svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ตรวจแถวการเมือง

เปิดใจ"สุพจน์ ไข่มุกด์"เบาะแส กรธ. วาระดำรงตำแหน่งนายกฯกับมุมมอง 8 ปี นายกฯ

12 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดใจ "สุพจน์ ไข่มุกด์" อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังบันทึกกรธ.ชี้วาระดำรงตำแหน่งนายกฯว่อนโลกโซเชียล ซึ่งมาพร้อมกระแสร้อน "8 ปีนายกฯ" ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนสู่การวินิจฉัยของศาลรธน. (ชมคลิป)

 

ปม "8 ปี นายก" จะสิ้นสุดลงเมื่อใด กำลังเป็นเรื่องถกเถียงกันในสังคมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะก่อนที่"พรรคเพื่อไทย"จะเดินเครื่องยื่น"ศาลรัฐธรรมนูญ" ปรากฎว่า มีการเผยแพร่เอกสารบันทึกการประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ถกเถียงกันถึงวาระดำรงตำแหน่งนายกฯ ออกสู่สาธารณะ 

 

ดังนั้น เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงทัั้งหมด "รายการคมชัดลึก เนชั่นทีวี"ดำเนินรายการโดย "วราวิทย์ ฉิมมณี"  จึงได้เชิญ "สุพจน์ ไข่มุกด์"  อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตรองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้น  พร้อมทั้ง "รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในตอน.."บันทึก กรธ. ดักทาง ประยุทธ์ ไปต่อ?"

 

เปิดใจ"สุพจน์ ไข่มุกด์"เบาะแส กรธ. วาระดำรงตำแหน่งนายกฯกับมุมมอง 8 ปี นายกฯ
 

บันทึก กรธ. เบาะแสนายกตกเก้าอี้ 8 ปี

 

"รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นชัดเจนว่า 24 สิงหาคม 2565 คือการดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี สำหรับ"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" เพราะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนด 

 

นักกฎหมายต้องแก้ปัญหา ไม่ควรทำให้เกิดความซับซ้อน ควรใช้หลักการตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คำถามว่าจะตามหาเจตนารมณ์ของกฎหมายจากที่ไหน  ต้องกลับไปดูที่หลักการบันทึกเจตนารมณ์  

 

"รศ.ดร.มุนินทร์" ย้ำว่าตามมาตรา 158 แห่งรัฐธรรมนูญ (รธน.) ปี 2560 ที่ระบุในวรรคสี่ ว่า "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง” 

 

มาตรา 264 เพื่อให้ ครม.ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่ เพื่อความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน  ทั้งสองมาตราย่อมถือเป็น บริบทแวดล้อมว่า "พลเอกประยุทธ์" ดำรงตำแห่นง 8 ปีถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565  แต่ก็ย่อมมีผู้ที่มีความเห็นที่แตกต่าง 

เปิดใจ"สุพจน์ ไข่มุกด์"เบาะแส กรธ. วาระดำรงตำแหน่งนายกฯกับมุมมอง 8 ปี นายกฯ

ดังนั้น หากจะให้ชัดเจน ก็ต้องกลับไปดูบันทึกหลักการและเหตุผลของคณะกรรมการร่างรธน. จะเห็นได้ว่าเขาไม่ต้องการให้ใครผูกขาดอำนาจ รวมถึงความเห็นของ"นายมีชัย ฤชุพันธ์ุ"  ประธานคณะกรรมการยกร่างรธน. และ "นายสุพจน์ ไข่มุกด์"  รองประธานคณะกรรมการยกร่าง รธน. คนที่ 1 ที่แสดงความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งมีความสอดคล้องกันที่ไม่เห็นเป็นอย่างอื่น ซึ่งมีหลักฐาที่บันทึกไว้ไม่ใช่การตีความตามอำเภอใจ และเป็นการตีความที่สอดคล้องตามจารีตประเพณี 

 

สุพจน์ ขอความเป็นธรรมกลับความเห็นปม 8 ปี นายก

 

รายการช่วงที่สอง เชิญ "นายสุพจน์ ไข่มุกด์" อดีตรองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ  ตอบถึงถ้อยคำที่ระบุอยู่ใน รายงาน ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)  ที่บันทึกความเห็นของ ไว้ว่า "หากนายกรัฐมนตรีอยู่ก่อน ปี 2560 ก็ต้องนำมานับด้วย"

