svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สศช. แนะรัฐแก้วิกฤต Climate Change เน้นดูแลกลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำ

06 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ประเมินการแก้ปัญหา Climate Change ยังไม่บรรลุผล แนะรัฐดูแลกลุ่มเปราะบางรายได้น้อย ลดความเหลื่อมล้ำ และ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) ภายใต้ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำของสังคมโดยล่าสุด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานโครงการติดตามประเมินผลมาตรการป้องกันผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยผลประเมินบ่งชี้ถึงตัวชี้วัดจำนวนมากที่ไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากกระบวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะหลังขาดการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงเป็นความเร่งด่วนที่จะต้องมีนโยบายและมาตรการเพื่อยกระดับการมีส่วนในกระบวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

สศช. แนะรัฐแก้วิกฤต Climate Change เน้นดูแลกลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำ

 

โดยนโยบายเกี่ยวกับการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น สามารถแบ่งนโยบายได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. การลดระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ (mitigation) เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน การอุดหนุนพลังงานทดแทน การฟื้นฟูป่าและทะเล เป็นต้น
  2. การปรับตัว (adaptation) เช่น การสร้างระบบเตือนภัย การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดความเสียหายจากอุบัติภัย การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การเพิ่มการเข้าถึงบริการทางแพทย์ อาหาร และน้ำสะอาด เป็นต้น

สศช. แนะรัฐแก้วิกฤต Climate Change เน้นดูแลกลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำ
 

 

แนะเร่งช่วยกลุ่มเปราะบาง แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ ทรัพย์สิน รวมถึงทุนมนุษย์ด้วย ทั้งนี้ประชาชนแต่ละกลุ่มนั้นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศไม่เท่ากัน โดยผู้มีฐานะทางสังคมเศรษฐกิจไม่ดี คนชายขอบ มักจะได้รับผลกระทบมากกว่าคนกลุ่มอื่น

ดังนั้น สศช.จึงเสนอแนะให้รัฐดำเนินการอย่างแข็งขัน ทั้งในด้านการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก Climate Change และการเสริมสร้างความสามารถ ในการรับมือและปรับตัว ให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง มีรายได้น้อย เนื่องจากความเหลื่อมล้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบซึ่งกันและกัน

สศช. แนะรัฐแก้วิกฤต Climate Change เน้นดูแลกลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำ

เช่น การพัฒนาส่งเสริมระบบการเงินระดับฐานราก (Microfinance) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึง การออม เงินกู้ และการประกันภัยได้มากขึ้น  การนำเอาเทคโนโลยีดาวเทียมเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงการบรรเทาภัยธรรมชาติสำหรับชาวนาและเกษตรกร 

การสร้างความร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนและให้คำแนะนำกับประชาชนได้อย่างทันท่วงที และครอบคลุม เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ รวมทั้งการปรับปรุงระบบ การคุ้มครองทางสังคม ให้สามารถคุ้มครองประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยอาจะนำเอามาบูรณาการร่วมกันกับมาตรการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction : DDR) และนโยบายการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Adaptation: CCA)
 

ความพยายามแก้ปัญหา Climate Change ของไทย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไทยได้มีการตระหนัก ถึงความสำคัญของปัญหา การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและได้ร่วมให้สัตยาบันเป็นภาคีในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปี 2535  พิธีสารเกียวโต และภาคีความตกลงปารีส ในด้านนโยบายระดับประเทศ

โดยรัฐบาลได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ ว่า ด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บรรจุปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ ฉบับที่ 11

รวมถึงได้จัดทำแผนแม่บท รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขึ้นด้วย ที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เด่นชัดที่สุดคือการประกาศเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลไทย ในการประชุม ประชุม COP26 ณ ประเทศสกอตแลนด์ ปี 2564 ว่าไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 

สศช. แนะรัฐแก้วิกฤต Climate Change เน้นดูแลกลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำ

จนเกิดเป็น BCG Model  ที่ถูกนำมาปรับใช้ในทุกกิจกรรมของทุกภาคส่วนในไทย  อาทิ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย การใช้มาตรการทางการคลังเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน โครงการประกันภัยพืชผล เป็นต้น

 

 

 

 

 

logoline