"เครือข่ายแพทย์ฯ-ภาคปชช." ส่งจม.เปิดผนึกถึงนายกฯหนุนกัญชากลับยาเสพติด
13 พฤษภาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติด ได้ทำจดหมายเปิดผนึกเพื่อยื่นถึงรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยสนับสนุนแนวทางนำกัญชากลับคืนสู่บัญชียาเสพติด โดยมีเนื้อหาระบุว่า
เรื่อง จดมหายเปิดผนึก สนับสนุนนโยบายรัฐบาลเรื่องการนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดประเภท 5
เรียน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตามที่เป็นข่าววันที่ 8 พ.ค. 2567 ว่าท่านนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่ผู้เกี่ยวข้อง อาทิ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
โดยขอให้แก้ไขปัญหายาเสพติดและนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด ประเภท 5 และเร่งออกกฎกระทรวง อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการแพทย์และสุขภาพเท่านั้น โดยกำหนดไทม์ไลน์ การดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้นั้น
เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติดขอสนับสนุนนโยบายนี้ด้วยเหตุผลหกประการ คือ
(1) การปลดกัญชาเสรีด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมติคณะกรรมการ ป.ป.ส. ที่ให้กระทรวงสาธารณสุข รอการบังคับใช้ 120 วัน จนกว่าจะมีกฎหมายควบคุมกัญชาโดยเฉพาะ ออกมาบังคับใช้ และให้เลื่อนการการปลดกัญชาเสรีออกไปได้ หากกฎหมายกัญชายังไม่แล้วเสร็จ
จุดมุ่งหมาย คือ เพื่อต้องให้มีมาตรการควบคุมการใช้กัญชาในทางที่ผิดที่ดีเพียงพอก่อน แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ยังคงเดินหน้าบังคับใช้ให้เกิดการปลดกัญชาเสรี แม้จะยังไม่มีกฎหมายกัญชา ออกมาก็ตาม จึงเป็นการปลดกัญชาเสรีที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมตามกระบวนการทางกฎหมาย ตั้งแต่ต้น
(2) การปลดกัญชาเสรีนี้ ก่อให้เกิดสถานการณ์ "กัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ" ทันที คือ ไม่มีมาตรการควบคุมเลยโดยสิ้นเชิงผู้ใดจะปลูกหรือจะเสพทำได้หมด โดยไม่มีมาตรการควบคุมใดๆ (ไม่มีประเทศใดในโลกปลดกัญชาแบบนี้) ต่อมากระทรวงสาธารณสุขทยอยออกมาตรการควบคุมตามมาจำนวนหนึ่ง แต่ก็เป็นมาตรการที่ไม่มีประสิทธิผลและบังคับใช้ยาก
เป็นผลให้เกิดการปลูกกัญชาทั่วประเทศ ทั้งแบบครัวเรือนและแบบพาณิชย์โดยไม่ต้องขออนุญาต ส่งผลให้เยาวชนเข้าถึงและเสพติดดอกกัญชาได้ง่ายจากการปลูกเอง ขโมย หรือได้รับจากเพื่อน ไม่มีการห้ามโฆษณากัญชา หากไม่ใช้ดอกกัญชามาทำการโฆษณา จำหน่ายกัญชาที่ทำจากใบกัญชาทางเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติได้ตลอด 24 ชั่วโมง และพกพากัญชาในที่สาธารณะได้ไม่จำกัดจำนวน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของกัญชาทั่วประเทศไทย
(3) การแพร่ระบาดของกัญชานี้ ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง มีผู้เสพกัญชามากขั้นทั่วประเทศ จำนวนผู้ป่วยจิตเวชเกี่ยวกับการใช้กัญชาที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง (แต่ข้อมูลนี้ไม่ถูกเปิดเผยอย่างเป็นทางการ) ครูและผู้ปกครองสะท้อนปัญหาเยาวชนเสพกัญชาอย่างกว้างขวางทั่วไป
(4) การนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดประเภท 5 ด้วยการแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข จะทำให้กัญชากลับไปอยู่ภายใต้การควบคุมของประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์อยู่แล้ว การพัฒนาให้ผู้ป่วยเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น
หรือการสนับสนุนเศรษฐกิจกัญชาทางการแพทย์ เป็นสิ่งที่ทำได้ โดยการออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพัฒนาการบริหารจัดการการให้บริการกัญชาทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดในแบบที่กระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลก่อนทำมา ซึ่งก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศในระยะยาว และทำให้สูญเสียคะแนนนิยมทางการเมืองอีกด้วย
(5) ข้อโต้แย้งของผู้ดำเนินธุรกิจกัญชา หรือผู้ที่ปลูกกัญชาแล้วว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เหตุผลในการหยุดยั้งนโยบายนำกัญชากลับไปเป็นยาเพสติด เนื่องจาก
