังซื้อ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรายุทธ ทรัพย์สุข ระบุ ความร่วมมือในการจัดทำการวิจัยกับพานาโซนิคในประเทศไทยครั้งนี้ ได้นำความเชี่ยวชาญของจุฬาฯ ทั้งจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มาผนวกกับความรู้ความชำนาญทางเทคโนโลยีของพานาโซนิค ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการวิจัยไปข้างหน้าและมีส่วนช่วยในการพัฒนาโซลูชั่นและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยในประเทศไทยในอนาคตได้

 

โดยปัจจุบันความร่วมมือนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นโมเดลที่อยู่อาศัยแบบจำลอง โดยการนำเทคโนโลยี BIM หรือ Building Information Modelling และ Digital Twin เข้ามาช่วยในการออกแบบและก่อสร้างบ้านโมดูลาร์ในชื่อ ZEN Model ขนาดพื้นที่ 36 ตารางเมตร ภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจำลองบรรยากาศที่อยู่อาศัยในสภาวะน่าสบาย และร่วมทำการเก็บข้อมูลจากการให้กลุ่มตัวอย่างได้เข้ามาทดลองใช้ชีวิตในพื้นที่บ้านทดลอง ซึ่งจะขยายผลสู่การทดลองกับบ้านเดี่ยวในโครงการของเสนาดีเวลลอปเม้นท์ เพื่อให้ได้ผลที่ใกล้เคียงจริงยิ่งขึ้น และสามารถนำไปต่อยอดการยกระดับมาตรฐานการอยู่อาศัยของผู้คนทุกระดับในเขตร้อนชื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีข้อมูลทางวิชาการรองรับ

logoline