svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ตรวจแถวการเมือง

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

16 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สัมผัสตัวตน "มาดามเดียร์" วทันยา บุนนาค สตรีแกร่งประจำสภาฯ ผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ที่มั่นคงแน่วแน่ชัดเจน

 

การตัดสินใจประกาศลาออกจาก "พรรคพลังประชารัฐ"ของ"มาดามเดียร์"  น.ส.วทันยา บุนนาค ทำให้แวดวงการเมืองต้องหันกลับมาปักหมุดในความเป็นตัวตนของสตรีแกร่งในสภารายนี้อีกครั้ง 

 

หากติดตาม "น.ส.วทันยา" โพสต์ข้อความลงบนเพจเดียร์ วทันยา บุนนาค  อย่างต่อเนื่อง สามารถรับรู้มุมมองทางการเมืองของสตรีรายนี้ได้ในระดับหนึ่งว่า เป็น ส.ส.หญิงที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีจุดยืนมั่นคงชัดเจน ผ่านการทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย  

 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

 

"เนชั่นทีวีออนไลน์" ชวนมาทำความรู้จัก  "วทันยา วงษ์โอภาสี" หรือ "วทันยา บุนนาค" หรือฉายาที่สื่อมวลชนตั้งให้ "มาดามเดียร์"  กันอีกครั้ง  

 

"วทันยา"  ถือเป็นหนึ่งในผู้หญิงแถวหน้า ที่ขึ้นชื่อว่ามีความเก่งและแกร่งในด้านการทำงาน นอกจากเจ้าตัวจะเป็นที่รู้จักหลังจากการโลดแล่นในการเมืองระดับชาติ เป็นส.ส. บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐแล้วนั้น ก่อนหน้านี้ก็เคยเป็นที่รู้จักและโด่งดังในแวดวงกีฬาและวงการสื่อมาก่อนเช่นกัน 

 

สำหรับ "มาดามเดียร์" จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็นเชียร์ลีดเดอร์ งานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 61  

 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

 

จากนั้นได้ผันตัวเข้าสู่วงการธุรกิจด้วยการเป็นผู้บริหารสถานีดิจิทัลทีวี อย่างไรก็ตามในปี 2559 "มาดามเดียร์" ถูกจับตามองอีกครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนบทบาท ได้ปรากฎตัวในแวดวงการกีฬา โดยได้รับแต่งตั้งจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีนั่นเอง ต่อเนื่องมาถึงปี 2560  "มาดามเดียร์" ได้ทำหน้าที่เป็น ผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ซีเกมส์ 2017 ที่ประเทศมาเลเซีย

 

ถือเป็นผู้จัดการหญิงคนแรกที่รับหน้าที่ดูแลทีมฟุตบอลชายโดยปีนั้นทีมชาติไทยสามารถรักษาแชมป์ได้สำเร็จ แต่ในปีเดียวกันนี้เอง "มาดามเดียร์" ได้ประกาศยุติบทบาท โดยให้เหตุผลว่า "เพื่อเป็นไปตามนโยบายของสมาคมฟุตบอล ที่ยกเลิกระบบผู้จัดการทีมชาติทุกชุดไปก่อนหน้านี้" ซึ่งนับแต่นั้น ทีมชาติไทยก็ยังไม่สามารถคว้าเหรียญทองในการแข่งขันซีเกมส์ได้อีกเลย

 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

 

หลังจากนั้นในปี 2561 ชื่อของ "มาดามเดียร์" ก็กลับมาได้รับความสนใจ และถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อเจ้าตัวได้ ตัดสินใจเข้าสู่สนามการเมืองระดับชาติ โดยสมัครเป็นสมาชิกพรรคของพลังประชารัฐ ( พปชร.) ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ทั้งนี้หลังจากการเลือกตั้งในปี 2562 และภายหลังการเลือกตั้งซ่อม เขตเลือกตั้งที่ 8 จ.เชียงใหม่ โดย พรรคพลังประชารัฐได้รับ 27,861 คะแนน ทำให้พรรคพลังประชารัฐได้ส.ส. บัญชีรายชื่อเพิ่ม 1 คน ดังนั้น "มาดามเดียร์" ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 19 จึงเลื่อนเป็นส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อนั่นเอง 

 

