svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ชป. สั่งชลประทาน ทั่วประเทศปฏิบัติตาม12 มาตรการ รับมือฤดูฝนปี 2566

ชป. สั่งชลประทานทั่วประเทศปฏิบัติตาม12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 อย่างเคร่งครัด พร้อมตั้งรับฝนตกปลายสัปดาห์ ห่วงเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (25 พ.ค. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 41,438  ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 54% ของความจุอ่างฯรวมกัน สามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีก 34,899 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 12,191 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49% ของความจุอ่างฯรวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 12,680 ล้าน ลบ.ม.

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

ทั้งนี้   ตามประกาศของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติฉบับที่ 4/2566 ลงวันที่ 23 พ.ค. 2566  เรื่อง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณฝนตกเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในระหว่างวันที่ 27 พ.ค.-1 มิ.ย. 66 ในพื้นที่ 21 จังหวัด ทุกภูมิภาค  นั้น  ได้กำชับให้สำนักงานชลประทานในพื้นที่เสี่ยงดำเนินการตาม  12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) 

มาปรับเป็น 6 แนวทางปฏิบัติของกรมชลประทาน ประกอบด้วย 1.กักเก็บเต็มประสิทธิภาพ 2.คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง 3. หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง 4.ระบบชลประทานเร่งระบาย  5.เตรียมพร้อมเครื่องมือเครื่องจักร และ 6. แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์    รวมถึงการเตรียมรับมืออุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น พร้อมวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำท่า และกำหนดผู้รับผิดชอบพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบ

ชป. สั่งชลประทาน ทั่วประเทศปฏิบัติตาม12 มาตรการ รับมือฤดูฝนปี 2566

ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน จัดสรรทรัพยากร อาทิ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และอื่นๆ เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ตลอดเวลา  ที่สำคัญให้ทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนถึงสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง  เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด

ชป. สั่งชลประทาน ทั่วประเทศปฏิบัติตาม12 มาตรการ รับมือฤดูฝนปี 2566