svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

คม-ชัด-ลึก "วิกฤตป่าน่าน" วิกฤตของชาติ!

30 สิงหาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชมย้อนหลัง! คมชัดลึก 31/8/59 "วิกฤตป่าน่าน" วิกฤตของชาติ!ผู้ร่วมรายการบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า น่านโมเดลไม่มีความชัดเจน โจทย์ป่าน่านยังมีมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ป่ายังโดนตัดอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะป่าน่าน เป็นต้นน้ำเจ้าพระยากว่าร้อยละ 40 ของมวลน้ำมาจากป่าน่าน แต่ในแง่ระบบการปกครองราชการของน่านอยู่ปลายแถวมาโดยตลอด เพราะใช้เกณฑ์การวัดด้วยจีดีพี แต่ขุมทรัพย์ของน่าน ไม่ได้อยู่ที่เศรษฐกิจ แต่อยู่ที่ความเป็นป่าต้นน้ำ หากต้นน้ำเป็นอะไร เจ้าพระยาและภาคกลางก็เป็นไปด้วย ที่สำคัญกระแสน้ำจะคุมได้ยาก เพราะไม่มีป่าหรือต้นไม้ที่มีรากลึกมายึดดินยึดน้ำเอาไว้ ช่วงที่น้ำไม่ลงมา น้ำทะเลก็ดันขึ้นไป ถึงระดับหนึ่งดินที่ใช้ปลูกข้าวในภาคกลางก็จะใช้ไม่ได้ เป็นเชิงนิเวศวิทยาที่น่ากลัวมาก

คม-ชัด-ลึก "วิกฤตป่าน่าน" วิกฤตของชาติ!

นายบัณฑูร กล่าวว่า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ยังไม่ได้รับความสนใจเชิงนโยบาย เพราะมีเรื่องอื่นที่ร้อนกว่า หรือต้องเร่งให้ทำ เรื่องเศรษฐกิจ หรือการเมือง ที่เพิ่งนิ่ง ใครที่บริหารราชการช่วง 10 ปีที่ผ่านมาวุ่นกับการเมืองและรับมือความเสื่อมถอยของเศรษฐกิจโลก เรื่องป่าต้นน้ำก็เป็นเรื่องไกลๆ และไม่เสียหายทันที ค่อยๆ เกิดและเมื่อถึงจุดหนึ่งจะแก้ยากและใช้เวลา การปลูกป่าไม่สามารถคืนเป็นป่าได้ในเวลาอันสั้น การปลูกป่าต้องปลูกแบบมีความหมาย คือ ปลูกต้นไม้ใหญ่ที่มีรากลึกเพื่อยึดน้ำและดินซึ่งใช้เวลา การปลูกพืชเศรษฐกิจไม่ได้แก้ปัญหาระบบนิเวศของประเทศได้นายบัณฑูร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้น่านยังมีปัญหาที่ซับซ้อนกว่า คือ พื้นที่ที่จะใช้ปลูกกลับมาเป็นป่า คือ ป่าสงวนหมด ที่ถูกใช้ไปเพื่อทำพืชเศรษฐกิจ ด้วยโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ของน่านไม่เหมือนที่อื่น เพราะถูกประกาศเป็นป่าสงวนกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่จังหวัด การทำมาหากินทำยาก เมื่อพื้นที่ถูกกฎหมายมีน้อย เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ป่าสงวนมาทีหลัง"คนน่านไม่ใช่คนป่า เป็นอาณาจักรลานนามาแต่โบราณ และตั้งรกรากมาเป็นร้อยๆ ปี พ.ร.บ.ป่าสงวนครอบลงมาบนบ้านเขา เขาอยู่อยู่แล้วไม่ใช่รุกเข้ามาจากข้างนอก ดังนั้นเกือบทุกตำบลของน่านอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน คนน่านตื่นมาก็ผิดกฎหมายแล้ว เพราะพอเป็นป่าสงวนก็มีข้อจำกัดในพื้นที่ ก็อยู่กันมา เมื่อก่อนไม่มีประเด็นความกดดันในการทำมาหากิน แต่หลังๆ กระแสทุนนิยมเข้ามาก็ต้องการพืชเกษตรไปเลี้ยงสัตว์ ตามระบบทุนนิยม เมื่อมีการเสนอก็ต้องตอบสนอง ก็ปลูกข้าวโพด เมื่อพื้นที่ถูกกฎหมายมีน้อยก็ต้องรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าสงวน เกิดกระบวนการเริ่มตัดต้นไม้มากขึ้นเรื่อยๆ" นายบัณฑูร กล่าว

คม-ชัด-ลึก "วิกฤตป่าน่าน" วิกฤตของชาติ!

