31 ม.ค. 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า มีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้น "ค่าแรง" 17 สาขาอาชีพ ตามที่ กระทรวงแรงงาน ได้เสนอเพื่อเป็นการปรับอัตราค่าแรงงานให้มีความเหมาะสมกับความสามารถ โดยการปรับอัตราค่าแรงครั้งนี้จะอยู่ในสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด และผู้ที่จะได้ปรับขึ้นค่าแรง จะต้องได้รับใบรับรอง จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแล้วเท่านั้น
สำหรับแรงงาน 3 กลุ่มอาชีพ 17 สาขา ได้แก่
กลุ่มช่างอุตสาหการ ประกอบด้วย
กลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล ประกอบด้วย
กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ ประกอบด้วย
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2555 คณะกรรมการจ้าชุดที่ 18-21 ได้กำหนดอัตรา "ค่าแรง" ตามมาตรฐานฝีมือแรงแล้วจำนวน 112 สาขา เมื่อรวมกับที่กำหนดใหม่ในครั้งนี้อีก 17 สาขา รวมเป็น 129 สาขา
ทั้งนี้การกำหนดอัตราค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน จะส่งผลให้ลูกจ้าง ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีค่าจ้างที่เหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะฝีมือแรงงาน ความรู้ ความสามารถและการจ้างงานในตลาดแรงงาน
ส่วนลูกจ้างทั่วไปการปรับค่าแรง ถือเป็นแรงจูงใจให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน และ เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ด้านผู้ประกอบการสามารถคัดเลือกแรงงานที่ฝีมือดีเข้าทำงาน ซึ่งจะทำให้สินค้าและบริการมีคุณภาพและมาตรฐาน ลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิตเพราะจะไม่เกิดความผิดพลาดระหว่างการผลิต
รวมทั้งการปรับอัตราค่าแรง ใน 17 สาขาอาชีพ จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานกึ่งฝีมือ และ แรงงานฝีมือ ในสาขาอาชีพที่ขาดแคลน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพิ่มศักยภาพแรงงานไทย ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ ลูกจ้างตามเกณฑ์ที่ประกาศ หากมีความต้องการจะใช้สิทธิ์ ให้ยื่นหนังสือรับรอง ว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในอาชีพ และ สาขาระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว และเมื่อนายจ้างได้รับหนังสือแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้าง นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองเป็นต้นไป หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