svasdssvasds
เนชั่นทีวี

วันนี้ในอดีต

20 ก.ค. 2565 ครบรอบ 53 ปี “นีล อาร์มสตรอง” เหยียบดวงจันทร์

19 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“วันนี้ในอดีต” 20 ก.ค. 2565 ครบรอบ 53 ปี “นีล อาร์มสตรอง” มนุษย์คนแรกที่ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ พร้อมประโยคเด็ด “นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของชายคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ”

“วันนี้ในอดีต” ตอนนี้ เป็นเหตุการณ์ที่สืบเนื่องจากตอนที่แล้ว (อ่านย้อนหลัง) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 ครบรอบ 53 ปี นาซ่าส่ง “อะพอลโล่ 11” ขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดแซเทิร์น 5 ที่ฐานยิงจรวด 39A แหลมเคเนดี รัฐฟลอริดา  ก่อนแยกยานลงดวงจันทร์ บริเวณ "ทะเลแห่งความเงียบสงบ” (Mare Tranquilitatis) ได้สำเร็จ ในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1969 คือวันนี้ในอดีต

 

หลังสหรัฐอเมริกามีความพยายายามวางแผนที่จะขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ เริ่มตั้งแต่โครงการแรก คือ เมอร์คิวรี เป็นแผนการส่งมนุษย์ไปสู่อวกาศ เป้าหมายหลักเพื่อส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลก ทดสอบความสามารถและการดำรงชีวิตเมื่ออยู่ในอวกาศ "เจมินี" สะพานสู่ดวงจันทร์

 

ตามมาด้วย โครงการเจมินี (Gemini) เป็นโครงการส่งมนุษย์ขึ้นไปทดสอบเที่ยวบินอวกาศเป็นโครงการที่ 2 ถัดจากโครงการเมอร์คิวรี เพื่อปูทางสู่โครงการถัดไป คือ โครงการอะพอลโล

 

20 ก.ค. 2565 ครบรอบ 53 ปี “นีล อาร์มสตรอง” เหยียบดวงจันทร์

 

ลูกเรือของอะพอลโล่ 11 ประกอบด้วย “นีล อาร์มสตรอง” ผู้บังคับการ  “เอดวิน อัลดริน” นักบินยานลงดวงจันทร์ และ “ไมเคิล คอลลินส์” เป็นนักบินยานบังคับการ

 

“นีล อาร์มสตรอง” ถือเป็นมนุษย์คนแรก ที่ลงมาประทับฝากรอยเท้าบนดวงจันทร์ ตามมาด้วยอัลดริน โดยนักบินอวกาศทั้งสองคนได้ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว, กระจกสะท้อนเลเซอร์, เครื่องวัดลมสุริยะ, และเก็บตัวอย่างหินและดิน 21.6 กิโลกรัม นำกลับมายังโลก รวมเวลาอยู่บนดวงจันทร์ 21 ชั่วโมง 36 นาที ใช้เวลานับตั้งแต่ออกเดินทางจนกลับถึงโลก 195 ชั่วโมง 18 นาที 35 วินาที โดยเดินทางกลับมาลงจอดบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1969

 

 

โดยเมื่อเหยียบบนดวงจันทร์เขากล่าวประโยคนี้ซึ่งเป็นที่จดจำของมวลมนุษยชาติว่า  “one small step for [a] man, one giant leap for mankind.”  “นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของชายคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ”

อย่างไรก็ตามแม้เหตุการณ์นี้จะเป็นที่ชื่นชมของมวลมนุษยชาติ แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ออกมาตั้งข้อสังเกตอ้างว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิด “สหรัฐฯ จัดฉากเหยียบดวงจันทร์” โดยสาเหตุที่กลุ่มคนดังกล่าวคิดเช่นนั้นเนื่องจากมองว่าสหรัฐฯต้องการที่จะเอาชนะสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นคู่แข่งทางมหาอำนาจในขณะนั้น โดยเฉพาะการเอาชนะเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีว่ามีเหนือกว่าสหภาพโซเวียต และอ้างว่า “เหตุการณ์เหยียบดวงจันทร์” ถูกจัดฉากโดยถ่ายทำกันในโรงถ่ายภาพยนตร์หรือทะเลทรายบางแห่ง

 

20 ก.ค. 2565 ครบรอบ 53 ปี “นีล อาร์มสตรอง” เหยียบดวงจันทร์

 

โดยมีข้อสังเกตดังนี้ สัญลักษณ์กากบาทสำหรับระบุตำแหน่งในบางรูปภาพปรากฏที่หลังวัตถุ แทนที่จะอยู่ด้านหน้า , คุณภาพของภาพถ่ายดีอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าจะถ่ายในอวกาศ, ภาพถ่ายไม่มีดาวอยู่ภายในภาพ โดยขณะเดียวกันนักบินไม่ได้มีการกล่าวถึงการมองเห็นดวงดาวในยานอวกาศ จากภาพถ่ายของหลายโครงการสำรวจอวกาศ ,สีและแสงเงาภายในภาพผิดเพี้ยน เงาจากดวงจันทร์ ไม่ควรจะมีมุมเดียวกับเงาของวัตถุบนพื้นโลก,พื้นหลังของภาพที่ถูกรายงานว่าถ่ายจากคนละสถานที่กลับเหมือนกัน,จำนวนภาพถ่ายที่มากจนเกินไป โดยเมื่อนำจำนวนเวลาที่ลงจอดบนดวงจันทร์ เปรียบเทียบกับจำนวนภาพถ่ายทั้งหมด จะได้ว่า ภาพถ่ายถูกถ่ายขึ้นทุก 15 วินาที โดยเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพกล้องในสมัย ปี พ.ศ. 2512 การถ่ายภาพและการเลื่อนฟิล์มทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 30 วินาทีต่อ 1 ภาพ

