svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"PRIMETIME กับ เทพชัย" : ตรวจแถวนักการเมืองไทย

24 มกราคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คสช.พยายามให้ความหวังต่อสังคมไทยว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะทำให้คุณภาพนักการเมืองไทยและการเมืองไทยดีขึ้น แต่คำถามคือ แล้วกติกาใหม่จะทำให้การเมืองไทยดีขึ้นได้จริงหรือ และนักการเมืองไทยจะถูกถ่ายเลือดใหม่ เปลี่ยนโฉมหน้าไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน

ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามคำมั่นสัญญาของ คสช.  การเมืองไทยจะเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่หลังการเลือกตั้งอาจจะไม่ถึงทำขั้นให้เกิดการเมืองที่ชาวบ้านอยากเห็น แต่อย่างน้อยโฉมหน้าของตัวบุคคลทางการเมืองก็คงไม่เหมือนเดิมถึงแม้จะไม่ใช้คำว่า "เซ็ตซีโร่" หรือล้างไพ่การเมือง แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นภายใต้อำนาจของ คสช. อาจจะทำให้พรรคการเมืองทั้งหลาย ต้องถอยหลังอีกหลายก้าว
ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น ในสายตาของ คสช. นักการเมืองคือต้นเหตุของความเลวร้ายทางการเมือง และความขัดแย้งที่เกือบทำให้ประเทศไทยแตกเป็นเสี่ยงๆ 
เพราะฉะนั้นการปฏิรูปการเมืองจึงเป็นวาระที่สำคัญที่สุดวาระหนึ่งของ คสช.และการปฏิรูปการเมืองในความหมายของ คสช. อาจจะหมายถึงการล้างพรรคการเมืองบางพรรค และถอนรากถอนโคนกลุ่มอิทธิพลทางการเมืองที่เป็นเป้าหมาย เนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับกติกาการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่สุดของพยายามของ คสช. ที่จะทำให้  นักเลือกตั้งต้องผ่านกระบวนการคัดกรองที่เข้มข้นกว่าที่ผ่านมา  และทำให้อดีตนักการเมืองไม่น้อยหมดสิทธิที่จะกลับมาโลดแล่นในเวทีการเมืองอีกกฏหมายลูก 4 ฉบับที่จะกำหนดกฎกติการเลือกตั้ง กำลังจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินอนาคตของนักการเมืองแต่สัญญาณที่ทำให้พรรคการเมืองทั้งหลายรู้ตัวดีว่ากำลังเป็นเป้าของการจัดการของ คสช. คือความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเดินหน้าคดีต่างๆ กับอดีตนักการเมือง  
แม้แต่นักการเมืองระดับท้องถิ่นที่เชื่อว่าเชื่อมโยงกับระดับชาติก็ต้องเดือดร้อนไปด้วย เมื่อต้องเจอะกับคดีทั้งเก่าและใหม่  
นายกฯประยุทธ์ พยายามสร้างความปรองดอง ในช่วงสุดท้ายก่อนไปสู่การเลือกตั้ง แต่แนวทางของ คสช.จะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้แค่ไหน
แม้จะยังประเมินได้ยากว่า นักการเมืองหน้าเดิมๆ จะหายไปจากสนามเลือกตั้งครั้งหน้ามากน้อยแค่ไหน แต่คนที่เคยเห็นหน้าค่าตาในทางการเมืองมาตลอด อย่างน้อย คนกลุ่มนี้ ก็จะหายไปจากสนามเลือกตั้งครั้งหน้า ด้วยเหตุที่แตกต่างกัน  แต่ส่วนใหญ่เพราะความเกี่ยวพันกับกลุ่มอำนาจเก่าถึงแม้ยังไม่มีหลักประกันว่าโฉมหน้าการเมืองไทยจะเปลี่ยนแค่ไหน แต่สิ่งที่จะเห็นแน่นอนคือการก้าวเข้ามาในเวทีการเมืองของนักการเมือง "แถวสอง" ของพรรคการเมืองต่างๆ หลังการเลือกตั้งแต่มันจะไม่ใช่การผลัดใบเพื่อตั้งใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นเพราะบรรดาหัวแถวต้องถอยออกไป อย่างน้อยเป็นการชั่วคราว เพราะความจำเป็น หรือเพราะแรงกดดัน

