svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ตรวจแถวการเมือง

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

11 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เมื่อกติกาเลือกตั้ง ออกแบบให้"เลือกตั้งส.ส."ด้วยบัตรสองใบและใช้สูตรคำนวณส.ส.หาร100 ย่อมทำให้ ส.ส.ที่เคยสังกัดพรรคเล็ก ต้องปรับตัวและตัดสินใจกำหนดอนาคตทางการเมืองของตัวเอง ติดตามได้ในเจาะประเด็น

 

"ร่างพ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง" และ "ร่างพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส." กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจถ้อยคำความถูกต้อง  จากสำนักเลขาธิการสภา ส่งมาถึงมือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.) เพื่อส่งมอบให้ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  เตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ  ถือเป็นการส่งสัญญาณเตรียมพร้อมกระบวนการเลือกตั้งใกล้เข้ามาทุกขณะ 

 

โดยเฉพาะกับบรรดานักการเมือง ผู้ประสงค์เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนเข้าไปนั่งในสภา ดูจะมีการปรับตัวรับ "กติกาเลือกตั้งใหม่" อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเลือกตั้ง สังกัดพรรคเล็กผู้ผ่านประสบการณ์เข้าไปนั่งสภาจากกติกาเลือกตั้งเก่า ด้วยบัตรเลือกตั้งใบเดียวและผ่านการคำนวณคะแนนด้วยสูตรหาร 500 หาส.ส.พึงมี ต้องเตรียมทางหนีทีไล่ให้ดี

 

โดยเฉพาะผู้ที่คิดจะไปต่อทางการเมือง จะไปต่อด้วยกลวิธีใด   

 

ในเมื่อกติกาเลือกตั้งใหม่ เป็นการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ด้วยการหาร 100 คือ การนำคะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองทั้งหมดจากบัตรเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ มาหารด้วยจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน แล้วคำนวณหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะได้ตามสัดส่วนคะแนน

 

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

 

พิจารณาจากการเลือกตั้งปี 66 ค่าเฉลี่ย ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน จะอยู่ประมาณ 300,000 - 350,000 คะแนน  ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และจะไม่มีจำนวน ส.ส.พึงมี มาเป็นข้อจำกัดการได้มาซึ่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ

 

สำหรับการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ด้วยการหาร 100 จะส่งผลให้"พรรคเพื่อไทย"ได้ประโยชน์ เนื่องจากเป็นพรรคที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากเป็นอันดับหนึ่งมาโดยตลอด

 

 

ส่วน พรรคก้าวไกล , พรรคพลังประชารัฐ , พรรคเสรีรวมไทย , พรรคเศรษฐกิจใหม่ และพรรคท้องถิ่นไทย จะไม่ได้ประโยชน์จากระบบหาร 100 เพราะชื่อของพรรคยังไม่เป็นที่นิยม ขณะที่พรรคเล็กจะยุบไปรวมกับพรรคใหญ่ เพื่อให้มีอำนาจต่อรองในทางการเมือง

 

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

 

เมื่อโฟกัสที่ "พรรครวมไทยสร้างชาติ" ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่รู้จักและไม่เคยมีผลงาน จึงมีกระแสข่าวว่า"พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะไปร่วมงานทางการเมืองด้วย เนื่องจาก "พล.อ.ประยุทธ์"  ยังได้รับการตอบรับ และมีความนิยม

 

อย่างไรก็ดี กับการให้สัมภาษณ์ของ "พล.อ.ประยุทธ์" กล่าวทำนองว่า  "ตอนนี้ผมอยู่พลังประชารัฐ จะไปไหนขอถามความเห็นประชาชน" กอปรกับ กระแสข่าวล่าสุด ว่าดีลพรรครวมไทยสร้างชาติกับ "ลุงตู่" ไม่ลงตัว  จึงทำให้เกิดความไม่แน่ชัดว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะยังคงไปร่วมลงเรือรวมไทยสร้างชาติหรือไม่ 

 