นายบัณฑูร กล่าวอีกว่า 10 ปีก่อน เมื่อดูข้อมูลจากดาวเทียม เสียพื้นที่ป่าไปปีละ 2 หมื่นไร่ แต่หลังๆ ความต้องการเพิ่มขึ้น ก็กลายเป็น 5 หมื่นไร่ และ 1 แสนไร่ต่อปี ล่าสุดข้อมูลของโครงการรักษ์ป่าน่านทำร่วมกับ GISTDA สกว.และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการนับต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม พบว่า สูญเสียป่า 2-2.5 แสนไร่ต่อปี และตอนนี้เสียแล้วร้อยละ 28 ของพื้นที่ป่าสงวน จึงเห็นภาพเขาหัวโล้นจนตกใจและเกิดปฏิกิริยาที่เข้ามาแก้ด้วยความหวังดี แต่ไม่สามารถเข้าถึงรากเหง้าของปัญหา"รากเหง้าของปัญหาป่าน่าน คือ ที่ไม่พอต่อการทำมาหากินได้ตามปกติได้ คนไม่มีทางไป เพราะน่านไม่มีระบบอื่นๆ รองรับประชากร 5 แสนคน แต่มีพื้นที่ถูกกฎหมายเพียงร้อยละ 15 ของพื้นที่ ระบบการศึกษา การบริหารน้ำ ไม่มี หากดูงบประมาณจากรัฐบาลกลาง ตามระบบมหาดไทยยังท้ายแถว เพราะไม่มีจีดีพี ไม่เคยได้งบประมาณเพียงพอต่อโครงสร้างพื้นฐาน แม้กระทั่งอ่างเก็บน้ำที่จะเก็บไว้ใช้ทั้งปีสำหรับเกษตรกรรม จนบัดนี้ยังทำไม่สำเร็จเลย" นายบัณฑูร กล่าวนายบัณฑูร กล่าวด้วยว่า ทุกวันนี้การจัดการไม่มีรูปธรรม ปล่อยให้ปัญหาไปเรื่อยๆ เรียกว่ารักษาไม่ถูกโรค ยุทธศาสตร์ใหญ่ ที่จะหยุดการตัดยังไม่มีแม้บริษัทยักษ์ใหญ่จะหยุดรับซื้อข้าวโพดเป็นการแก้ปัญหาเชิงภาพลักษณ์เท่านั้น แต่ไม่ได้แก้ปัญหาปากท้องของชาวบ้าน ความรู้อื่นระบบเศรษฐกิจที่จะเลี้ยงคนครึ่งล้าน หรือกาแฟก็ต้องปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ซึ่งต้องใช้เวลาปลูก ก็ต้องเข้าป่าสงวนก็ผิดกฎหมายอีก จะสร้างประปาตำบลแค่สร้างเป็นเพิงก็ผิดกฎหมายแล้ว ทุกคนหลังชนฝาหมด ติดเงื่อนไขหมด ปัญหาที่อื่นก็มี แต่ปัญหาน่านคือเป็น 40% ของมวลน้ำเจ้าพระยา และหลังๆ น่านดังขึ้นมาผ่านสื่อ มีคนเข้าไปเที่ยวมากขึ้น ก็ดีในแง่เศรษฐกิจภาคในเมืองที่ได้ผลพวงจากการท่องเที่ยว แต่คนละเรื่องกับป่า ที่ยังจนอยู่และต้องตัดป่า เหมือนมะเร็งที่กินไปเรื่อยๆ โดยไม่มีอะไรไปสกัดกั้นสิ่งที่ประชาชนต้องการ"เดิมเป็นอาณาจักรลานนา เข้ามาสวามิภักดิ์กับรัชกาลที่ 1 มีความสัมพันธ์อันดีในเชิงการบริหารจัดการระหว่างราชวงศ์จนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง น่านที่เคยเป็นประเทศราช กลายเป็นจังหวัดปลายแถว งบประมาณน้อย อำนาจต่อรองน้อย แล้วจะให้คนน่านรู้สึกอย่างไร" นายบัณฑูร กล่าวนายบัณฑูร กล่าวต่ออีกว่า ชาวน่านนั่งอยู่บนเครื่องกรองน้ำที่ใหญ่ที่สุดของระบบนิเวศ คือ ป่าต้นน้ำน่าน เดิมไม่มีใครเดือดร้อนจน 10 ปีเกิดทุนนิยมเข้ามาจนเกิดพฤติกรรมเปลี่ยนกระทบต่อระบบนิเวศและกระทบมายังระบบน้ำ แม้จะยังไม่เห็น 100% การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากตัวเลข ป่าที่หายไป ร้อยละ 28 ไม่มีใครเห็นชัด โดยความร่วมมือหน่วยงานราชการ และเข้าใจว่าตัวเลขนี้มาจากคนไม่มีทางออก ไม่มีทางทำมาหากิน คนไม่มีทางเลือก ก็อยู่ในป่า ตัดป่ารู้ว่าผิด แต่คนอื่นตัดก็ต้องตัด จับก็ต้องจับหมด มันทำไม่ได้นายบัณฑูร บอกว่า อุปสรรคคือ ผิดตั้งแต่กฎหมายประกาศป่าสงวน โดยไม่ดูความเป็นจริง ไม่ได้ดูผลต่อการทำมาหากินความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะร้อยละ 85 ของพื้นที่จังหวัดน่านเป็นป่าสงวน เมื่อประกาศแล้วก็ถอนยาก จะเกิดผลตามมาทั้งระบบ หากมีอำนาจต้องประกาศจัดสรรระบบที่ดินกันใหม่ เป็นเรื่องใหญ่สุด เป็นความคับแค้นของเกษตรกรคือ ไม่มีที่ดิน ทั้งที่เป็นบ้านของตัวเอง สร้างอะไรก็ไม่ได้ แม้กระทั่งประปาตำบล คือ ไม่มีที่ ดูประกาศในการผลักดันแนวคิดการแก้ปัญหายังไม่มีความชัดเจน ผู้ว่าฯ จังหวัดน่านก็มาอยู่แค่ 1-2 ปีแล้วก็ไป เป็นเหมือนภาพสะท้อนปัญหาของระบบมหาดไทย แม้จะมีผู้ว่าฯ ที่คิดทำเพื่อป่าน่านในระยะยาว ก็ไม่มีโครงสร้างอำนาจที่รองรับ