อย่างไรก็ตาม บาทบาททางการเมือง ในฐานะ ส.ส. ก็เรียกได้เป็นหน้าใหม่ที่ถูกจับตามอง เนื่องจากเป็นคนที่มีจุดยืนและมีอุดมณ์การทางการเมืองที่ค่อนข้างชัดเจน โดยยึดหลักเหตุและผล ความถูกต้อง และประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักมาโดยตลอด

 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

 

เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แม้ว่าจะเป็นส.ส. สังกัดพรรคแกนนำของพรรคร่วมรัฐบาล แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่ถูกต้องก็ไม่ได้หูหลับตา ที่จะเห็นด้วยกับฝั่งรัฐบาลเสมอไปในทุกเรื่อง พร้อมกันนี้ยังกล้าท้าทาย กับกระแสการเมือง แม้ว่าจะเป็นส.ส. ในซีกของรัฐบาล แต่กล้าที่จะงดออกเสียงลงมติให้รัฐมนตรีพรรคร่วมรัฐบาล ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ในปี 2564 คือ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย โดยใช้เหตุผลว่า "ตลอดการอภิปรายและการชี้แจง ไม่พบคำชี้แจงที่ชัดเจนเพียงพอ ในการตอบคำอภิปรายของพรรคฝ่ายค้าน และทำให้สังคมตั้งข้อกังขา  ทั้งในเรื่องการเปลี่ยนเงื่อนไขและการล้มการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และข้ออภิปรายเรื่องการไม่ปกป้อง หรือเรียกคืนที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในพื้นที่เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นที่ยังไม่ได้รับคำตอบอย่างชัดเจน"

 

ไม่เพียงแค่นั้น ล่าสุดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลครั้งสุดท้ายในรัฐบาลชุดนี้ เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา "มาดามเดียร์" ก็ยังย้ำจุดยืนเช่นเดิม โดยงดออกเสียงให้กับนายศักดิ์สยาม ในกรณีที่พรรคฝ่ายค้าน เปิดประเด็นเพิ่มเติมกรณีที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เนื่องจากได้ปรากฎหลักฐานที่มีครอบครัว และบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเครือญาติ ถือครองที่ดินของการรถไฟเพิ่ม รวมถึงกรณี หจก. บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ที่นายศักดิ์สยาม ยังตอบไม่ชัดเจน ในการเคลียร์ตัวเองว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทดังกล่าว ตามที่พรรคก้าวไกลอภิปรายกล่าวหา ว่ามารับจ้างเหมาสัมปทาน และเป็นคู่เทียบในการประมูลงานภายในของกระทรวงคมนาคมนั่นเอง และยังได้งดออกเสียง นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีเหตุผลใกล้เคียงกัน คือการชี้แจง ยังมีข้อคำถามในหลายประเด็น พร้อมกันนี้ยังย้ำว่า "ได้ตัดสินใจบนข้อมูล ไม่ได้นำความรู้สึกตัวเองเข้ามาเกี่ยวข้อง" แต่อย่างไร  

 

นอกจากนี้ยังได้มีการอภิปราย ในการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาพ.ร.ก.เงินกู้ 500,000 ล้านบาท ในประเด็นการใช้งบประมาณเงินกู้ด้านสาธารณสุข 45,000 ล้านบาท ในพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ตัวเลขจากกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 64 ถึงการใช้จ่ายเงินด้านสาธารณสุขจำนวน 45,000 ล้านบาทในพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท พบว่ามีวงเงินที่อนุมัติไปแล้ว 2.5 หมื่นล้านบาท หรือ 57% โดยมีการเบิกใช้จ่ายไปแล้วแค่ 7 พันกว่าล้านบาท ที่สำคัญในจำนวนเงิน 45,000 ล้านบาท เป็นเงินที่ถูกนำไปใช้จัดสรรวัคซีนแค่ 2,700 ล้านบาท หรือ6%เท่านั้น  ชี้ให้เห็นถึงการดำเนินการใช้งบประมาณล่าช้า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้วมาเร่งเอาภายหลังในวันที่สถานการณ์ลุกลามบานปลาย ไม่มีคาดการณ์หรือวางแผนประเมินความเสี่ยงอย่างรอบคอบ  ถือว่าเป็นการอภิปรายที่สามารถสร้างแรงกระเพื่อม จนทำให้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต้องออกมาชี้แจงเร่งด่วนเลยทีเดียว  

 