นอกจากนี้ยังแจกแจงสาเหตุที่อ้างว่า “สหรัฐฯจัดฉากเหตุการณ์เหยียบดวงจันทร์” ว่าเบี่ยงเบนความสนใจ ของเรื่องสงครามเวียดนาม โดย เบี่ยงเบนความสนใจของชาวโลก เรื่องของการโจมตีประเทศเวียดนาม เพื่อหยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ ,ชัยชนะในสงครามเย็น โดยสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะเหนือโซเวียตในเรื่องการสำรวจอวกาศ ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่สูงสุดในขณะนั้น ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศเหมือนที่โซเวียตได้ทำก่อนหน้านี้ ทางสหรัฐสามารถทำได้เช่นกัน แต่การถ่ายทำในสตูดิโอและสร้างข่าวลือ สามารถส่งผลที่ให้เกิดชัยชนะได้แน่นอนและลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง ส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในช่วงเวลาต่อมา ,รวบรวมเงินซึ่งนาซาได้รวบรวมเงินประมาณ 60,000 ล้านบาทในขณะนั้น (30 billion dollars) สำหรับโครงการสำรวจดวงจันทร์ โดยการสร้างแรงจูงใจให้ชาวสหรัฐอเมริกาและองค์กรต่าง ๆ บริจาคเงินจำนวนมหาศาลได้ โดยเงินสามารถนำมาใช้สำหรับสงครามเวียดนามได้โดยไม่มีข้อสงสัย ,ความเสี่ยงสูง ถึงแม้ว่าโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการสำรวจอวกาศจะเป็นไปได้สำหรับสหรัฐอเมริกา แต่ขณะเดียวกันความล้มเหลวก็มีสูงเช่นกัน

 

20 ก.ค. 2565 ครบรอบ 53 ปี “นีล อาร์มสตรอง” เหยียบดวงจันทร์

 

จากข้อกังขาดังกล่าว ได้มีคำอธิยายจากนักวิทยาศาสตร์ ดร. ไมเคิล ริช นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแอนเจลิส (UCLA)ให้ข้อมูลว่า บนดวงจันทร์ไม่มีอากาศและกระแสลม แต่ธงชาติสหรัฐฯ ที่สองนักบินอวกาศในภารกิจอะพอลโล 11 ติดตั้งกลับดูเหมือนโบกสะบัดอยู่ เนื่องจากแรงสะเทือนที่เกิดขึ้นขณะพยายามปักเสาธงลงบนพื้นดวงจันทร์ นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงที่ว่าบนดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงต่ำกว่าบนโลกราว 6 เท่า และมีการใช้ราวยึดตัวผืนธงเอาไว้ด้วย ทำให้ธงชาติสหรัฐฯ สามารถคงรูปคล้ายกับผืนธงที่ปลิวไสวตามแรงลมได้

 

ส่วนการที่ภาพถ่ายบนดวงจันทร์มีความคมชัดนั้น “นาซา” เลือกภาพถ่ายที่ดีที่สุดสำหรับการนำเสนอต่อสื่อมวลชน ซึ่งก็ได้นำภาพดังกล่าวไปคัดเลือกอีกทีหนึ่งด้วย นอกจากนี้ภาพส่วนใหญ่ถูกตัดกรอบเพื่อทำให้มีการวางองค์ประกอบที่ดีขึ้น ภาพที่ถ่ายนั้นยังถ่ายด้วยกล้องฮาสเซลบลาดคุณภาพสูงด้วยเลนซ์ไซสส์ที่มีคุณภาพสูงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามมีภาพมากมายที่ได้แสงมากเกินหรือมีโฟกัสที่ผิดพลาด ภาพถ่ายเหล่านี้สามารถดูได้ที่ Apollo Lunar Surface Journal

 

20 ก.ค. 2565 ครบรอบ 53 ปี “นีล อาร์มสตรอง” เหยียบดวงจันทร์

 

ส่วนการที่ภาพถ่ายไม่มีดาวอยู่ภายในภาพ  ไม่มีปรากฏภาพของดวงดาวในกระสวยอวกาศ, สถานีอวกาศเมียร์ สถานีอวกาศนานาชาติ และที่สังเกตการณ์บนโลกเช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วการถ่ายภาพในลักษณะนี้ ปกติจะตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ความเร็วสูง เพื่อป้องกันแสงที่ออกมาไฟส่องทำให้ภาพขาวจนเกินไป ในขณะเดียวกันที่ความเร็วชัตเตอร์เท่านี้ ไม่สามารถถ่ายภาพดวงดาวได้

 

ขณะที่ข้อสังเกตเรื่องจำนวนภาพถ่ายที่มากจนเกินไป โดยเมื่อนำจำนวนเวลาที่ลงจอดบนดวงจันทร์นั้นนักบินอวกาศได้รับการฝึกฝนให้ใช้เครื่องมือการถ่ายภาพเป็นอย่างดี นอกจากนี้อุปกรณ์การถ่ายภาพยังทำให้สามารถถ่ายภาพได้สะดวก ถึงขนาดที่ถ่ายได้สองภาพต่อหนึ่งวินาที ถ้าดูภาพที่ถ่ายมาจะพบว่าภาพจำนวนมากถูกถ่ายต่อเนื่องกัน

 

 

logoline