svasdssvasds
เนชั่นทีวี

คอลัมนิสต์

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย" โดย สุรชาติ บำรุงสุข

05 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความสูญเสียในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯปี 2519 ไม่ใช่ "ความสูญเปล่าทางการเมือง" แต่อย่างใด เพราะสุดท้ายแล้ว ผลที่เกิดขึ้นกลับนำไปสู่การปรับตัวทางการเมืองชุดใหญ่ ติดตามได้จากรำลึก"ประชาธิปไตยไทย" โดย สุรชาติ บำรุงสุข

 

สังคมไทยสมัยใหม่มีเส้นเวลาของฝ่ายประชาธิปไตยที่เป็นความเปลี่ยนแปลงใหญ่ทางการเมือง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะดูเป็นเหตุการณ์ในอดีต แต่กระนั้นก็ปฎิเสธถึงนัยทางการเมืองที่เกิดกับสังคมไทยในยุคปัจจุบันไม่ได้ 

        รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

ดังจะเห็นได้ว่า ในปี 2565 จะเป็นวาระครบรอบ "90 ปี" ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามในวันที่ 24 มิถุนายน 2475"49 ปี" ของเหตุการณ์การลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยในวันที่ 14 ตุลาคม 2516"46 ปี" ของการปราบปรามทางการเมืองครั้งใหญ่ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 "30 ปี" ของการลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้งในวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2535 หรือในบางกรณีอาจจะมีการนับรวมการปราบปราม "คนเสื้อแดง" ในปี 2553 เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียกร้องประชาธิปไตย เพราะแม้เรื่องนี้ไปผูกโยงกับนักการเมืองบางคน แต่อย่างน้อย "ขบวนคนเสื้อแดง" เป็นภาพสะท้อนถึง "การเมืองของชนชั้นล่างจากชนบท" ที่มาพร้อมกับข้อเรียกร้องในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับชาติอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

 

อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายเสรีนิยมจะต้องจัดงานเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของ "ขบวนประชาธิปไตย" แล้ว งานรำลึกนี้จะเกิดขึ้นใน 5 วาระใหญ่ดังที่กล่าวแล้ว แต่ถ้าสมมติฝ่ายอนุรักษนิยมขวาจัด ที่เป็นสายนิยมรัฐประหาร ซึ่งมีสถานะเป็น "ฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย" ในตัวเองนั้น อยากจะจัดงานเฉลิมฉลองการรัฐประหารในไทยแล้ว พวกเขาจะต้องทำงานอย่างหนัก เพราะนิทรรศการการยึดอำนาจในสังคมการเมืองไทยจะจัดอย่างต่อเนื่อง 

 

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

 

ฉะนั้น หากเราลองนับจำนวนรวมของการรัฐประหารไทยแล้ว เราอาจจะตกใจที่พบว่า สังคมการเมืองไทยมีรัฐประหารที่สำเร็จเป็นจำนวนมากถึง 13 ครั้งอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งยังมีรัฐประหารที่ล้มเหลว ซึ่งถูกเรียกว่าเป็น "กบฏ" อีกราว 10 ครั้ง จนทำให้รัฐประหารกลายเป็น "ซิกเนเจอร์" ในทางการเมืองของสังคมไทยไปแล้ว แม้ในปี 2565 สังคมไทยก็ยังคงวนเวียนอยู่กับ "ข่าวรัฐประหาร" ขณะที่ข่าวชุดนี้ในปัจจุบันได้หายไปจากการเมืองในเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ แล้ว จะเหลืออยู่ก็แต่เพียงรัฐประหารและความรุนแรงในเมียนมา

 

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

 

หากจะต้องเตรียมจัดงานเฉลิมฉลองการรัฐประหารในฐานะของการเป็น "หมุดหมายหลัก" ในการเมืองไทยแล้ว คณะผู้จัดคงจะต้องเหนื่อยอย่างมากแน่นอน แต่ก็เป็นคำเตือนว่า 90 ปี หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว สังคมการเมืองไทยยังเสมือนเราเดินอยู่ใน "เขาวงกตแห่งการรัฐประหาร" และยังหาทางออกไม่ได้ ซึ่งหากนับรวมทั้งสำเร็จและล้มเหลว ไทยจะมีจำนวน 23 รัฐประหารในช่วง 90 ปี หรือเกิดรัฐประหาร 1 ครั้งทุก 3.9 ปี

 

มองเช่นนี้แล้ว อาจจะเป็น "ความหดหู่" ทางการเมือง แต่ในอีกด้าน ช่วงเวลา 90 ปี กองทัพก็พ่ายแพ้การลุกขึ้นสู้ของประชาชน ซึ่งเราอาจจะเรียกด้วยภาษาทางรัฐศาสตร์ว่าเกิด "กรุงเทพสปริง" (Bangkok Spring) ถึง 2 ครั้งในปี 2516 และ 2535 แม้จะต้องยอมรับในเวลาต่อมาว่า ฤดูใบไม้ผลิทางการเมืองที่กรุงเทพไม่ยั่งยืน หรือคิดเป็นอัตราเฉลี่ย 1 ครั้งทุก 45 ปี … เป็นอัตราเฉลี่ยที่ชวนหดหู่ใจในทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง

 

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

 

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

ฤดูใบไม้ผลิครั้งแรกมีอายุเพียง 3 ปี และตามมาด้วยการปราบปรามทางการเมืองครั้งใหญ่ในปี 2519 แต่ก็ตามมาด้วยการขยายตัวของสงครามคอมมิวนิสต์ในไทย จนสุดท้าย สงครามกลายเป็น "ปัจจัยบังคับด้านกลับ" ให้ชนชั้นนำ ผู้นำทหารสายเหยี่ยว และกลุ่มการเมืองปีกขวาจัดต้องยอมรับการเมืองแบบประชาธิปไตย

 

ดังนั้น ความสูญเสียในปี 2519 ไม่ใช่ "ความสูญเปล่าทางการเมือง" แต่อย่างใด เพราะสุดท้ายแล้ว ผลที่เกิดขึ้นกลับนำไปสู่การปรับตัวทางการเมืองชุดใหญ่ คือ เกิดความพยายามที่จะยุติสงครามคอมมิวนิสต์ภายใน และยอมรับว่าประชาธิปไตยไม่ได้เป็น "ภัยคุกคาม" ต่อผลประโยชน์ของฝ่ายขวา และ/หรือฝ่ายอนุรักษนิยมเช่นในอดีต ปีกขวาโดยเฉพาะชนชั้นนำและผู้นำทหารยอมรับว่า ระบอบรัฐประหารคือ เส้นทางของการ "สิ้นชาติ" 

 

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

 

ฤดูใบไม้ผลิครั้งที่ 2 ทำท่าจะยืนยาว เพราะได้กระแสโลกาภิวัตน์จากภายนอกเข้ามาเป็นปัจจัยสนับสนุน หรือเป็นช่วงเวลาที่กระแส "ประชาธิปไตยคลื่นลูกที่สาม" (The Third Wave of Democracy) ตามทฤษฎีทางรัฐศาสตร์พัดไปทุกมุมโลก รวมทั้งพัดเข้าสู่สังคมไทยด้วย ความฝันใหญ่หลังการมาของฤดูใบไม้ผลิในปี 2535 คือ รัฐประหาร 2534 น่าจะเป็น "รัฐประหารไทยครั้งสุดท้าย" แต่แล้วกระแสลมประชาธิปไตยพัดอยู่เพียง 14 ปี ลมรัฐประหารก็พัดหวนกลับมาสู่การเมืองไทยอีกครั้งในปี 2549 และยังมาซ้ำอีกครั้งในปี 2557 … ไม่น่าเชื่อว่า เรามีรัฐประหารถึง 2 ครั้งในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี และในช่วงเวลาของสองรัฐประหารนี้ มีการปราบปรามใหญ่ทางการเมืองเกิดขึ้นอีกครั้งที่กรุงเทพในปี 2553 ซึ่งเป็นความรุนแรงชุดใหญ่ของการเมืองยุคปัจจุบัน

 

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

 

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

หากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปี 2519 แล้ว ความแตกต่างสำคัญคือ "ไม่มีเงื่อนไขสงครามใหญ่" ฝ่ายขวาจัดวันนี้จึงไม่กลัวภัยคุกคามของสงคราม และดำเนินการทางการเมืองโดยไม่ต้องคิดถึงผลด้านกลับ เช่น การปราบปรามคนรุ่นใหม่ที่เห็นต่างทางการเมืองด้วยมาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มข้น ความพยายามเหนี่ยวรั้งกระแสประชาธิปไตยด้วยวิธีการต่างๆนานา โดยเฉพาะการออกแบบรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพื่อสร้าง "ระบอบกึ่งประชาธิปไตย" สำหรับผู้นำทหารในการเมืองไทย ซึ่งในทางทฤษฎีเรียกว่า "ระบอบไฮบริด" 

 

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

รำลึก"ประชาธิปไตยไทย"  โดย สุรชาติ บำรุงสุข

 

แต่การต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยยังคงดำเนินต่อไป จนอดคิดไม่ได้ว่า เราเคยมีฤดูใบไม้ผลิที่กรุงเทพ 2 ครั้งแล้ว ฤดูใบไม้ผลิครั้งที่สามของไทยจะมาเมื่อไหร่ … เว้นแต่บางคนอาจจะหลับฝันดีถึงรัฐประหารครั้งที่ 14  แต่สงครามต่อต้านรัฐประหารในเมียนมาเตือนสติบรรดา "นักรัฐประหารไทย" เป็นอย่างดีว่า อย่าพาประเทศไปถึงจุดของความรุนแรงเช่นนั้นเป็นอันขาด เพราะไทยอาจกลายเป็น "รัฐล้มเหลว"(failed state) ได้ไม่ยาก!

 

 

 

 

logoline