svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ธปท.เร่งแบงก์อุ้มลูกหนี้สกัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

23 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ธปท.เผยภาพรวมหนี้เสียของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ ล่าสุดปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งมาจากการบริหารจัดการหนี้เสีย การตัดขายหนี้ การขายหนี้เสียออกจากระบบแบงก์ ทำให้หนี้เสียมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น

ดังนั้น ตัวเลขหนี้ที่กำลังจะเสียที่มีในระบบจำนวนมากเป็นสิ่งที่ ธปท.ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด และให้เร่งเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านมาตรการทางการเงินที่มีอยู่ เช่นมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว ที่จะมีส่วนในการช่วยเหลือลูกหนี้ ไม่ให้ไหลไปเป็นหนี้เสียได้

ธปท.เร่งแบงก์อุ้มลูกหนี้สกัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ทั้งนี้ เชื่อว่าแนวโน้มหนี้เสียได้ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว และนโยบายธปท.ก็พยายามทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างราบรื่น และพยายามดูแลลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อน ที่อาจได้รับผลกระทบชั่วคราว ดังนั้นธปท.จึงขอให้แบงก์เร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่ามาตรการที่ธปท.ออกมาจะมีส่วนช่วยไม่ให้หนี้เสียในระบบเพิ่มขึ้นมากนัก

สำหรับภาพรวมธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 1 ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 6 หมื่นล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ 6.2 หมื่นล้านบาท เป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยและฐานของสินเชื่อที่ขยายตัว รวมถึงค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองที่ปรับลดลงจากปีก่อน

ธปท.เร่งแบงก์อุ้มลูกหนี้สกัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ขณะที่สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1 ปี 2566 ขยายตัวที่ 0.5% ชะลอลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการชำระคืนหนี้ของภาครัฐ ธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loans) ราว 1.38 แสนล้านบาท รวมทั้งการบริหารจัดการคุณภาพหนี้โดยธุรกิจขนาดใหญ่

ธปท.เร่งแบงก์อุ้มลูกหนี้สกัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ด้านคุณภาพสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์มีการบริหารจัดการคุณภาพหนี้และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพหรือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 4.98 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 2.68% ของสินเชื่อรวมทั้งหมด

ธปท.เร่งแบงก์อุ้มลูกหนี้สกัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มครัวเรือนเปราะบางที่รายได้ฟื้นตัวช้าและมีหนี้สูง และการฟื้นตัวของธุรกิจบางกลุ่ม โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีทรงตัวจากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 86.9%

ขณะที่ภาคธุรกิจสัดส่วนหนี้สินภาคธุรกิจต่อจีดีพีปรับลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ 88.4% ด้านความสามารถในการทำกำไรปรับลดลง แต่ฐานะการเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยยังต้องติดตามผลกระทบจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลง และบางธุรกิจที่อ่อนไหวต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันการเงินยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มเปราะบาง ธปท.เร่งแบงก์อุ้มลูกหนี้สกัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

logoline