คม-ชัด-ลึก "วิกฤตป่าน่าน" วิกฤตของชาติ!

นายบัณฑูร กล่าวต่ออีกว่า ดังนั้นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจอย่างน้อยชั่วคราวเพื่อให้การจัดการถูกรวบทุกมิติเข้ามาไว้ด้วยกัน ต้องมีโครงสร้างอำนาจ มีข้อตกลงเชิงนิติศาสตร์ใหม่ ให้คนอยู่ในป่าอย่างไร และมีงบประมาณรองรับ คนที่ตัดป่าให้เขาถอยออกมาต้องมีอะไรรองรับ ในการเจรจา จึงจะมีโครงสร้างการทำมาหากินใหม่ ไม่งั้นก็กอดไร่ข้าวโพดต่อไป การแก้ปัญหาแบบภูทับเบิกทำไม่ได้ เพราะที่นี่คือ ชาวบ้านตัวจริง ไม่ใช่ทุนจากข้างนอก"โครงสร้างการบริหารราชการของไทย โดยรวมไปได้ แต่ปัญหาน่าน เหมือนคนป่วยอาการหนัก ต้องมีห้องพิเศษดูแล ต้องมีเงื่อนไขพิเศษสักพักจนกว่าจะฟื้น หากป่าต้นน้ำตาย ในทฤษฎีนิเวศวิทยา กทม.ก็ต้องตายด้วยในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง" นายบัณฑูร กล่าวและว่า ถึงเวลาที่นายกฯ ต้องลงมาดูปัญหาด้วยตัวเอง หากดูตัวเลขหนักหนาขึ้นทุกวัน มันไม่นิ่ง มันเร็ว ความเป็นป่ายังอยู่ แต่ต้นไม้โล้นไปนานแล้วนายบัณฑูร บอกว่า สำหรับข้อเสนอนายกฯ น่านมีนัยทางประวัติศาสตร์ เข้ามาเป็นประเทศราช แต่ศักดิ์ศรีของคนน่านไม่มี งบประมาณไม่มี การจัดการไม่มี ความรู้สึกไม่ดีของคนพื้นที่รุนแรงขึ้นด้วยเรื่องปากท้อง น่านเป็นป่าต้นน้ำ แต่คนน่านไม่ได้ใช้ประโยชน์เพราะไม่มีระบบกักเก็บน้ำ ในทางปฏิบัติ ถ้าอยู่ในระบบโครงสร้างการบริหารแบบเดิมมันไม่มีทางแก้ปัญหาได้ ต้องมีความแตกต่างในโครงสร้างการจัดการไประยะหนึ่งก่อน หากอยู่ในโครงสร้างจังหวัดของระบบมหาดไทยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หากดูตัวเลข 20 ปีที่ผ่านมา ไม่มีใครแก้ปัญหาได้ คนตัดก็ตัดไป คนจับก็จับไม่ได้ (เพราะเป็นชาวบ้าน) มีแต่รำพันในสื่อออนไลน์ ไม่ได้แก้ปัญหา"ถ้าเชื่อทฤษฎีวิทยาศาสตร์ว่า ป่าต้นน้ำมีความหมายต่อระบบนิเวศของพื้นที่ข้างล่างลงมาหรือ กทม. นี่เป็นเรื่องความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ

คม-ชัด-ลึก "วิกฤตป่าน่าน" วิกฤตของชาติ!