 "ไม่อยู่แล้วหรอ ผมเป็นนายกรัฐมนตรีมา พรรคพลังประชารัฐสนับสนุนผมนะ เข้าใจไหม...เดี๋ยวผมฟังเสียงประชาชนก่อนสิ..."   "พล.อ.ประยุทธ์"  ตอบคำถามสื่อ ถึงการตัดสินใจย้ายพรรคหรือไม่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 

 

ขณะที่ "พรรคขนาดกลาง" ที่ไม่ได้ประโยชน์จากการหาร 100 จะมุ่งทำคะแนนในส่วนของ ส.ส.เขต โดยจูงใจผู้สมัครที่มีฐานเสียง ให้ยังอยู่กับพรรค หรือดึงผู้สมัครที่ฐานเสียงจากที่อื่นเข้ามาร่วมกับพรรคให้ได้

 

คราวนี้ มาดู ส.ส.ที่สังกัดพรรคเล็ก  จากข้อมูลของสถาบันพระปกเกล้า   ในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2562 เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรอง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 149 คน นั้น ปรากฏว่าคะแนนเสียงที่พึงมีต่อ ส.ส. 1 คน คือ 71,168.5141 คะแนน แต่ปรากฏว่ามีพรรคการเมืองขนาดเล็กที่เป็นพรรคที่มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยพึงได้ ส.ส. 1 คน แต่กลับได้รับการจัดสรรที่นั่ง ส.ส. ไปพรรคละ 1 ที่นั่ง โดยมีจำนวน 11 พรรค ดังนี้ 

 

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

1. พรรคประชาภิวัฒน์ โดยมี"นายสมเกียรติ ศรลัมพ์" อดีต ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยและอดีต ส.ว. เป็นหัวหน้าพรรค และอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ของพรรค ทำให้ได้รับการจัดสรรให้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนน 68,973 คะแนน

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

2. พรรคไทยศรีวิไลย์ โดยมี"นายมงคลกิตติ์  สุขสินธารานนท์" ที่มีบทบาทที่ผ่านมา คือ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพรรค และอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ของพรรคทำให้ได้รับการจัดสรรให้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนน 60,354 คะแนน

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

 3. พรรคพลังไทยรักไทย โดยมี"นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล" ซึ่งสนิทกับ พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในสมัยรัฐบาลของ นายทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค และอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ของพรรค ทำให้ได้รับการจัดสรรให้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนน 60,298 คะแนน

  เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

4. พรรคครูไทยเพื่อประชาชน โดยมี"นายปรีดา บุญเพลิง" อดีตผู้นำครูประชาบาลขอนแก่นที่ร่วมกับเพื่อนครูต่อสู้ปลดแอกครูประชาบาลออกจากมหาดไทยก่อนจะเดินทางเข้าสู่สนามการเมือง เป็นหัวหน้าพรรค และอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ของพรรค ทำให้ได้รับการจัดสรรให้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนน 56,308 คะแนน

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

5. พรรคประชานิยม โดยมี"พลตำรวจเอก ยงยุทธ เทพจำนงค์" อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพรรค และได้ประกาศสนับสนุน พลเอก ประยุทธ์ ชัดเจนตั้งแต่เริ่มหาเสียง ได้คะแนนทั้งหมด 56,215 คะแนน

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

6. พรรคประชาธรรมไทย โดยมี"นายพิเชษฐ สถิรชวาล" อดีตผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ผู้ที่สนิทสนมกับนายทักษิณ ชินวัตร และเป็นบุคคลสำคัญในพรรคไทยรักไทย รวมทั้งเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้าพรรค และอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ของพรรค ทำให้ได้รับการจัดสรรให้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนน 47,787 คะแนน ซึ่งตอนนี้ก็ยุบพรรคไปรวมกับพปชร.แล้ว 

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

 7. พรรคประชาชนปฏิรูป โดยมี"นายไพบูลย์  นิติตะวัน" อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกาศชัดเจนว่าจะสนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายไพบูลย์เป็นหัวหน้าพรรคและอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ของพรรค ทำให้ได้รับการจัดสรรให้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนน 45,374 คะแนนต่อมายุบพรรคตามระเบียบ ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ 