นอกจากนี้หากย้อนไปในช่วงปี 2563 เป็นต้นมา ที่ประเทศไทยได้เกิดการชุมนุมอยู่บ่อยครั้ง ที่มาจากปัญหาทางการเมือง โดยมีกลุ่มเยาวชนลุกขึ้นรวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ การเรียกร้องให้มีการปฎิรูปถึงสถาบัน รวมถึงการเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง จนเกิดปรากฎการณ์แฟลชม็อบ ของกลุ่มนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ การชุมนุมดังกล่าวเหมือนไฟลามทุ่มลุกลามบานปลาย ทั้งมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้ง "มาดามเดียร์" เป็น ส.ส. ในซีกของรัฐบาลอีกคน ที่ลุกขึ้นมาใช้ช่องทางผ่านกลไกของสภาฯ ร่วมอภิปรายเสนอแนะแนวทางเพื่อหาทางออกประเทศ โดยระบุว่า

 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

 

"รัฐบาลควรเปิดพื้นที่หรือเวทีกลางทั้งในและนอกสภาควบคู่กันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางตรงจากทั้งสองฝ่ายระหว่างรัฐและประชาชน โดยข้อเสนอของทั้งสองฝ่าย ต้องเป็นไปด้วยเหตุผลที่สังคมยอมรับเพื่อหาจุดสมดุลที่เป็นประโยชน์กับประเทศ ทั้งยังเสนอให้รัฐ กลับมาพิจารณาตั้งแต่โครงสร้างของปัญหา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นจุดต้นตอของสาเหตุ เช่น การปรับปรุงกระบวนการศึกษาที่จะทำอย่างไรให้เยาวชนเกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการศึกษาไทย ในขณะที่โลกภายนอกนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงรัฐต้องเร่งรัดปรับปรุงการสื่อสาร ที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอไปตามยุคสมัยด้วยเนื้อหาที่กระชับ เข้าใจง่าย"

 

การทำงานหลายเรื่องในระบอบสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะของส.ส. เจ้าตัวยังคงคอนเซ็ปเดิมอยู่เสมอ คือ ยึดหลักเหตุและผล ประชาชนเป็นที่ตั้ง ทั้งยังเปิดกว้างทางความคิด เช่น การร่วมโหวตกฎหมายที่สำคัญต่อกลุ่มบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับของพรรคก้าวไกล ซึ่งถือเป็นการสวนมติวิปรัฐบาล 


นอกจากนี้ ยังร่วมลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่…) พ.ศ. …หรือร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า วาระที่ 1 รับหลักการ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวในการพลิกโฉมวงการสุราของไทย

 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

 

ส่วนงานด้านอื่นๆ พบว่ามีบทบาทช่วยผลักดันในหลายเรื่องด้วยกัน ทั้งในด้านเทคโนโลยี เช่น คริปโตฯ, paypal  "มาดามเดียร์" ใช้บทบาทในฐานะโฆษกกรรมาธิการ (กมธ.) การเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร การออกมาเคลื่อนไหว หารือส่วนเกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และการจัดเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีการเดินสายรับฟังจากทั้ง สมาคมฟินเทคประเทศไทย สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย บริษัท บิทคับแคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการหาทางออกเก็บภาษีขายหุ้น-คริปโท ร่วมกัน เพื่อพิจารณารายละเอียดการจัดเก็บภาษีได้อย่างรอบคอบ ไม่เป็นการทำลายอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนถือเป็นโลกของอนาคตก่อนที่อุตสาหกรรมจะมีโอกาสเติบโต เพราะนั่นถือเป็นการทำลายโอกาสของประเทศไทย

 

นอกจากนี้ยังร่วมแก้ไขปัญหา  และหาทางออกร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์รายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของ "บริษัทเพย์พาล ประเทศไทย จำกัด" ปรับเปลี่ยนนโยบายการโอนเงินข้ามประเทศให้กับผู้ใช้งานทั่วไปผ่านระบบ "เพย์พาล" อีกด้วย 

 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

 

อีกประเด็นที่จะไม่พูดถึงคงไม่ได้ เนื่องจาก "มาดามเดียร์" ถือได้ว่าเป็นส.ส. คนแรกที่ลุกขึ้นมาพูดถึงและผลักดันให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนและพัฒนา soft power ซึ่ง "มาดามเดียร์" พยายามอย่างหนักที่จะส่งพลังให้ภาพยนต์ไทย กลายเป็น Soft power เพื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนต์ระดับโลก เริ่มจากนำผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ทำเนียบรัฐบาล หวังให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมประเพณีของประเทศไทยอย่างยั่งยืน และให้ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

 