ใครก็ตามเป็นรัฐบาลมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจะมองข้ามประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ เครื่องมือและความรู้ทางวิทยาศาสต์ของไทยมีเพียงพอ แต่ไม่นำมาใช้ ป่าต้นน้ำหายไปเท่าไรแล้ว เราดูได้ทำไมไม่เอามาใช้ ต้องเจรจาจัดสรรพื้นที่ การจะให้คนถอยออกไปจากพื้นที่ป่าสงวน เพื่อปลูกป่ากลับเข้าไปใหม่ การยกเลิก พ.ร.บ.ป่าสงวน ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่มาก แต่ต้องอยู่ไปแบบเดิม โดยวิธีอนุญาตพิเศษ เช่น จะปลูกกาแฟใต้ต้นไม้ใหญ่ ไม่เสียหายต่อระบบนิเวศ ก็ทำได้ ต้นไม้ยังอยู่ทำหน้าที่ไป แต่ประชากรมีผลผลิตแบบใหม่ขึ้นมา ดีกว่าปลูกข้าวโพดที่ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร ซึ่งชาวบ้านก็ไม่อยากทำแต่หนีจากระบบไม่ได้ เพราะไม่รู้จะทำอะไร ข้าวโพดมีคนซื้อแน่นอน" นายบัณฑูร กล่าวและว่า ก้าวต่อไประบบการจัดการต้องรวมมาเป็นเรื่องเดียวกันจะแยกตามสายงานไม่ได้ ต้องแก้ปัญหาป่าน่านให้ได้ แต่ไม่สามารถแก้ด้วยวนศาสตร์เพียงอย่างเดียว ปลูกป่าไม่ยาก แต่ไม่มีที่ให้ปลูก ดังนั้นต้องเจรจาให้ชาวบ้านถอนคนออกมา ต้องมีอะไรเข้าไปให้ชาวบ้านกินอยู่ได้ เพื่อให้ชาวบ้านร่วมมืออย่างเต็มใจ มีอนาคต มีความหมายกว่าที่เป็นอยู่อย่างผิดกฏหมาย ซึ่งชาวบ้านก็ไม่ได้ชอบต้องใช้หลายศาสตร์เข้ามารวมกันนายบัณฑูร บอกด้วยว่า สิ่งที่จะเห็นผลทันที คือ ทุกคนหยุดตัด ต้องมีข้อตกลงโดยรวมทั้งจังหวัดให้หยุด แต่ในการหยุดต้องมีข้อแลกเปลี่ยนและทิศทางในอนาคตให้ค่อยๆ ออกจากโลกเดิม คือข้าวโพดไปสู่พืชอื่นที่มีความหมายในการทำมาหากิน ขณะเดียวกันต้องปลูกป่าให้ฟื้นคืน ต้องมีความร่วมมือทั้งรัฐและเอกชน ใช้ความรู้ในเชิงรัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ มาเกี่ยวข้อง ขายของให้ได้ราคา แต่น่านไม่ได้มีการสนับสนุนให้มีโครงสร้างของความรู้"เชื่อว่าคนน่านมีความพร้อม หากมีข้อตกลงและทิศทางที่ชัดเจนถึงอนาคตที่ดีกว่า ความแข็งแกร่งของชุมชนน่านที่ได้สัมผัสมาผ่านผู้นำชุมชน มีความตั้งใจดี อยู่ในวิสัยที่จะแก้ได้ และต้องทำให้คนรุ่นใหม่ของน่านมีความหวังให้ได้ ไม่งั้นคนเก่งๆ ของน่านก็หนีไปอยู่ กทม.หมด แล้วใครจะอยู่แก้ปัญหาน่าน