- (ก) ผู้ที่ดำเนินธุรกิจต้องประเมินความเสี่ยงและรับผิดชอบการกระทำของตนเองอยู่ แล้วทั้งด้านกำไรและขาดทุน
- (ข) หากกำหนดบทเฉพาะกาล เช่น อนุโลม 3-6 เดือน สำหรับ กัญชาที่ปลูกไว้แล้ว แต่ไม่ให้ปลูกใหม่ กัญชาที่ปลูกไว้แล้ว จะตายไปโดยธรรมชาติ เพราะเป็นพืชล้มลุก เป็นการบรรเทาความเสียหายเชิงเศรษฐกิจที่เพียงพอแล้ว
- (ค) รัฐบาลต้องคำนึงถึงคนทุกกลุ่ม ผู้ปลูกและผู้ดำเนินธุรกิจกัญชามีจำนวนเพียงหลักพันหรือหลักหมื่น แต่เยาวชนที่สมองถูกทำลายได้ด้วยกัญชา พ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ดี ครู ที่ต้องสั่งสอนลูกศิษย์ พระที่ต้องสอนศีลธรรม หมอและพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วย มีจำนวนหลายสิบล้านคน อีกทั้ง นักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ต้องไม่ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระยะสั้น มาบดบังผลกระทบทางสังคมในระยะยาว
(6) การปลดดอกกัญชาจากการเป็นยาเสพติด ซึ่งเป็นผลให้ใช้กัญชาเพื่อความบันเทิงได้ เป็นการขัดต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติด ค.ศ. 1961 ฉบับแก้ไข ที่ขณะนี้ยังคงอนุญาตให้ใช้กัญชาได้ในทางการแพทย์เท่านั้น ก่อให้เกิดผลกระทบ คือ ประเทศที่ฝ่าฝืนต่ออนุสัญญาฯนี้ มีโอกาสถูกห้ามนำเข้ายารักษาอาการปวดบางประเภท (เช่น มอร์ฟีน) ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อระบบการแพทย์และผู้ป่วยอย่างมาก
เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติด จึงส่งจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ มาเพื่อสนับสนุนนโยบายนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดประเภท 5 และการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เท่านั้นของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ณ โอกาสนี้ และจะติดตามการทำงานของรัฐบาลในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด จนกว่าบรรลุผลต่อไป
ลงชื่อ เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติด 12 พฤษภาคม 2567
- นพ.ชาตรี บานชื่น อดีตกรรมการแพทยสภา อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต และ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- ดร.วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ที่ปรกึษาคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ สหประชาชาติ
- ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นักวิทยาศาสตร์ Centre for Addiction and Mental Health, Canada
- รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กุมารแพทย์ ผู้เชียวชาญด้านการแพทย์วัยรุ่น และผู้จัดการโครงการต้นทุนชีวิต ประเทศไทย
- ศ.นพ.มานิต ศรีสุรภานนท์ ศาสตราจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ ศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พล.ต.นพ.พิชัย แสงชาญชัย ประธานชมรมจิตเวชศาสตร์ การเสพติดแห่งประเทศไทย
- รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรสีนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย
- ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ อายุรแพทย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ศาสตราจารย์สาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ผศ.ดร.อุษณีย์ พึ่งปาน ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นายไฟซ้อน บุญรอด ประธานเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันภัยยาเสพติด
- นายวชัรพงศ์ พุ่มชื่น นักพัฒนางานวิชาการ ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ
- นพ.ไพศาล ปัณฑุกำพล สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทร์บรมราชชนนี
- นพ.วิทยา จารุพูนผล ข้าราชการบำนาญ รพ.ขอนเก่น
- นพ.วิโรจน์ เยาวพลกุล แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- นพ.วัฒนา สุพรหมจักร แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- พล.อ.นพ.ชศูักดิ์ สุวรรณศิรกิุล แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- พล.อ.ท.นพ.วิศิษฏ์ ดุสิตนานนท์ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- นพ.เจริญ ปฏิภาณเทวา แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- พญ.ภาพิส เสงี่ยมพรพาณิชย์ ข้าราชการบำนาญ
