svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

15 เมษา ย้อนโศกนาฏกรรมช็อกโลก “เรือไททานิก“ ล่ม พราก 1,500 ชีวิตไปจากครอบครัว

14 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

15 เมษายน ย้อน 112 ปี โศกนาฏกรรมช็อกโลก “เรือไททานิก“ ล่ม พราก 1,500 ชีวิตไปจากครอบครัว กับเรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้

ตอนสายของวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2455 เรือสำราญหรู ทันสมัยที่สุด และราคาตั๋วแพงอันดับ 1 ของโลก ชื่อ “ไททานิก” ซึ่งเป็นเรือของบริษัทเดินเรืออังกฤษ ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์พร้อมลูกเรือ และผู้โดยสารระดับมหาเศรษฐีจากทวีปยุโรป และสแกนดิเนเวีย  2,223 ชีวิต แล่นออกจากท่าเรือเมืองเซาแธมป์ตัน (Southampton) เพื่อมุ่งหน้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก สู่มหานครนิวยอร์ก

เครดิตภาพ : วิกิพีเดีย

ย้อนเหตุการณ์นาทีโศกนาฏกรรม ”ไททานิก“ ล่ม

14 เมษายน 2455 เวลาประมาณ 23.40 น. ในระหว่างที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่กำลังหลับไหล ต้นหนของเรือสังเกตเห็นภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ วางอยู่ตรงหน้า และเรือกำลังจะเข้าไปปะทะโดยตรงด้วยความเร็วเต็มกำลัง ต้นหนจึงรีบส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังห้องบัญชาการทราบทันที ซึ่งในเวลานั้นเป็นเวรของ วิลเลียม เมอร์ด็อก รองกัปตันเรือ เป็นผู้คุมเรือ

รองกัปตันวิลเลียม เมอร์ด็อก พยายามหักพังงาเรืออย่างเต็มกำลัง และดับการทำงานของเครื่องยนต์เรือ เพื่อชะลอความเร็ว แต่เนื่องจากขนาดของเรือ และความเร็วก่อนหน้า ทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่เรือไททานิค จะสามารถหลบภูเขาน้ำแข็งได้ทันเวลา

เครดิตภาพ : วิกิพีเดีย

จากทิศทางการหักเลี้ยว ส่งผลให้ด้านขวาของเรือ ปะทะเข้ากับภูเขาน้ำแข็งเต็ม ๆ ทำให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ไม่สามารถทนทานแรงดันนํ้าได้ จึงส่งผลให้นํ้าทะลักเข้ามาภายในตัวเรือ ผู้โดยสารและสมาชิกลูกเรือบางส่วนถูกอพยพในเรือชูชีพ โดยมีเรือชูชีพจำนวนมากถูกปล่อยลงน้ำไปทั้งที่ยังบรรทุกไม่เต็ม

ชายจำนวนมาก กว่า 90% ของชายในที่นั่งชั้นสอง ถูกทิ้งอยู่บนเรือ เพราะระเบียบที่ต้องให้ผู้หญิงและเด็กไปก่อน ตามด้วยเจ้าหน้าที่ซึ่งบรรทุกเรือชูชีพนั้น ต่อมาเวลา 02.20 น. เรือ “ไททานิก” แตกครึ่งลำ และจมลงก้นสมุทรอย่างช้า ๆ ขณะที่ยังมีอีกกว่าพันคนอยู่บนเรือ

เครดิตภาพ : วิกิพีเดีย คนที่อยู่ในน้ำเสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีจากภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) อันเกิดจากการจุ่มในมหาสมุทรที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง ผู้รอดชีวิต 710 คนถูกนำขึ้นเรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) ในเวลา 04.10 น. รวมเป็นเวลาลอยคอทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง

จากข้อมูล ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ เรือไททานิกล่ม ไม่ได้มีเพียงแค่ผู้หญิงและเด็กเท่านั้น แต่ก็มีชายจากผู้โดยสารชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 และลูกเรือ ติดมาด้วยเช่นกัน และใหญ่ผู้ชายที่รอดชีวิตมา จะถูกตราหน้าว่าไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษ

เครดิตภาพ : วิกิพีเดีย

สาเหตุ “ไททานิก” ล่ม

สารคดี National Geographic นำเสนอบทวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เรือชนภูเขาน้ำแข็งว่า น่าจะเกิดจากภาพลวงตาอันเกิดจากมวลอากาศอุ่น มาปะทะกับอากาศเย็น เหมือนเราเห็นน้ำนองบนถนนตอนแดดจัด (Mirage) ภาพลวงตาที่ว่านี้จะทำให้เราเห็นเส้นขอบฟ้าสูงกว่าความเป็นจริง ภาพจริงของภูเขาน้ำแข็งจึงถูกซ่อนในเงามืดของทะเล หรือถ้าจะพูดให้ง่ายๆก็คือ มองไม่เห็นภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ตรงหน้า

ทำความรู้จัก “เรือไททานิก” 

“เรือไททานิก” (Royal Mail Ship Titanic) หรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) คือโปรเจ็คของ บริษัทไวท์สตาร์ไลน์ ซึ่งทำธุกิจเกี่ยวกับเรือสำราญขนาดใหญ่ข้ามมหาสมุทรโดยโครงการนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสร้างเรือสำราญที่ขนาดใหญ่กว่า และดีกว่าคู่แข่งในตลาด ณ เวลานั้น

“เรือไททานิก” ถูกสร้างขึ้นด้วยระบบวิศวกรรมและเทคโนโลยี ที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น ระหว่าง ค.ศ.1909-1911 โดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนดวูล์ฟฟ์ สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1912 พร้อมกับตั้งฉายาให้ว่า “เรือที่ไม่มีวันจม”

ภายในเรือ มีการตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมที่หรูหรา ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย โดยได้รับแรงบรรดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมมาจาก พระชารวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศษ

"เรือไททานิก" เป็นเรือโดยสารขนาดใหญ่ที่สร้างด้วยโลหะ โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2,435 คน มีความยาว 269.0622 เมตร ความกว้าง 28.194 เมตร ขนาดของเรือ 46,328 ตัน มีเครื่องยนต์ 3 ตัว หมุนใบจักร 3 ใบ รวม 50000 แรงม้า เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 23 น็อต (42.596 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ภายในเรือแบ่งเป็น 9 ชั้น ประกอบด้วยพื้นที่ให้บริการต่างๆ อาทิ ชั้นดาดฟ้า ห้องนั่งเล่น ห้องสมุดห้องสูบบุหรี่ คาเฟ่ขนาดเล็ก และเนิร์สเซอรี่ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ร้านกาแฟแบบปารีสของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ห้องสมุดของผู้โดยสารชั้นสอง ห้องเอนกประสงค์ของผู้โดยสารชั้นสาม ห้องอาหาร ห้องนอน สระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำแบบตุรกี และห้องเก็บกระเป๋าเดินทาง

โดยการเดินทางครั้งแรก เริ่มการเดินทางที่เมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ควบคุมโดยกัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ (Edward J. Smith) เพื่อเดินทางไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางครั้งนั้น มีผู้เดินทางรวมทั้งหมด 2,208 คน แบ่งเป็นลูกเรือ 891 คน , ผู้โดยสารชั้นสาม 708 คน , ผู้โดยสารชั้นสอง 285 คน และผู้โดยสารชั้นหนึ่ง 324 คน

"ไททานิก" จากโศกนาฏกรรม สู่หนังรักโรแมนติก

จากเหตุการณ์ช็อกโลกในครั้งนั้น ในเวลาต่อมาเรื่องราวของเรือลำนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ Titanic โดยผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน ซึ่งเข้าฉายครั้งแรกในปี 1997 และกวาดรายได้ถล่มทลายจนติดโผภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลอันดับที่ 6 จนถึงทุกวันนี้ 

15 เมษา ย้อนโศกนาฏกรรมช็อกโลก “เรือไททานิก“ ล่ม พราก 1,500 ชีวิตไปจากครอบครัว

logoline