คม-ชัด-ลึก "วิกฤตป่าน่าน" วิกฤตของชาติ!

ยังไม่เห็นนายกฯ ไปเยี่ยมน่าน เชื่อว่าท่านคงรับทราบข่าวและรู้ความสำคัญ แต่ภาระกิจท่านเยอะ ทุกจังหวัดก็สำคัญ แต่ละที่การจัดการต่างกันไป น่านประเด็นชัดเจน คือ ป่าต้นน้ำ สิ่งที่อยากเสนอคือ การจัดการให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของปัญหา และบทบาทที่ท้องที่นั้นๆ มีต่อประเทศไทย เราอยู่ระบบมหาดไทยมาตลอด ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ไม่ได้ผล แต่วิธีการจัดการให้สอดคล้อง ไม่ใช่ว่ารูปแบบที่เสนอให้น่านเป็นบริเวณทดลองชั่วคราว จะใช้กับจังหวัดอื่นๆ ได้ แต่เมื่อเป็นบริเวณทดลอง จะนำบทเรียนที่ได้ไปทดลองใช้ในบางรูปแบบที่เหมาะสม ไม่ใช่การยกเลิกระบบมหาดไทย เป็นเขตทดลองพิเศษ" นายบัณฑูร บอกนายบัณฑูร กล่าวว่า โจทย์ที่น่าคิดคือ ผลกระทบกับประเทศแต่ทำไมไม่มีคนแก้ มีแต่คนบ่นผ่านโซเชียล แต่ไม่มีใครเข้าใจรากของปัญหา ทำไมต้องตัดต้นไม้ ต้องปลูกป่า ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เป็นมะเร็งแล้วให้กินแอสไพริน ที่มากระตุ้นเรื่องนี้เพราะรู้สึกไปกับโจทย์นี้ และเห็นว่าน่าจะทำอะไรได้ดีกว่านี้ ภูมิประเทศน่านมีความน่าสนใจ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ มีของดีที่สวรรค์ส่งมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศของไทย ทำไมปล่อยให้โล้นไปได้ เพื่อไปแลกกับพืชเกษตรต่ำๆ เป็นการแลกกันที่ไม่ฉลาดที่สุด ไปน่านเพราะชอบความสงบ แต่เมื่อเดินทางไปพื้นที่ต่างๆ ก็พบเห็นความน่าสนใจ จนลากองค์กรอย่างกสิกรเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย"ผมขอเสนอนายกฯ ช่วยนั่งลงให้ผมบรรยายสัก 15 นาทีได้มั้ย จะชี้แจงว่าทำไมเป็นแบบนี้" นายบัณฑูร กล่าว

logoline