รายการไพร์มไทม์ ได้ตรวจสอบกับพรรคการเมืองหลายพรรค และพบความเคลื่อนไหวที่เชื่อว่าจะปูทางไปสู่โฉมหน้าใหม่ของกลุ่มคนที่จะขึ้นมาบริหารพรรค และเป็นตัวแทนพรรคในเวทีการเมืองใหม่
ยุคของ "มังกรสุพรรณ" ในพรรคชาติไทยพัฒนาได้ปิดฉากไปแล้ว.... เมื่อขาดบรรหาร ศิลปอาชา  พรรคชาติไทยพัฒนาก็ขาดเสาหลักที่ค้ำจุนพรรคมาตั้งแต่การก่อตั้ง ซ้ำร้ายคนที่ถูกชูให้เป็นทายาททางการเมืองอย่าง สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ก็ถูกตัดสิทธิ์การเมืองด้วยคดียื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จสายตาทุกคู่จึงพุ่งไปยังนักการเมืองรุ่นลูก   ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ค่อนข้างแน่ชัดว่า คนที่จะก้าวขึ้นมาเป็น "ผู้นำรุ่นใหม่" ของพรรค...อย่างหน้าก็เป็นผู้นำหน้าฉาก....ก็คงจะเป็น  วราวุธ ศิลปอาชา ลูกชายของอดีตหัวหน้าพรรควราวุธ วัย 44 ปี อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงคมนาคม และปัจจุบันเป็นประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี ดูเหมือนจะได้รับการยอมรับในพรรคมากที่สุดในฐานะทายาททางการเมืองของบรรหาร ถึงแม้ประสบการณ์ทางการเมืองอาจไม่มากมายเหมือนบรรดาพี่ ๆ  หรือผู้อาวุโสในพรรค   กัญจนา ศิลปอาชา พี่สาว อาสาที่จะดูแลพื้นที่จังหวัดสุพรรณแทนที่ผู้เป็นพ่อ   กัญจนา ซึ่งเคยเป็นรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดูจะมีประสบการณ์ทางการเมืองมากพอที่ช่วยประคับประคองน้องชายในภาวะที่ท้าทายได้แบบนี้ได้
และแน่นอนว่าเบื้องหลังพี่น้องคู่นี้ก็คงเป็นบรรดาผู้อาวุโสของพรรคทั้งหลาย   นี่ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกทางเดียวที่จะรักษาพรรคไว้ ในยามที่พรรคการเมืองอยู่ในฐานะที่แทบไม่มีอำนาจต่อรอง และถ้าพรรคชาติไทยพัฒนายังสามารถรักษาฐานเสียงแค่ในสุพรรณบุรีกับอ่างทองได้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า  ก็ถือว่าเอาตัวรอดได้แล้ว ไม่ว่าใครจะมีชื่อว่าเป็นหัวหน้าพรรค   คงไม่มีใครปฏิเสธคนที่เชิดหุ่นอยู่เบื้องหลังก็ยังจะเป็นคนในตระกูลชินวัตร ทุกวันนี้ พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ยังทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค แต่ก็คงอยู่ในช่วงของการนับถอยหลัง  แต่ยังไม่มีสัญญาณจากทั้งในประเทศหรือจากต่างแดนว่าใครจะขึ้นมาแทน  แต่ที่ดูเหมือนจะถูกจับตาและถูกสื่อพูดถึงมากที่สุดก็คงไม่พ้น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ นักการเมืองมากประสบการณ์ ที่มีทั้งคนหนุนและคนไม่เอาด้วยในพรรค แต่เงาทะมึนที่ตามคุณหญิงสุดารัตน์อยู่ตลอดคืออดีตนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์  สายตรงของคนในตระกูลชินวัตร ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลทุกเรื่องภายในพรรคและรายงานตรงต่อเจ้าของพรรค แต่สุดารัตน์ไม่ใช่คนเดียวที่พยายามมีบทบาทให้เข้าตา "เจ้านายใหญ่"...