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

8. พรรคพลเมืองไทย โดยมี"นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์" อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย และที่ได้เป็น ส.ส. ครั้งนี้เนื่องจากนายเอกพร รักความสุข หัวหน้าพรรค ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ได้ลาออกจากหัวหน้าพรรค ส่งผลให้นางสาวศิลัมพา เลขาธิการพรรค ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 2 ก้าวขึ้นมาเป็น ส.ส. แทน ด้วยคะแนน 44,961 คะแนน

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

9. พรรคประชาธิปไตยใหม่ โดยมี"นายสุรทิน พิจารณ์" อดีตเลขาธิการพรรคเสรีธรรม อดีตหัวหน้าพรรครักษ์แผ่นดินไทย และในปี พ.ศ. 2547 ได้ก่อตั้งพรรคพรรคประชาธิปไตยก่อนจะถูกยุบพรรค และกลายมาเป็นพรรคประชาธิปไตยใหม่ในปัจจุบัน โดยนายสุรทินเป็นหัวหน้าพรรคและอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ของพรรค ทำให้ได้รับการจัดสรรให้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนน 39,260 คะแนน

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

10. พรรคพลังธรรมใหม่ โดยมี"นายระวี มาศฉมาดล" อดีตเลขาธิการพรรคพลังธรรม และยังเป็น แกนนำกองทัพประชาชนและเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย (กคป.) ที่บุกยึดสำนักงานของสำนักงานกลุ่มบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และกระทรวงพลังงาน ในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. โดยนายระวีเป็นหัวหน้าพรรคและอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ของพรรค ทำให้ได้รับการจัดสรรให้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนน 34,924 คะแนน

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

11. พรรคไทรักธรรม โดยมี"นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค" เดิมคือพรรคไทยรักธรรม ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นไทรักธรรม เป็นหัวหน้าพรรคและอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับ 1 ของพรรค ทำให้ได้รับการจัดสรรให้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนน 33,754 คะแนน

 

ทั้งนี้ "ทีมข่าวเนชั่นทีวี" ได้รวบรวมความคิดเห็นแนวทางของพรรคเล็กที่อยู่ในสภาขณะนี้ จะกำหนดทิศทางการเมืองอย่างไร เมื่อกฎกติกาเลือกตั้งใหม่กำลังจะออกมาบังคับใช้ 

 

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์  เตมียาเวส  หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย

 

"นายวิรัตน์  วรศสิริน"  รองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย บอกว่า "พรรคเสรีรวมไทย" ได้มีการเตรียมตัวในเรื่องนี้มานานแล้ว ซึ่งพรรคมีแนวทางและยุทธศาสตร์ที่จะเดินหน้าต่อไป และคิดว่าส.สของพรรคเสรีรวมไทยได้ไม่น้อยกว่าครั้งที่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่ามีการปรับแผนแนวทางในการหาเสียงใหม่ทั้งหมด และมั่นใจว่าจะได้ส.ส.เขตบ้าง เพราะที่ผ่านมาพรรคเสรีรวมไทยมีผลงานในสภาผู้แทนราษฎร มีหลายพรรคที่สนใจที่จะควบรวม หลายคนคงคิดว่าเป็นพรรคใหญ่จะได้เปรียบกว่าพรรคเล็ก แต่ตอนนี้พรรคเสรีรวมไทยยังยืนด้วยตัวเองได้นอกจากว่าการควบรวมจะมีประโยชน์อย่างจริงจัง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับหัวหน้าพรรค

 

"เต้ มงคลกิตติ์  สุขสินธารานนท์" ส.ส.หนึ่งเดียวในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยศิวิไลย์

 