- พญ.อรพินธ์ พจน์พริ้ง อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พล.อ.นพ.อิสสระชัย จุลโมกข์ ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ รพ.บางโพ และอดีตผู้อำนวยการ รพ.พระมงกุฏเกล้าฯ
- นพ.พงษ์สันติ์ ลี้สัมพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพ รพ.หัวเฉียว
- นพ.ณัฐกุล แย้มประเสริฐ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ รพ.มหาราชนครราชสีมา
- ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม อายุรแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ และ รองผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี
- นพ.สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- นพ.อธิคม สงวนตระกูล กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.มหาราชนครราชสีมา
- พญ.สริฐา มหาศิริมงคล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง
- นพ.ปฏิเวช งามวิจิตวงศ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง
- พญ.วิภัสรา สวัสดี นายแพทย์ชำนาญการ รพ.บุรีรัมย์
- นายยศกร ขุนภักดี ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนไม่นะกัญชาและยาเสพติด (YNAC)
- พญ.เสาวลักษณ์ นาคะพงษ์ อดีตผู้อำนวย รพ.มหาสารคาม
- นพ.เสถียร เตชะไพฑูรย์ แพทย์ รพ.บำรุงราษฎร์
- นายวิฑูรย์ เตชะพัฒนสุนทร Auditor บริษัทมหาชนหลายแห่ง
- นายวันชัย ตุลาธมุตติ วิศวกร
- นายชัยโรจน์ วัฒนวรรณเวชช์ เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับกระจก
- นายซื่อตรง เจียมจรรยา แพทย์เกษียณ อดีตอาจารย์คณะแพทย์ รามาธิบดี
- พญ.ดวงเดือน ศิลปสุวรรณ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทย์ ศิริราชพยาบาล
- นพ.ธนวรรฒน์ โชติมา ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- นพ.นคร ภิญญาวัฒน์ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- นพ.พรเทพ จันทวานิช ที่ปรึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
- พอ.นพ.ศักดิ์ชัย อติโพธิ แพทย์เกษียณ กรมการแพทย์ทหารบก
- พญ.สุรภี เรืองสุวรรณ อดีตผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- ศ.พญ.อังกาบ ปราการรัตน์ อดีตอาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พญ.กฤษณา เพ็งสา อดีตอาจารย์คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
- พญ.อุไภยพรรณ ลุวีระ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- พญ.สุนันท์ ไรวา ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- พล.ตรี พญ.ยุพาพิญ จุลโมกข์ แพทย์เกษียณ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
- นพ.วรพล ชีรณานนท์ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, แพทย์ รพ.สุขุมวิท
- พญ.กาญจนา ชัยกิตติศิลป์ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, แพทย์ รพ.กรุงเทพ
- พล.อ. นพ.สีมา ศุภเกษม แพทย์เกษียณ รพ.พระมงกุฏเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
- ศ.เกียรติคุณ นพ.เกรยีงศักดิ์ จีระแพทย์ อดีตอาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- ผศ.นพ.เอื้อพงศ์ จตุรธำรง อดีตรองคณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- พล.ท.หญิง ทิพย์สุรยี์ นาคประสิทธิ์ ข้าราชการเกษียณ รพ.พระมงกุฏเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
- รศ.พญ.ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัย กรรมการและเหรัญญิกราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
- พล.ต.หญิงยุพาพิน จุลโมกข์ แพทย์ รพ.พระมุงกุฏเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
- นพ.ภิญโญ เปลี่ยนรงัษี แพทย์โรงพยาบาลเปาโล
- พญ.ประภาพรรณ นาควัชระ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พญ.รุ่งเรือง กาญจนภูมิ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- นพ.สมหวัง อภิชัยรักษ์ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล