svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

อากาศแปรปรวนหนัก! ทำผลไม้ภาคตะวันออก ไม่ติดดอก ผลผลิตลดลงกว่า 16 %

26 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมส่งเสริมการเกษตร คาดผลผลิตผลไม้ภาคตะวันออก ผลผลิตลด 16.59% จากสภาพอากาศแปรปรวน ไม่เอื้อให้ออกดอก ติดผล พร้อมออก 3 แนวทาง ดูแลผลผลิต ดันราคาภายในประเทศ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตไม้ผลภาคตะวันออก พบว่า พื้นที่ปลูกไม้ผล 4 ชนิด มีพื้นที่ยืนต้นรวม 907,542 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 16,839 ไร่ หรือ 1.89%  เนื้อที่ให้ผลรวม 656,626 ไร่ ลดลงจากปี 2565 จำนวน 27,791 ไร่ หรือ 4.06%
 

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1,604 กิโลกรัม ลดลง 241 กิโลกรัม หรือ 13.06% ซึ่งคาดว่าตลอดฤดูกาลผลิตจะมีปริมาณผลผลิตรวม 1,053,328 ตัน ลดลงจากปี 2565 จำนวน 209,571 ตัน หรือ 16.59%  ซึ่งปริมาณผลผลิตที่ลดลงเนื่องมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝนตกชุกช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงช่วงต้นปี 2566 สลับกับอากาศหนาวเย็นยาวนาน ไม่เอื้ออำนวยต่อการออกดอกและติดผล

ในส่วนของทุเรียนในระยะดอก รุ่น 1 และ 2 ถูกฝนชะดอก จึงไม่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ ประกอบกับได้รับผลกระทบจากลมพายุเป็นช่วง ๆ ตั้งแต่ปลายปี 2565 จนถึงมีนาคม 2566 ทำให้ดอกและลูกร่วงเสียหาย แต่คาดว่าผลผลิตจะลดลงเล็กน้อย เนื่องจากมีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมา

ในขณะที่ไม้ผลเศรษฐกิจอื่น ได้แก่ มังคุด เงาะ และลองกอง ทั้งเนื้อที่ปลูกและผลผลิตลดลง เนื่องจากผลตอบแทนต่ำกว่า ราคาไม่แน่นอน และหาแรงงานช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตยาก

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการบริหารจัดการผลผลิตในฤดูกาลผลิตปี 2566 จึงมีการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออกโดยแบ่งออกเป็น 3 ช่องทางหลัก ได้แก่

1. การบริโภคผลสดภายในประเทศ 28.38% แบ่งย่อยเป็น 9 ช่องทาง ได้แก่ การจำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การจำหน่ายผ่าน Modern trade การจำหน่ายผ่านกลไกสหกรณ์ การจำหน่ายตรงกับผู้บริโภคและช่องทางออนไลน์ การจัดงานประชาสัมพันธ์ในและนอกแหล่งผลิต การจำหน่ายผ่านหน่วยงานราชการ การจำหน่ายผ่านตลาดกลางค้าขายผลไม้ภายในจังหวัด/รถเร่/ตลาดขายผลไม้ริมทาง บริโภคภายในครัวเรือน และช่องทางอื่น ๆ

อากาศแปรปรวนหนัก! ทำผลไม้ภาคตะวันออก ไม่ติดดอก ผลผลิตลดลงกว่า 16 %

 

2. การใช้เป็นวัตถุดิบในแปรรูป 6.41%  ได้แก่ การแปรรูปมูลค่าสูง เช่น แช่แข็ง ฟรีซดราย เป็นต้น หรือแปรรูปเพื่อถนอมอาหาร เช่น การกวน การทอด การคั้นน้ำ เป็นต้น

3. การจำหน่ายเพื่อการส่งออก 65.21% มีประเทศส่งออกที่สำคัญ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร ได้รายงานปริมาณการส่งออกทุเรียนภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 22,650 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือราว ๆ 4.07 แสนตัน

อากาศแปรปรวนหนัก! ทำผลไม้ภาคตะวันออก ไม่ติดดอก ผลผลิตลดลงกว่า 16 %

logoline