ขณะที่ "เต้ มงคลกิตติ์  สุขสินธารานนท์" ส.ส.หนึ่งเดียวในระบบบัญชีรายชื่อ "พรรคไทยศิวิไลย์" บอกว่า  พรรคไม่มีแนวคิดควบรวมกับพรรคอื่น  แต่ยอมรับว่า กติกาหาร 100  ทำให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นอาจจะเหลือเพียงไม่กี่พรรค โดย"พรรคไทยศิวิไลย์" จะลงพื้นที่หาเสียงต่อไป ต้องการแค่ครอบครัวละ 1 คะแนน หรือหน่วยละ 40 คะแนน  สำหรับส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือคะแนนเลือกพรรค โดย"พรรคไทยศรีวิไลย์"ขอเน้นให้ได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถ้ารอบหน้าสอบตก อาจผันตัวไปเป็นศิลปินนักแสดง หรือผู้ประกาศข่าว หรือไปเป็นครูสอนหนังสือ หรือไปเป็นวิศวกรรมแทน 

 

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

 

"สงคราม  กิจเลิศไพโรจน์"  ส.ส. บัญชีรายชื่อ"พรรคเพื่อชาติ" กล่าวว่า พรรคเพื่อชาติได้รับผลกระทบแน่นอน แต่ต้องมีการปรับยุทธศาสตร์ในทางการเมือง จะเน้นบัญชีรายชื่อไม่ได้ ตอนนี้ต้องคัดสมาชิกที่มีความสามารถ เพื่อที่จะลงส.ส.เขตได้ ในเขตพื้นที่ที่เห็นว่ามีศักยภาพจริงๆ และมั่นใจ เพื่อให้มีส.ส.เขตมากขึ้น ยืนยันยังส่งครบทั้ง 400 เขตแต่ต้องคัดสรรคนจากอะไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีแนวความคิดที่จะควบรวมกับพรรคอื่น และคณะกรรมการที่เป็นคนรุ่นใหม่ก็ยังสู้ต่อ เพราะยังมีพลังที่จะสู้ เชื่อว่า"พรรคเพื่อชาติ"ไปต่อแน่นอน 

 

ปัจจุบัน "พรรคเพื่อชาติ" ได้ปรับโครงสร้างพรรคด้วยการดัน "น.ส. ปวิศรัฐฐ์  ติยะไพรัช" หรือ "ฮาย"  เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติคนไหม่ ลูกสาว "นายยงยุทธ ติยะไพรัช" อดีตประธานประธานสภาผู้แทนราษฎร นั่นเอง ซึ่ง "ฮาย"ยืนยันกับเนชั่นทีวีไปแล้วว่าแม้กติกาเลือกตั้งใหม่จะทำให้เกิดความยากลำบากมากขึ้นก็ตาม แต่พรรคเตรียมจัดผู้สมัครลงสู้ศึกเลือกตั้งอย่างเต็มที่

 

โกวิทย์ พวงงาม" ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังท้องถิ่นไท

 

"โกวิทย์ พวงงาม" ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังท้องถิ่นไท กล่าวว่า ยืนยันว่าพรรคพลังท้องถิ่นไทยังคงเดินหน้าต่อไม่ใช่เป็นพรรคการเมืองเฉพาะกิจไม่ใช่ว่ามีสูตรคำนวณบัญชีรายชื่อหาร 100 แล้วพรรคจะต้องยุติลง แต่ต้องทำพรรคการเมืองต่อไม่ว่า เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่าต่อแต่นี้ไปรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งบัตร 2 ใบ จึงยืนยันว่าแม้จะใช้สูตรคำนวณบัญชีรายชื่อแบบหาร 100 พรรคพลังท้องถิ่นไทก็ไม่กลัว ในฐานะเป็นพรรคการเมืองต้องทำการเมืองต่อ แต่ต้องทำการบ้านมากขึ้น พร้อมยืนยันจะส่งส.ส.เขตในพื้นที่ที่มั่นใจในฐานเสียง ส่วนส.ส.บัญชีรายชื่อก็คาดหวังเช่นกัน 

 

พล.ต.ท.ทวี สอดส่อง หัวหน้าพรรคประชาชาติ

 

ด้าน "พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง" เลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าวว่า พรรคประชาชาติเป็นพรรคหนึ่งที่อยากให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ซึ่งจากกติกาที่ออกมาพรรคประชาชาติได้ประโยชน์ เพราะพรรคประชาชาติมีส.ส.ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมั่นใจว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า จะได้ส.ส.เขตมากขึ้น และจะได้ไม่กังวลเรื่องส.สบัญชีรายชื่อมากนัก ดังนั้นการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาชาติมียุทธศาสตร์ และมั่นใจว่า นโยบาย รวมถึงบุคลากรจะเป็นทางเลือกให้กับประชาชน และทำให้ประชาชนรู้จักและตัดสินใจเลือก ทั้งนี้ไม่จำเป็นจะต้องควบรวมกับพรรคอื่น เพราะเป็นพรรคฝ่ายประชาธิปไตย พรรคเดียวที่มีส.ส.ภาคใต้

 

สุรทิน พิจารณ์  ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่

 

ส่วน"สุรทิน  พิจารณ์ " กล่าวว่า บัตร 2 ใบเป็นประโยชน์กับพรรคประชาธิปไตยใหม่  ส่วนสูตรคำนวนหาร 100 พรรคไม่ได้กระทบอะไรเลยเพียงแต่ได้ส.ส.น้อยลง ซึ่งคาดหวังว่าจะได้ทั้งส.ส.เขตและส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่ต้องปรับยุทธศาสตร์ในการหาเสียง การเจาะเป้าหมายต้องแม่น และเน้นนโยบายเป็นหลัก พร้อมยืนยันไม่ควบรวมกับพรรคอื่น แต่ถ้าพรรคอื่นมาร่วมให้มาเป็นรายบุคคล เพราะพรรคมีอุดมการณ์ชัดเจนที่ต้องเป็นรัฐบาล 

 

คฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล" หัวหน้าพรรคเพื่อชาติไทย

 

สำหรับ"คฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล" หัวหน้าพรรคเพื่อชาติไทย กล่าวว่า ไม่มีผลกระทบกับโครงสร้างของพรรค เพียงแต่จะได้ส.ส.ที่วางไว้น้อยลง และพรรคไม่มีการปรับทิศทางอะไรเพิ่มเติม พร้อมส่งครบทั้ง 400 เขต และบัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งขณะนี้มีพรรคอื่นมาขอร่วมพรรคกับตนเอง 19 พรรค โดยเป็นพรรคเล็กๆที่ไม่สามารถไปต่อได้

 

เมื่อมองช็อตต่อไป กับการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ด้วยการหาร 100 จะทำให้สภาฯ อาจเหลือพรรคการเมืองประมาณไม่เกิน 10 พรรค จากที่มี 27 พรรค  ขณะเดียวกันพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งมาเป็นอันดับหนึ่ง อาจมี ส.ส.ในสภาฯ มากถึง  225-275 ที่นั่ง ของจำนวน ส.ส. 500 ที่นั่ง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการผูกขาดทางการเมืองได้ง่ายขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยกติกาที่ให้ 250 ส.ว.สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ อาจทำให้พรรคขนาดกลาง ร่วมมือกันเพื่อสกัดไม่ให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลได้ต่อไป 

 

เช็กอาการ"ส.ส.พรรคเล็ก" เข้าขั้นภาวะ"ไอซียู" เดินหน้าต่อหรือย้ายบ้านใหม่

 

นี่จึงเป็นสถานการณ์ที่บรรดานักการเมืองผู้เชี่ยวชาญการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ต่างก็รับรู้ตัวกันดี ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ประสบชัยชนะ เข้าสภาได้ก่อนเป็นเบื้องต้น   

 

แต่ทั้งหมดทั้งปวง ขึ้นอยู่กับพลังเสียงของพี่น้องประชาชน ในการพิจารณาตัดสินใจ เลือกคนที่ใช่พรรคการเมืองที่ชอบ เข้าสภา ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นเร็วๆนี้ 

logoline