โดยต้องสร้าง content  เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม อาหาร สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยสอดแทรกในภาพยนตร์ เพื่อเป็น  Soft Power สร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ รวมสร้างรายได้ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งเสนอตั้งกองทุนยุทธศาสตร์ Soft Power ตั้งสถาบันผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนผู้ผลิต 40% ในส่วนที่คาดว่าจะขาดทุน เพื่อให้ผู้ผลิตเอาเงินส่วนนี้ไปลงทุนกับบทและโปรดักชั่นต่อ 

 

ขณะที่การขับเคลื่อนผ่านกลไกสภาฯ ได้มีการอภิปราย ในเรื่องด่วนร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วาระแรก ขั้นรับหลักการ ในประเด็น Soft Power งบประมาณ 2566 ซึ่งการทำงานเรื่อง Soft Power ยังเป็นลักษณะต่างกระทรวง ต่างคนต่างทำ ไม่ได้มีแผนต่อเนื่องในระยะยาว ไม่มีแผนทางชัดเจน จึงอยากเสนอภาครัฐการใช้งบประมาณสร้างเศรษฐกิจด้วย Soft Power ซึ่งงบกระทรวงวัฒนธรรม 6,747 ล้านบาท กว่า 90% ถูกนำไปใช้ในเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ศิลปะเดิมของประเทศ มีเพียงโครงการเดียวที่มีเกี่ยวข้องกับ Soft Power มากที่สุด

 

คือ โครงการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ มีงบประมาณเพียง 40 ล้านบาท รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลต้องหันมาสนับสนุนอุตสาหกรรมสื่อศิลปะและบันเทิงให้มากขึ้น โดยเปรียบเทียบกับซีรีส์เกาหลีหรือศิลปินนั่นเอง 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

 

จากที่กล่าวเบื้องต้นมานั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำหน้าที่ผู้แทนของประชาชน ในสภาฯ แต่เมื่อว่างเว้นภาระกิจแล้ว "มาดามเดียร์" พร้อมทีม ส.ส. กลุ่มดาวฤกษ์ ที่ประกอบด้วย น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ,น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ส.ส.เขตบางกะปิ-วังทองหลาง,นายศิริพงษ์ รัสมี ส.ส.เขตหนองจอก,นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.เขตคลองเตย-วัฒนา น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.เขตราชเทวี-พญาไท-จตุจักร และ น.ส. ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.บางซื่อ-ดุสิต

 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

 

ซึ่ง "มาดามเดียร์" เปิดเผยว่า จุดเริ่มแรกของการรวมกลุ่ม มาจากความคุ้นเคยตั้งแต่ลุยหาเสียงเลือกตั้งใหญ่ ผ่านด่านเข้าสภาทุกคนล้วนเป็น ส.ส.หน้าใหม่ อายุอานามไล่เลี่ยกัน สร้างความผูกพันและสนิทสนมผ่านภารกิจของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งนี้ในหลายจังหวะหยิบยกปัญหาในพื้นที่ กทม.ขึ้นมาหารือ เพื่อแชร์ข้อมูลและความเห็นจัดการปัญหา ให้กับคนกรุงเทพมหานครโดยยึดประชาชนเป็นหลัก โดยหวังว่าสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีได้ แม้เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ดังนั้นหากรวมกันเยอะๆก็เปลี่ยนแปลงเรื่องใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศได้


ดังนั้นจึงแท็คทีมลงพื้นที่ช่วยเหลือและรับฟังปัญหาให้กับประชน  เช่น รับฟังปัญหาชุมชนตลาด 100 ปี ในพื้นที่หนองจอก หลังชาวบ้านคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนกั้นน้ำเนื่องจากได้รับผลกระทบ และเกรงจะเป็นการทำลายวิถีชีวิตชุมชนและทัศนียภาพริมคลอง ที่สู้รักษามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำหารือในที่ประชุมสภาฯ ต่อไป หรือแม้แต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เป็นส.ส. อีกกลุ่มหนึ่งที่ขยันพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตลาดสดบางกะปิ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เข้ารับการตรวจเชิงรุกหาเชื้อโควิด-19 นั่นเอง และการลงพื้นที่ตรวจเชิงรุกโควิด-19 ให้กับประชาชนเขตหนองจอก เป็นต้น
 

รู้จัก "มาดามเดียร์" เลือดข้นในอุดมการณ์ปกป้องรักษาเสาหลักประชาธิปไตย

logoline