svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

คณะผู้ออกแบบ "พระที่นั่งทรงธรรม" กับงานสุดท้าทาย

06 ธันวาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังจากเราพาไป เปิดแบบร่าง บุกห้องทำงาน ของ คณะผู้ออกแบบ พระเมรุมาศ และ อาคารประกอบ ที่จะถูกสร้างเพื่อใช้ใน พระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในตอนแรก ได้พูดคุยกับผู้ออกแบบ พระเมรุมาศกันไปแล้ว ตอนที่ 2 นี้จะพาไปทำความรู้จักกับอาคารประกอบหลังอื่นๆ กันบ้าง

     หลังจากเราพาคุณผู้ชมไป พูดคุยกับ ผู้ออกแบบ พระเมรุมาศ  อาคารหลักในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ตอนนี้เราจะพามาพูดคุยกับคณะผู้ออกแบบ  พระที่นั่งทรงธรรม ที่มีความสำคัญ รองลงมาจาก พระเมรุมาศ   ใช้สำหรับเป็นที่ประทับและบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศานุวงศ์ พร้อมต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองด้วย 
    โดยทางสำนัก สถาปัตยกรรม. กรมศิลปากร ได้มอบหมายให้สถาปนิกปฎิบัติการ  "อาทิตย์ ลิ่มมั่น" และสองสถาปนิกชำนาญการ "จักรพันธ์ วัชระเรืองชัย" "ชาริณี อรรถจินดา"  รับผิดชอบดูแลการออกแบบ ขนาดของ พระที่นั่งทรงธรรมในพระราชพิธีครั้งนี้ จะมีการขยายให้ใหญ่  เป็นอาคารชั้นเดียวยกฐานสูง  ขนาดกว้าง 44.50  เมตร ยาว 155  เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลางด้านทิศตะวันตกของพระเมรุมาศ  หลักในการออกแบบที่สำคัญนอกจากจะต้องสวย สง่า ตรงตามโบราณราชประเพณีแล้ว ยังต้องสอดคล้องกับพระเมรุมาศ และ ระวังไม่ให้โดดเด่นเกินกว่าพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นอาคารหลังหลักด้วย โดย นอกจาก พระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงษานุวงศ์ ที่จะมาประทัปเพื่อทำพิธีแล้ว  ยังมีการคาดการณ์ว่า จะมีแขกระดับ ประมุข และ ประธานาธิบดี และ ผู้นำของประเทศต่างๆ มาร่วมพระราชพิธี จำนวนมาก จึงเตรียมพื้นที่สำหรับผู้เข้าร่วมพระราชพิธีประมาณ 3000  ที่นั่ง และ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้ภายใน  เพื่ออำนวยความสะดวกด้วย หลังจากที่ได้พูดคุยกับ 3 สถาปนิกนักออกแบบแล้ว ก็ได้เห็นมุมมองต่อการทำงานครั้งนี้ ว่า  ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีหรือภูมิใจที่ได้ทำ แต่จะทำอย่างสุดความสามารถให้สมพระเกียรติ โดยมีต้นแบบคือ ศิลปินแห่งชาติ  พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น บรมครูแห่งสถาปัตยกรรมที่ส่งต่อความรู้ใว้ให้ตั้งแต่ครั้ง ทำงานพระราชพิธี ครั้งก่อนๆ  

logoline