svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ใหญ่ปรับขึ้นเท่าไหร่ เช็กรายละเอียดที่นี่

31 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แบงก์พาณิชยประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.4% หลังจากธปท.ให้แบงก์ปรับอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ ในอัตราปกติ 0.46% ดีเดย์ 1 ม.ค. 66 นี้

คนกู้เงินเตรียมแบกรับภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น หลังจากสมาคมธนาคารไทย แจ้งสิ้นสุดมาตรการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ กลับเข้าสู่อัตรา 0.46%ต่อปี ตั้งแต่ 1 ม.ค.66 มีผลให้ธนาคารพาณิชย์ต้องทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.4%ต่อปี

ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและชัดเจนขึ้น ธปท. จึงมีทิศทางปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization) ซึ่งสอดคล้องกับที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

นอกจากนี้ เพื่อช่วยให้ภาระหนี้ของ FIDF ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 สามารถทยอยลดลงได้ตามเป้าหมาย โดยไม่สร้างภาระต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจไทย

โดยไม่จำเป็น ธปท.จึงจะมีการปรับอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ให้กลับเข้าสู่อัตราปกติที่ 0.46%ต่อปี

จากปัจจุบันอยู่ที่ 0.23% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 66 เป็นต้นไป ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.4% ต่อปี ตามที่ได้ปรับลดไป 0.4% ในช่วงก่อนหน้า

 

เริ่มจาก  “ธนาคารไทยพาณิชย์” ขึ้นดอกเบี้ย MLR , MOR และ MRR ในอัตรา 0.40% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.66  เป็นต้นไป

โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี MRR จากปัจจุบันอยู่ที่ 6.12% เป็น 6.52% ต่อปี  อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี MLR จากปัจจุบันอยู่ที่ 5.75% เป็น 6.15% ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี MOR  จากปัจจุบันอยู่ที่ 6.345% เป็น 6.745% ต่อปี

ธนาคารไทยพาณิชย์ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับลูกค้าของธนาคารจากการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในครั้งนี้

ดังนั้น ธนาคารจึงยังคงมาตรการพิเศษในการช่วยเหลือลูกค้าในด้านต่างๆ ต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ยังเปราะบาง โดยคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต

สำหรับลูกค้าที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือหรือคำปรึกษาสามารถติดต่อธนาคารทุกสาขา

ขณะที่  “กรุงไทย” ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.4% เช่นกัน  มีผลตั้งแต่ 3 ม.ค.66 และพร้อมยืนหยัดเคียงข้างคนไทยรับมือเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง  พร้อมช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางอย่างตรงจุด

ทั้งนี้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยใหม่  MLR  อยู่ที่ 6.15% MOR อยู่ที่  6.72% และ MRR อยู่ที่ 6.77% ต่อปี สอดคล้องกับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 

ส่วน "ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  และบริษัทในเครือ" ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา 0.40% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. 66 เป็นต้นไป

การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

สำหรับอัตราดอกเบี้ยของกรุงศรีฯ ใหม่เป็นดังนี้  ดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) เพิ่มขึ้น 0.40% เป็น 6.48%

ส่วนดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เพิ่มขึ้น 0.40% เป็น 6.725% อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) เพิ่มขึ้น 0.40% เป็น 6.65%

ปิดท้าย "ธนาคารกสิกรไทย" พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR, MOR และ MRR 0.40% โดยธนาคารยังคงรับผลกระทบจากการส่งผ่านอัตราเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูฯ บางส่วนเพื่อให้การปรับดอกเบี้ยเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้าของธนาคาร ตามรายละเอียดดังนี้

อัตราดอกเบี้ย MLR ปรับเพิ่ม 0.40 % จาก 5.97% เป็น 6.37% อัตราดอกเบี้ย MOR ปรับเพิ่ม 0.40% จาก 6.34% เป็น 6.74% อัตราดอกเบี้ย MRR  ปรับเพิ่ม 0.40% จาก 6.10% เป็น 6.50%  โดยให้มีผลในวันที่ 3  ม.ค. 66 เป็นต้นไป

 

 

 

logoline