"วราวิทย์" ถามว่าตอนที่ให้ความเห็น ว่าควรนับระยะเวลาก่อนที่รัฐธรรมนูญปี 2560 บังคับใช้ อาจารย์ได้มองถึง มาตรา 158 หรือไม่จึงให้ความเห็นไปแบบนั้น 


"นายสุพจน์" ตอบว่า เป็นการสอบถามในวาระเริ่มแรก ที่ตั้งประเด็นขึ้นมาจาก"นายมีชัย ฤชุพันธ์"  ประธาน กรธ. และกลายเป็นประเด็นขึ้นมาในขณะนี้ เมื่อมีการนำความเห็นของ ประธาน และรองประธานขึ้นมาซึ่งโดยข้อเท็จจริง ไม่ใช่มติแต่เป็นการหารือกันเท่านั้น 

 

เปิดใจ"สุพจน์ ไข่มุกด์"เบาะแส กรธ. วาระดำรงตำแหน่งนายกฯกับมุมมอง 8 ปี นายกฯ

"การดำรงตำแห่นงจะอายุ 8 ปี ก็ต้องมาดูที่ รธน.มาตรา 158 และมาตรา 159  เพราะมีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งต้องมีผู้รู้อธิบายถึงจะมีความกระจ่างชัด และบันทึกการประชุมก็หยิบมาแค่ 2 คนเท่านั้น ทั้งที่มีการให้ความเห็นหลายคนควรเอามาตีแผ่ รายงาน ความมุ่งหมาย เป็นรายงานการประชุมปกติ ที่ไม่ได้เป็นบันทึกลับแต่อย่างไร" 


เมื่อ "วราวิทย์" ถามว่า มีคนเห็นค้านหรือไม่ในกรรมการร่างรธน. 
"นายสุพจน์" กล่าวว่า จำไม่ได้ และเพิ่งนึกขึ้นได้ว่าในที่ประชุมมีการตอบคำถามแบบนี้ด้วยหรือ ซึ่งย้ำว่าไม่ใช่มติ 

 

"วราวิทย์" ถามในฐานะนักกฎหมายท่านหนึ่ง อาจารย์จะถูกมองว่าเป็นการเปลี่ยนวิธีการมองรัฐธรรมนูญ จากวันนั้นมาเป็นสถานการณ์วันนี้ มีตัวบุคคลเกี่ยวข้อง 

"นายสุพจน์" กล่าวว่า ก็ต้องเป็นไปตาม รธน.มาตรา 158 ที่ระบุว่า นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎร และให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159  พร้อมทิ้งท้ายว่า "ให้ความเป็นธรรมกับผมบ้าง ผมมีจุดยืนของตนเอง"

 

เมื่อ "วราวิทย์" ถามว่า คิดว่ามีใครดิสเครดิสหรือไม่ 

 

"นายสุพจน์" กล่าวว่า ผมคาดเดาไม่ได้ แต่ก็ขอให้ดูเจตนารมณ์ และจุดมุ่งหมายของคนที่ปล่อยข่าวออกมา แต่เชื่อว่าศาลรธน.จะวินิจฉัยไม่ยาก เพราะจะตีความตามข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย ซึ่งการวินิจฉัยน่าจะใช้เวลาไม่มาก เพราะกรณีนี้เป็นการตีความตามข้อกฎหมาย ที่มีความชัดเจนอยู่แล้ว  


  
อย่าใช้รัฐศาสตร์ ตีความกฎหมาย

 

รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลับมาแสดงความเห็นในช่วงท้ายว่า ปัญหาทางกฎหมายไม่อาจเอาหลักรัฐศาสตร์มาใช้ได้ หากเอามาใช้ตามอำเภอใจ ก็จะเป็นปัญหาตามมามากมาย และไม่ควรให้บุคคลใดผูกขาดอำนาจมากเกินไป หรือฝากความหวังประเทศชาติไว้แค่คนใดคนหนึ่งเท่านั้น  

 

"กรณีนี้หากมีการตีความ นักกฎหมายจะตีความด้วยความชอบธรรม เพราะหากการดำรงตำแหน่งเกินกว่า 24 สิงหาคม 2565 ก็จะกลายเป็นการขาดหลักการ จะหาคำอธิบายยากมาก ยกเว้นว่า มีอภินิหารเกิดขึ้นเท่านั้น"   รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน   กล่าวทิ้งท้าย 

 

logoline