svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ใบกำกับภาษีค่าน้ำมัน แบบไหน ลดหย่อนภาษี “ช้อป ดี มีคืน” ได้เช็กเลย!

18 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมสรรพากร ย้ำ ประชาชนหลังเติมน้ำมัน ขอใบกำกับภาษี ตามมาตรการ "ช้อป ดี มีคืน" ได้ทุกคนตามค่าใช้จ่ายจริง แม้รถจะเป็นชื่อผู้อื่น โดยต้องตรวจสอบสอบข้อมูลของใบกำกับภาษีให้ครบถ้วน เพื่อให้นำไปลดหน่อยภาษีได้อย่างถูกต้อง

มาตรการ  “ช้อป ดี มีคืน” ที่ประชาชนสามารถนำใบกำกับภาษีไปลดหย่อนภาษีได้ ไม่เกิน 40,000 บาท  แบ่งเป็น ค่าใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ไม่เกิน 30,000 บาท และใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่เกิน 10,000 บาท  ซึ่งใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1- 15 ก.พ. 2566 นั้น จะใช้กับการลดหย่อนภาษี 2566 คือ ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงต้นปี 2567 เท่านั้น 

โดยในส่วนของการเติมน้ำมัน ซึ่งสามารถนำมาลดหย่อนภาษีตามมาตรการได้เป็นครั้งแรก กรมสรรพากร ชี้แจ้งเพื่อสร้างความเข้าใจเพื่อให้ได้ใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง  ว่า  ใบกำกับภาษีจากค่าเติมน้ำมัน กรมสรรพากร ให้สิทธิแก่ผู้จ่ายเงินทุกคน แม้จะใช้รถของผู้อื่น  ไม่ยึดเรื่องทะเบียนรถ เพียงนำใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจากการเติมน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2566 ไปใช้เป็นหลักฐานเท่านั้น 

โดยผู้ใช้บริการควรจะตรวจสอบใบกำกับภาษี ให้มีรายละเอียดครบ ดังนี้

1. มีคำว่า “ใบกำกับภาษี”

2. มีชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ

3. มีชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ

4.มีเลขที่ใบกำกับภาษี

5. มีชื่อ ชนิด ประเภท จำนวนหรือปริมาณ และราคาของสินค้าหรือบริการ

6. มีจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าหรือบริการ

7. จะต้องระบุทะเบียนรถคันที่เติมน้ำมันในใบกำกับภาษีทุกครั้ง

ตัวอย่างใบกำกับภาษีค่าน้ำมัน ขอลดภาษี "ช้อป ดี มีคืน"

 

ทั้งนี้ สำหรับสินค้าและบริการที่ ไม่สามารถใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษี 2566 ได้แก่

  • สุรา เบียร์ และไวน์
     
  • บุหรี่ ยาสูบ
     
  • รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
     
  • หนังสือพิมพ์และนิตยสาร และค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
     
  •  บริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
  • ค่าที่พักในโรงแรม
     
  • ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต
     
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย
     
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เพราะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในหมวดประกันได้
     
  • ค่าบริการระยะยาวที่เริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 
     
  • สินค้าหรือบริการที่ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% อยู่แล้ว เช่น ผัก-ผลไม้สดที่ยังไม่ได้แปรรูป เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา นมจืด ทองคำแท่ง ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม

 

 

logoline