อดีตแกนนำของพรรคเพื่อไทยเหล่านี้ยังจำกัดความเคลื่อนไหวของตัวเองภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ขณะเดียวกัน กระแสในเพื่อไทย ก็ยังรอลุ้นคดีจำนำข้าวของอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ช่วงกลางปีนี้ หากศาลชี้ว่าไม่มีความผิดหรือยกฟ้อง พวกเขาเชื่อว่า "เกมจะเปลี่ยน"แม้ยิ่งลักษณ์ จะถูกตัดสิทธิ์การเมือง 5 ปีในคดีจำนำข้าวไปแล้ว แต่เพื่อไทยเชื่อว่า ในวิกฤตจะเป็นโอกาส ที่กระแสนี้จะผลักดันเธอขึ้นสู่ผู้นำพรรคอย่างเป็นทางการ  แต่ก็มีคนรุ่นใหม่ที่เริ่มมีบทบาทเข้าตาผู้ใหญ่ในพรรค อดีต รัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ ยุทธพงศ์  จรัสเสถียร  ถ้าทุกวันนี้จะใครที่สายตรงกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้  ยุทธพงศ์ก็เป็นหนึ่งในนั้นยุทธพงศ์ วัย 45 ปี  จบวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ จาก CLAREMONT GRADUATE UNIVERSITY ถูกดันขึ้นมาเป็น ผู้อำนวยการพรรคคนใหม่ และได้รับการกล่าวขวัญจากคนในพรรคในฐานะเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยลูกขยัน และมากคอนเนคชั่น   แถมยังทำงานตรวจสอบทุจริตฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง  ถึงแม้อดีต ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย และ แกนนำ นปช. ซึ่งเป็นกลุ่มมวลชนหลักของพรรค จะถูกตัดสิทธิการเมืองไปหลายคน ก็คงไม่มีผลกระทบต่อพรรคในการเลือกตั้ง   เพราะพรรคเชื่อว่าฐานเสียงในภาคเหนือและอิสานยังเหนียวแน่น ความนิยมในตัวอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ และทักษิณพี่ชาย  ยังจะเป็นตัวชี้ขาด แต่ถึงแม้จะมั่นใจแค่ไหน แต่คนในพรรคเพื่อไทยบางส่วนก็ไม่ประมาท เริ่มคิดแผนสำรองที่จะตั้งพรรคเพื่อไทยพรรคที่สอง เพื่อลงเลือกตั้งคู่ขนาน โดยมีเป้าหมายที่จะจับมือกันตั้งรัฐบาล แต่คำถามใหญ่คือ ใครในพรรคเพื่อไทยทุกวันนี้จะยอมย้ายไปอยู่พรรคสำรอง  +++++++++++++++++++ ถึงแม้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีความเห็นและความเคลื่อนไหวที่ตกเป็นข่าวมากที่สุด แต่ก็ไม่สามารถกลบกระแสข่าวเรื่องวุ่นๆ ในพรรคได้    ถึงเวลาต้องเปลี่ยนหัวหน้าพรรคแล้วหรือยัง และถ้าเปลี่ยนจะเอาใครมาแทนอภิสิทธิ์ ดูเหมือนเป็นคำถามที่อยู่ในใจของคนในพรรคไม่น้อยแต่ตราบได้ที่ผู้ใหญ่ในพรรคอย่างอดีตนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย และอดีตเลขาธิการพรรคสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังหนุนอภิสิทธิ์อย่างเต็มที่ การเปลี่ยนแปลงตัวหัวหน้าพรรคก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สำหรับคนในพรรคประชาธิปัตย์ที่หวังจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ยังตั้งความหวังไว้ที่เดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่วาระการเป็นหัวหน้าพรรคของอภิสิทธิ์จะหมดลง  และที่สำคัญดูเหมือนจะมีรอยร้าวระหว่างสองผู้ยิ่งใหญ่ ขณะที่ชวนยังหนุนอภิสิทธิ์อย่างเต็มที่  แต่ชัดเจนว่าสุเทพกับอภิสิทธิ์มีความเห็นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเรื่องจุดยืนทางการเมือง       
นับตั้งแต่นำการชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์  สุเทพถูกตั้งข้อสังเกตมาตลอดว่ามีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับคนในกองทัพ   เพราะฉะนั้นอาจไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าสุเทพจะเห็นด้วยกับแนวคิดของ  คสช. ที่จะให้นายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งเป็นคนกลางที่ไม่ใช่นักการเมืองจากขั้วใดขั้วหนึ่งและแน่นอนว่านี่เป็นจุดยืนที่อภิสิทธิ์ไม่เห็นด้วย และเป็นจุดเปราะบางที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ถ้าไม่ใช่อภิสิทธ์ ทางเลือกของพรรคประชาธิปัตย์คือใครกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  ที่เคยไม่ลงรอยกับสุเทพ เป็นหนึ่งในทางเลือก แต่ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าสุเทพจะผลักดันใครที่ไม่ใช่อภิสิทธิ์ เพราะ "นายหัวชวน" คือด่านสำคัญ แต่ท่ามกลางความสับสนอลหม่าน  คนที่ไม่ควรมองข้ามคือ สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ที่คนในพรรคไม่น้อยพร้อมหนุน   เพราะภาพของความเป็นอินเตอร์และความพร้อมที่จะเป็นผู้นำ"คนกลาง"ของพรรคกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ  เป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกเอ่ยถึงบ่อยยิ่งขึ้น   พรรคภูมิใจไทย จะเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกตั้ง   ภายในการนำของอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทยคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และคงจะเป็นส่วนหนึ่งของจิ๊กซอว์ทางการเมืองที่ผู้มีอำนาจในขณะนี้ กำหนดไว้หลังการเลือกตั้ง แต่ความเคลื่อนไหวของ เนวิน ชิดชอบ เป็นสิ่งที่ต้องจับตา  หลังจากประกาศเลิกยุ่งการเมือง และถอยออกไปทำธุรกิจ เนวินส่งสัญญาณว่ากำลังจะกลับเข้ามามีบทบาทในพรรคอีกครั้ง  พรรคพลังชล ของสนธยา คุณปลื้ม ที่พยายามรักษาพื้นที่ทั้งระดับชาติระดับท้องถิ่นในชลบุรี แม้จะยังไม่มีความเปลี่ยนแปลง แต่ก็เป็นพรรคที่โดนกระแสข่าวลือมาอย่างต่อเนื่องพรรคพลังชลเป็นอีกพรรคหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของสูตรการเมืองที่อำนาจปัจจุบันวางไว้เพื่อรองรับการเลือกตั้ง  ขณะที่พรรคชาติพัฒนา ที่มี สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นคีย์แมน ถือเป็นพรรคที่เก็บตัวได้เงียบเชียบที่สุด ตามสไตล์สุวัจน์ ที่มักจะบอกใครต่อใครว่า  "ต้องหมอบให้ต่ำที่สุด"ในสถานการณ์อย่างนี้  คีย์แมนการเมืองหลายคน บอกกับไพร์มไทม์ ถึงบทบาทนักการเมืองแถวหน้า โดยเฉพาะกลุ่มที่ผันตัวไปทำธุรกิจ มีแนวโน้มจะถอยไปอยู่เบื้องหลังมากขึ้น แม้บางส่วนพยายามสร้างคอนเนคชั่นกับ คสช.  บรรยากาศการเมืองในอนาคตอันใกล้ อาจจะใกล้เคียงยุค  "บ้านเลขที่ 111"และ "บ้านเลขที่ 109"เมื่อพรรคการเมืองใหญ่ทุกยุบและนักการเมืองถูกตัดสิทธิ์สิ่งที่ คสช. พยายามบอกกับสังคมคือ กฏกติกาที่มากับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง จะทำให้การเมืองดีขึ้นแต่นักการเมืองกลับมองว่ามันจะทำให้ระบบการเมืองอ่อนแอเพื่อเปิดทางให้อำนาจนอกระบบควบคุมและกำกับการเมืองได้แต่ที่แน่ๆ คือโฉมหน้าของนักการเมืองคงเปลี่ยนแน่    แต่มันจะเปลี่ยนให้การเมืองของไทยเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังเป็นคำถามที่ยังไม่มีใครตอบได้

logoline